เอฟบีไอเตือนชาวเน็ต ระวังแก๊งโจรใช้เอไอแปลงรูปถ่ายทั่วไปเป็นรูปโป๊

Loading

  เอฟบีไอออกโรงเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการโพสต์ภาพถ่ายและคลิปวิดีโอบนโซเชียลมีเดีย เนื่องจากมีแก๊งมิจฉาชีพจ้องขโมยภาพถ่ายหรือวิดีโอแล้วนำไปดัดแปลงให้เป็นคอนเทนต์อนาจารเพื่อเรียกร้องเงินทอง   เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2566 สำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐหรือเอฟบีไอได้ออกแถลงการณ์แจ้งเตือนเกี่ยวกับแก๊งมิจฉาชีพซึ่งมีแนวโน้มจะใช้เทคโนโลยีเอไอเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะการนำภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอของตัวบุคคลไปเข้าโปรแกรม ‘ดีพเฟค’ และสร้างภาพถ่ายหรือวิดีโอที่มีเนื้อหาเข้าข่ายอนาจาร แล้วนำไปข่มขู่หรือเรียกเงินจากเจ้าของใบหน้า   กระบวนการตัดต่อและดัดแปลงภาพเพื่อก่ออาชญากรรมนี้เป็นปัญหาที่น่ากังวลอย่างมาก เนื่องจากอาชญากรมักนำภาพถ่ายและคลิปวิดีโอที่คนทั่วไปโพสต์ลงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมาใช้ และตัดเฉพาะส่วนที่เป็นใบหน้า จากกนั้นก็ใช้เทคโนโลยีเอไอแปลงให้เป็นภาพถ่ายอนาจาร   ทางเอฟบีไอ แจ้งว่า ได้รับรายงานจากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการดัดแปลงภาพโป๊เปลือยเหล่านี้ ซึ่งมีทั้งเหยื่อที่ยังเป็นผู้เยาว์และผู้ใหญ่ที่โดนนำรูปไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม   หลังจากที่ดัดแปลงภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอให้ออกมาในเชิงอนาจารแล้ว แก๊งมิจฉาชีพก็จะนำคอนเทนต์เหล่านี้ไปเผยแพร่อย่างเปิดเผยผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียหรือเว็บไซต์อนาจาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อก่อกวน สร้างความเดือดร้อนรำคาญใจแก่เหยื่อ ซึ่งมีศัพท์เรียกเฉพาะว่า Sextortion   ด้วยเหตุนี้ ทางเอฟบีไอจึงได้ออกคำเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการโพสต์ภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอส่วนตัวลงในสื่อออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ซึ่งอาจถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการดัดแปลงภาพหรือวิดีโอโป๊เปลือย   นอกจากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะได้รับความอับอาย เสื่อมเสียชื่อเสียง เดือดร้อนรำคาญใจแล้ว ยังอาจจะต้องสูญเสียทรัพย์สินเพื่อแลกกับการยุติการเผยแพร่ภาพดัดแปลงเหล่านี้ ซึ่งสุดท้ายก็อาจกำจัดได้ไม่หมด และทำให้ต้องตกเป็นเหยื่อซ้ำแล้วซ้ำอีกในระยะยาว   เอฟบีไอแถลงว่า ตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นมา หน่วยงานพบว่ามีผู้ตกเป็นเหยื่อในกรณีที่เข้าข่าย Sextortion มากขึ้น จากการที่ภาพถ่าย หรือวิดีโอของบุคคลเหล่านี้ที่โพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย ถูกนำไปดัดแปลงให้เป็นคอนเทนต์อนาจารด้วยเทคโนโลยีดีพเฟค   แก๊งมิจฉาชีพมักจะข่มขู่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ…

FBI เปิดเอกสาร คดีขู่ลอบปลงพระชนม์ควีนเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อ 40 ปีก่อน

Loading

    FBI เผยเรื่องราวที่โลกไม่เคยรับรู้ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เคยทรงถูกขู่ลอบปลงพระชนม์เมื่อครั้งเสด็จเยือนสหรัฐฯ   เรื่องของการลอบสังหารบุคคลสำคัญของโลกเป็นเรื่องที่ปรากฏอยู่บ่อยครั้งในหน้าประวัติศาสตร์หรือในภาพยนตร์ โดยบ่อยครั้งมักไม่ค่อยมีการเปิดเผยรายละเอียดต่อสาธารณชน   ล่าสุด หน่วยงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ FBI เปิดเผยเรื่องราวที่โลกไม่เคยรับรู้มาก่อน นั่นคือเบื้องหลังการเสด็จเยือนสหรัฐฯ ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อราว 40 ปีก่อน เคยทรงถูกขู่ลอบปลงพระชนม์     ข้อมูลดังกล่าวได้รับการเปิดเผยจากเอกสารความยาว 103 หน้าถูกโพสต์ไปยัง The Vault หรือคลังข้อมูลออนไลน์ของ FBI ซึ่งรวบรวมรายละเอียดการเตรียมการสำหรับการเสด็จเยือนสหรัฐฯ หลายครั้งของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2   หนึ่งในนั้นคือการเสด็จเยือนชายฝั่งตะวันตกกับพระสวามี เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ เมื่อปี 1983 ซึ่งในเอกสารระบุว่า ราว 1 เดือนก่อนจะเสด็จมาเยือน เจ้าหน้าที่ตำรวจซานฟรานซิสโกได้รับโทรศัพท์จาก “ชายคนหนึ่งที่อ้างว่าลูกสาวของเขาถูกฆ่าตายในไอร์แลนด์เหนือด้วยกระสุนยาง”   เอกสารระบุว่า “ชายคนนี้อ้างว่า เขามีแผนจะทำร้ายสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และจะทำสิ่งนี้โดยการทิ้งวัตถุบางอย่างจากสะพานโกลเดนเกตลงบนเรือยอตช์รอยัลบริทาเนีย และจะพยายามลอบสังการพระองค์ขณะเสด็จประพาสอุทยานแห่งชาติโยเซมิตี”  …

