FBI จับกุมผู้ต้องหาว่าเป็นเจ้าของ BreachForums แหล่งรวมแฮ็กเกอร์อิสระ

Loading

  สำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐอเมริกา (FBI) เข้าจับกุม โคนอน ไบรอัน ฟิตซ์แพทริก (Conon Brian Fitzpatrick) ชายชาวนิวยอร์กที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ดูแล BreachForums กระดานสนทนาแหล่งรวมแฮ็กเกอร์   ฟิตซ์แพทริก หรือชื่อบนโลกออนไลน์ว่า Pomponpurin หรือย่อว่า Pom เป็นแฮกเกอร์ที่อยู่ในสายตาของหน่วยงานรัฐมาหลายปีแล้ว ตัวเขาเองเคยโจมตีเซิร์ฟเวอร์ FBI ในเดือนพฤศจิกายน 2021 ก่อนที่จะมีข้อมูลบ่งชี้ว่าก่อตั้ง BreachForums ในปี 2022   FBI ชี้ว่าฟิตซ์แพทริกเคยเป็นสมาชิกขาประจำของ RaidForums กระดานสนทนาแฮ็กเกอร์ที่ถูกเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และยุโรปร่วมกันปิดไป ทำให้เขาเปิด BreachForums ขึ้นมาแทนที่ และทำหน้าที่ในฐานะผู้ดูแลระบบ   BreachForums เป็นแหล่งซื้อขายข้อมูลที่ถูกโจรกรรมมาได้ซึ่งเป็นที่นิยมของเหล่าแฮ็กเกอร์อิสระ   ทั้งนี้ ฟิตซ์แพทริกได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวด้วยหลักประกันมูลค่า 300,000 เหรียญ (ราว 10.2 ล้านบาท) และจะไปขึ้นศาลเขตเวอร์จีเนียตะวันออกนัดแรกเมื่อ 24 มีนาคม ในข้อหาสมคบคิดฉ้อโกงการเจาะอุปกรณ์    …

FBI เผย หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญกว่า 860 แห่งถูกโจมตีจากแรนซัมแวร์ในปีที่แล้ว

Loading

  FBI เผยข้อมูล 2022 Internet Crime Report พบตัวเลขการโจมตีของแรนซัมแวร์ที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นกว่า 860 แห่ง     FBI ได้ให้คำแนะเบื้องต้นกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อป้องกันการโจมตีจากแรนซัมแวร์ดังนี้ –  อัปเดตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ –  จัดอบรมผู้ใช้งานให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องแรนซัมแวร์และการโจมตีแบบฟิชชิง –  ตรวจสอบการใช้งาน Remote Desktop Protocol (RDP) อยู่ตลอดเวลา –  ทำการสำรองข้อมูลแบบออฟไลน์   ที่มา: https://www.bleepingcomputer.com/news/security/fbi-ransomware-hit-860-critical-infrastructure-orgs-in-2022/       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                      TechTalkThai             …

เอฟบีไอรวบชายอเมริกันนำอุปกรณ์ระเบิดเข้าสนามบิน

Loading

    เจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง หรือ เอฟบีไอ ของสหรัฐฯ ได้จับกุมชายคนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่านำอุปกรณ์ระเบิดไปยังสนามบินในรัฐเพนซิลเวเนียเมื่อวันจันทร์   นายมาร์ก มัฟฟ์ลีย์ วัย 40 ปี ถูกกล่าวหาว่าใส่อุปกรณ์ระเบิดไว้ในกระเป๋าที่โหลดใต้ท้องเครื่องเพื่อขึ้นเครื่องบิน ไปยังเมืองออร์ลันโด ในรัฐฟลอริดา เจ้าหน้าที่กล่าวว่า เขาหลบหนีออกจากสนามบินหลังจากถูกเรียกชื่อผ่านลำโพงเพื่อให้ไปที่โต๊ะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และถูกจับกุมที่บ้านในเย็นวันนั้น   เจ้าหน้าที่หน่วยงานรักษาความปลอดภัยด้านการขนส่ง (TSA) กล่าวว่า พวกเขาพบอุปกรณ์ดังกล่าวระหว่างการตรวจคัดกรองตามปกติ เจ้าหน้าที่กล่าวว่านายมัฟฟ์ลีย์ ได้เช็กอินเพื่อขึ้นเครื่องของสายการบินอัลลีเจียนท์ แอร์ เที่ยวบิน 201 จากท่าอากาศยานนานาชาติลีไฮ แวลลีย์ ในเมืองอัลเลนทาวน์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองฟิลาเดลเฟียไปทางเหนือ 105 กม. ในเช้าวันจันทร์   ประมาณหนึ่งชั่วโมงต่อมา เจ้าหน้าที่คัดกรองของ TSA ค้นพบสิ่งของต้องสงสัยและเรียกผู้เชี่ยวชาญของเอฟบีไอ รวมถึงช่างเทคนิคระเบิดมาตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าว   ข้อมูลจากเอกสารแจ้งข้อกล่าวหา จาเรด วิตเมียร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคด้านระเบิดของเอฟบีไอ กล่าวว่า พบอุปกรณ์ขนาด 7.5 ซม. ที่ซ่อนอยู่ในกระเป๋าสัมภาระของผู้ต้องสงสัย เจ้าหน้าที่กล่าวว่า วัตถุดังกล่าวเป็นห่อกลม ๆ…

FBI บุกค้นมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ หวังตามหาเอกสารลับของไบเดน

Loading

    สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวเมื่อวันพุธ (15 ก.พ.) ว่า สำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) เข้าตรวจค้น 2 ครั้งที่มหาวิทยาลัยเดลาแวร์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบสวนเรื่องการจัดการเอกสารลับของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ   การตรวจค้นดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยความยินยอมและได้รับความร่วมมือจากทีมกฎหมายของปธน.ไบเดน อย่างไรก็ตาม ทำเนียบขาวปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวและให้ไปสอบถามจากกระทรวงยุติธรรมแทน   ด้านสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในช่วงต้นเดือนนี้ ทนายความของปธน.ไบเดนกล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมไม่พบเอกสารที่มีตราระบุว่าเป็นเอกสารลับ ในระหว่างการค้นหา 3 ชั่วโมงครึ่งที่บ้านพักริมชายหาดของปธน.ไบเดนในเมืองรีโอโบธ รัฐเดลาแวร์ แต่ได้นำเอกสารบางส่วนไปตรวจสอบเพิ่มเติม   ก่อนหน้านี้มีการตรวจพบเอกสารที่บ้านพักของปธน.ไบเดนในเมืองวิลมิงตัน รัฐเดลาแวร์ และที่สำนักงานในวอชิงตันซึ่งเขาเคยใช้ทำงานในระหว่างดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา และในช่วงระหว่างหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี   ประเด็นการค้นหาเอกสารลับนี้ได้สร้างความวุ่นวายทางการเมืองให้กับปธน.ไบเดน ผู้ซึ่งคาดว่าเตรียมจะประกาศลงสมัครเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในอีกไม่กี่สัปดาห์หรืออีกไม่กี่เดือนข้างหน้า   ทั้งนี้ ปธน.ไบเดนได้บริจาคเอกสารทางการสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาพรรคเดลาแวร์ระหว่างปี 2516 – 2552 ให้กับมหาวิทยาลัยเดลาแวร์         ————————————————————————————————————————- ที่มา :     …