อาจารย์ฟิสิกส์เตรียมฟ้องกลับเอฟบีไอ หลังโดนมั่วจับกุมว่าเป็น ‘สปาย’ ของทางการจีน

Loading

    อาจารย์ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ผู้เคยโดนกล่าวหาว่าเป็นสายลับให้ทางการจีน ได้สิทธิฟ้องกลับหน่วยงานเอฟบีไอของทางการสหรัฐ ที่กล่าวหาเขาโดยไม่มีมูลความจริง   สีเซียวซิง อาจารย์มหาวิทยาลัยเทมเพิล เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ผู้ซึ่งเคยโดนกล่าวหาว่า ทำหน้าที่เป็นสายลับให้ทางการจีนเมื่อหลายปีก่อน ได้สิทธิในการยื่นฟ้องร้องหน่วยสืบสวนกลางของสหรัฐ ที่กล่าวหาเขาโดยไม่มีหลักฐาน   เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ผู้พิพากษาแห่งศาลอุทธรณ์กลาง ตัดสินให้ สี ชนะการยื่นอุทธรณ์เพื่อขอฟ้องกลับหน่วยงานสืบสวนกลางของสหรัฐ หรือเอฟบีไอ ซึ่งเคยกล่าวหาและจับกุมเขาโดยปราศจากหลักฐานยืนยันข้อเท็จจริง อีกทั้งละเมิดสิทธิของครอบครัวของเขา ขณะบุกเข้าค้นที่พัก ยึดทรัพย์สินและสอดส่องตรวจตราโดยมิชอบด้วยกฎหมาย   เหตุการณ์ละเมิดสิทธิของครอบครัว สี เกิดขึ้นเมื่อปี 2558 ทางเอฟบีไอได้ส่งเจ้าหน้าที่บุกเข้าไปยังบ้านพักของ สี ในฟิลาเดลเฟีย ใช้ปืนข่มขู่และไล่ต้อนคนในครอบครัวของเขา จากนั้นก็จับกุมเขาด้วยข้อหาเกี่ยวกับการฉ้อโกงและจารกรรมทางเศรษฐกิจหลายกระทง แต่กลับยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดในอีกหลายเดือนต่อมา   ในปี 2558 กระทรวงยุติธรรมกล่าวหา สี ซึ่งเป็นนักวิชาการด้านฟิสิกส์ว่า เขาเปิดเผยข้อมูลแผนพิมพ์เขียวของอุปกรณ์ทำความร้อนแบบพกพาให้บุคคลอื่นในประเทศจีน ซึ่งเป็นการผิดข้อตกลงห้ามเผยแพร่ข้อมูลที่เขาเคยเซ็นสัญญาไว้     แต่เมื่อเรื่องไปถึงศาล กลุ่มเพื่อนนักวิชาการฟิสิกส์ซึ่งขึ้นให้การชี้ว่า พิมพ์เขียวดังกล่าวไม่เข้าข่ายตามข้อตกลง เนื่องจากเป็นผลงานการประดิษฐ์ส่วนตัวของเขาเอง ซึ่งตามบันทึกให้การในศาลระบุว่า อุปกรณ์ทำความร้อนแบบพกพาที่ สี คิดขึ้นมานั้น…

ศาลสหรัฐเผย “เอฟบีไอ” สอดแนมการสื่อสารส่วนตัวของคนอเมริกันเป็นประจำ

Loading

    เอกสารจากศาลเเสดงการสอดแนมข่าวกรองต่างประเทศ (ฟีซา) เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) มักละเมิดความเป็นส่วนบุคคลของชาวอเมริกัน ด้วยการลักลอบเข้าถึงฐานข้อมูล เพื่อค้นหาชื่อของเหยื่ออาชญากรรม และผู้เข้าร่วมการประท้วง   สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ว่า ฐานข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเอฟบีไอเข้าถึงราว 278,000 ครั้ง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยอีเมลส่วนตัว, ข้อความ และการสื่อสารอื่น ๆ ที่สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสเอ) ใช้ค้นหา เมื่อมีการสอดแนมชาวต่างชาติ   ถึงแม้ว่าเอฟบีไอควรเข้าถึงฐานข้อมูลของเอ็นเอสเอ เฉพาะเมื่อมีการสืบสวนปัญหาข่าวกรองต่างประเทศ แต่ความคิดเห็นของศาล แสดงให้เห็นว่า พวกเขาใช้ฐานข้อมูลนี้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสอบสวนคดีภายในประเทศด้วย ซึ่งในบางกรณี มันไม่มีข่าวกรองต่างประเทศ หรืออาชญากรรมในประเทศ ที่เป็นเหตุผลรองรับ ให้เอฟบีไอใช้สิทธิเข้าถึงฐานข้อมูลได้   อนึ่ง เอกสารข้างต้นถูกเผยแพร่ ขณะที่สภาคองเกรสกำลังอภิปราย เรื่องการต่ออายุมาตรา 702 ซึ่งเป็นกฎหมายที่อนุญาตให้เอ็นเอสเอ สามารถเข้าถึงบัญชีอินเทอร์เน็ตที่มีสหรัฐเป็นเจ้าของ เพื่อสอดแนมเป้าหมายข่าวกรองต่างประเทศ โดยสมาชิกสภาหลายคนกล่าวว่า มาตราข้างต้น…

FBI จับทหารวัย21 ปล่อยเอกสารลับ

Loading

  เจ้าหน้าที่เอฟบีไอจับกุมชายวัย 21 ปี ทหารสังกัดกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิของกองทัพอากาศสหรัฐที่เมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในรัฐแมสซาชูเซตส์เมื่อวันพฤหัสบดี เป็นผู้ต้องสงสัยปล่อยเอกสารลับของกระทรวงกลาโหม ซึ่งรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสงครามในยูเครน   สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 14 เมษายน 2566 เจ้าหน้าที่เอฟบีไอจับกุมชายวัย 21 ปี เป็นผู้ต้องสงสัยปล่อยเอกสารลับของกระทรวงกลาโหม ซึ่งรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสงครามในยูเครน เมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น โดยเครือข่ายโทรทัศน์ของสหรัฐถ่ายทอดสดขณะที่เจ้าหน้าที่เอฟบีไอเข้าจับกุมผู้ต้องสงสัยรายนี้หลังการสืบสวนที่ใช้เวลา 1 สัปดาห์   เป็นหนึ่งในการรั่วไหลของข้อมูลลับของรัฐบาลสหรัฐที่ทำให้เกิดความเสียหายมากที่สุดนับตั้งแต่ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ปล่อยข้อมูลชุดใหญ่ของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติเมื่อปี 2556   เมอร์ริก การ์แลนด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ แถลงสั้น ๆ หลังการจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยรายนี้ ระบุว่าชื่อ แจ็ค ดักลาส เตเชรา เป็นทหารของกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิของกองทัพอากาศสหรัฐ เขาเป็นหัวหน้าของกลุ่มแชตออนไลน์ที่พบว่ามีการนำเอกสารของกระทรวงกลาโหมไปเผยแพร่ครั้งแรก   รัฐมนตรียุติธรรมสหรัฐระบุว่า การจับกุมผู้ต้องสงสัยรายนี้เชื่อมโยงกับการสืบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการเคลื่อนย้าย, เก็บรักษาและส่งข้อมูลลับด้านกลาโหมโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่เอฟบีไอควบคุมตัวเตเชรา โดยเขาไม่ได้ขัดขืนการจับกุม   เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ของสหรัฐเผยแพร่คลิปวิดีโอที่ถ่ายทางอากาศ เป็นปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่เอฟบีไอขณะเข้าจับกุมผู้ต้องสงสัยรายนี้ที่เมืองนอร์ทไดจ์ตัน ทางตอนใต้ของรัฐแมสซาชูเซตส์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของผู้ต้องสงสัย แสดงให้เห็นว่าผู้ต้องสงสัยสวมกางเกงออกกำลังกายขาสั้นสีแดงและเสื้อยืด…

FBI เตือนไม่ชาร์จโทรศัพท์มือถือของบริการฟรีสาธารณะสามารถทำให้ติดมัลแวร์

Loading

  ไม่กี่วันที่ผ่านมา FBI สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ ได้ออกมาเตือนผู้บริโภคไม่ให้ใช้บริการชาร์จโทรศัพท์มือถือฟรีสาธารณะ   ได้แก่ จุดให้บริการฟรีในสนามบิน โรงแรม หรือศูนย์การค้า เพราะมีผู้ไม่หวังดีสามารถจารกรรมข้อมูลผ่านพอร์ต USB ของที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือสาธารณะ หรือที่เรียกว่า Juice jacking ซึ่งจะนำมัลแวร์และซอฟต์แวร์เข้าไปฝังอยู่ในอุปกรณ์ของเราเพื่อส่องดูข้อมูลได้ พร้อมแนะนำให้พกพาที่ชาร์จและสาย USB ของตัวเองมาเสียบใช้งานกับเต้าเสียบไฟฟ้าแทน   Avoid using free charging stations in airports, hotels or shopping centers. Bad actors have figured out ways to use public USB ports to introduce malware and monitoring software onto devices. Carry your own charger…