เผยตัวตนเอฟบีไอสองหน้า แฉข้อมูลลับให้สื่อจนนิกสัน ลาออกจากปธน. แต่ปากบอกไม่ได้ทำ

Loading

    คดี “วอเตอร์เกต” (Watergate) อันลือลั่นซึ่งว่าด้วยการแฉข้อมูลทางการเมือง แม้จะล่วงเลยมาหลายสิบปีแล้ว จนถึงปัจจุบัน คดีนี้ยังอยู่ในความทรงจำในฐานะเรื่องอื้อฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หรืออาจเป็นประวัติศาสตร์โลก   คดีวอเตอร์เกต     การแฉข้อมูลเบื้องลึกว่าด้วยการดำเนินการของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน และผู้ใกล้ชิดซึ่งกระทำการโดยผิดกฎหมายเพื่อให้มีชัยเหนือคู่แข่งทางการเมือง และชนะการเลือกตั้ง แต่จุดที่ทำให้ถูกเปิดโปง คือกรณีที่ทีมงานเข้าไปติดตั้งเครื่องดักฟังในศูนย์รณรงค์หาเสียงของพรรคเดโมแครต และถูกตำรวจจับได้ ขณะที่สื่อสารมวลชนที่รายงานเบื้องหลังของการงัดแงะครั้งนั้นอย่างต่อเนื่อง จนข้อมูลเบื้องลึกถูกเปิดโปงใหญ่โต จากคดีงัดแงะเล็กน้อยกลายเป็นคดีอื้อฉาวระดับประเทศ อันเป็นผลทำให้ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และน้ำตาตกต่อหน้าการแถลงข่าว สื่อมวลชนกลุ่มที่ปฏิบัติการนี้เองมีแหล่งข่าวปริศนารายสำคัญซึ่งสาธารณชนรู้จักในนามแฝงว่า “ดีพโธรต” (Deep Throat) แล้วเขาคือใคร?   หากเอ่ยถึงในข้อเท็จจริงโดยรวมแล้ว คดีวอเตอร์เกทในช่วงต้นยุค 70s มีตัวละครสำคัญที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อคดีคือบทบาทสื่อมวลชนทั้งของวอชิงตัน โพสต์ (The Washington Post) และนิวยอร์ก ไทม์ส (The New York Times) โดยเฉพาะบทบาทการทำข่าวสืบสวนสอบสวนโดยบ๊อบ วูดวาร์ด (Bob Woodward) และคาร์ล…

“Hive” แก๊งแรนซัมแวร์ ถูกแฮ็ก โดย “FBI”

Loading

Image Credit : cyware.com   สามารถช่วยเหลือเหยื่อกว่า 300 ราย ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้หลุดพ้นจากกลอุบายจากกลุ่มแรนซัมแวร์ Hive ได้สำเร็จ   ในการแถลงข่าวถึงการปฏิบัติการครั้งนี้ นำโดย Merrick Garland อัยการสูงสุดสหรัฐฯ, Christopher Wray ผู้อำนวยการ FBI และ Lisa Monaco รองอัยการสูงสุดสหรัฐฯ ร่วมกันแถลงว่า   “แฮกเกอร์ของรัฐบาลได้บุกเข้าไปในเครือข่ายของ Hive และทำให้แก๊งนี้อยู่ภายใต้การเฝ้าระวัง โดยปฏิบัติการครั้งนี้เราได้แอบขโมยกุญแจดิจิทัลที่ Hive ใช้เพื่อปลดล็อกข้อมูลขององค์กรที่กำลังตกเป็นเหยื่อ”   หลังปฏิบัติการสำเร็จ เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการแจ้งเตือนผู้ที่ตกเป็นเหยื่อทราบล่วงหน้า เพื่อให้เร่งดำเนินการป้องกันระบบของตนก่อนที่ Hive จะเรียกร้องเงินค่าไถ่ โดยทางเจ้าที่หน้าได้ส่งมอบคีย์สำหรับถอดรหัสแก่เหยื่อในการปลดล็อก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือโรงเรียนในเขตเท็กซัส ซึ่งสามารถช่วยได้ทันโดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินค่าไถ่จำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และโรงพยาบาลหลุยเซียน่าจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นี่เป็นเพียงแค่เหยื่อในบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับการช่วยเหลือได้ทัน   Hive เป็นหนึ่งในกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่มีจำนวนและมีการเคลื่อนไหวมากที่สุดกลุ่มหนึ่งซึ่งขู่กรรโชกธุรกิจระหว่างประเทศด้วยการเข้ารหัสข้อมูลและเรียกร้องการชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลจำนวนมหาศาล ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา…