FBI เตือนระวังภัยจากแฮกเกอร์อิหร่าน

Loading

  สำนักงานสืบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation – FBI) ของสหรัฐอเมริกาได้แจ้งเตือนบริษัทในสหรัฐฯ ว่ามีกลุ่มแฮกเกอร์อิหร่านได้พยายามค้นหาข้อมูลที่ถูกขโมยมาขององค์กรอเมริกันและของต่างประเทศบนดาร์กเว็บ อาทิ อีเมล ข้อมูลการตั้งค่าเครือข่าย FBI แสดงความกังวลว่ากลุ่มแฮกเกอร์อิหร่านกลุ่มนี้จะใช้ข้อมูลที่ได้มาในความพยายามแทรกซึมเข้าไปในระบบเครือข่ายของบริษัทในสหรัฐฯ โดยกลุ่มอาชญากรไซเบอร์บางกลุ่มพยายามเผยแพร่ข้อมูลของเหยื่อเพื่อกดดันให้เหยื่อจ่ายค่าไถ่เพื่อแลกกับการปลดล็อกคอมพิวเตอร์ “หากองค์กรของคุณเคยโดนโจมตีมาก่อน ทาง FBI แนะนำให้ลองทบทวนดูว่าข้อมูลที่ถูกจารกรรมไปจะถูกนำมาขยายผลในเชิงลบต่อเครือข่ายของคุณได้อย่างไรบ้าง” FBI ระบุ อดัม เมเยอร์ส (Adam Meyers) รองประธานอาวุโสด้านข่าวกรองของบริษัทด้านความมั่นคงปลอดภัย CrowdStrike ระบุว่าแฮกเกอร์ที่มีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลอิหร่านได้มีส่วนในการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่มา CNN   ——————————————————————————————– ที่มา : beartai           /       วันที่เผยแพร่ 15 พ.ย.64 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/851544

ลูบคม เซิร์ฟเวอร์ FBI ถูกใช้ส่งเมลหลอก แฮกเกอร์อาศัยพอร์ทัลที่มีช่องโหว่

Loading

    ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ดูแลระบบนับพันรายได้รับอีเมลแจ้งเตือนภัยไซเบอร์โดยส่งมาจากโดเมน ic.fbi.gov ว่าระบบถูกแฮก โดยอีเมลนี้ส่งมาจากเซิร์ฟเวอร์ของ FBI จริง ทำให้ผู้รับอีเมลไม่สามารถแยกแยะได้เลยว่าเมลใดเป็นเมลหลอก ระบบที่มีช่องโหว่นี้เป็นระบบพอร์ทัลของหน่วยงานบังคับกฎหมายของสหรัฐฯ หรือ Law Enforcement Enterprise Portal (LEEP) สำหรับหน่วยงานต่างๆ มาแชร์ข้อมูลข่าวสารกัน แต่ทาง FBI เปิดให้ใครก็ได้สมัครสมาชิก เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้ว ระบบจะส่งอีเมลยืนยันไปยังอีเมลที่ใช้สมัครซึ่งเป็นเรื่องปกติของเว็บจำนวนมาก ปัญหาคือ LEEP สร้างอีเมลจากฝั่งเบราว์เซอร์และเซิร์ฟเวอร์เชื่อข้อมูลทั้งหัวข้ออีเมล และเนื้อหาในอีเมล ทำให้แฮกเกอร์สามารถสมัครระบบ LEEP แล้วส่งอีเมลหาใครก็ได้ โดยกำหนดทั้งหัวข้ออีเมลและเนื้อหาภายในได้ทั้งหมด ทาง FBI แถลงระบุว่าเป็นช่องโหว่ “คอนฟิกผิดพลาด” (misconfiguration) และเซิร์ฟเวอร์ตัวนี้ใช้สำหรับส่งอีเมลสำหรับระบบ LEEP เท่านั้น อีเมลระบบอื่นไม่ได้รับผลกระทบและไม่มีข้อมูลรั่วไหล ที่มา – Krebs On Security , SpamHaus     ————————————————————————————————— ที่มา : blognone     …

FBI บุกจับวิศวกรทัพเรือสหรัฐฯ นำข้อมูลเรือดำน้ำนิวเคลียร์ไปขาย รับเป็นเงินคริปโตฯ 1 แสนดอลลาร์

Loading

  สองสามีภรรยาชาวสหรัฐฯ ถูกจับกุม ข้อหาขายความลับเกี่ยวกับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ให้ต่างชาติ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเจ้าหน้าที่ FBI ปลอมตัวมา วันที่ 10 ต.ค. 2564 สำนักข่าวเอเอฟพี (AFP) รายงานว่า สำนักงานสอบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation หรือ FBI) ได้ทำการจับกุมคู่สามีภรรยาชาวสหรัฐฯ ที่ถูกกล่าวหาว่านำข้อมูลลับเกี่ยวกับเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ไปขาย ให้กับกลุ่มที่ทั้งคู่เชื่อว่าเป็นหน่วยงานต่างชาติ โจนาธาน โทเอบี วิศวกรนิวเคลียร์ประจำกองทัพเรือสหรัฐ ถูกจับกุมพร้อมกับภรรยาของเขา แอนนา โทเอบี เมื่อวันเสาร์ (9 ต.ค.) จากการร่วมกันกระทำความผิดตาม Atomic Energy Act ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับพลังงานปรมาณู โดยนำข้อมูลที่เป็นความลับไปจำหน่ายให้กับเจ้าหน้าที่ FBI ที่ปลอมตัวเป็นชาวต่างชาติไปล่อซื้อ ด้วยหน้าที่การงานของนายโทเอบี ทำให้เขามีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ และได้นำข้อมูลเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไปขายต่อเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสกุลดิจิทัลมูลค่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ (3.3 ล้านบาท) เนื้อหาในแถลงการณ์ระบุว่า นายโทเอบีเริ่มส่งจดหมายไปยังรัฐบาลต่างชาติ ระบุข้อความว่า “กรุณาส่งต่อจดหมายฉบับนี้ไปยังหน่วยข่าวกรองของกองทัพ ผมเชื่อว่าข้อมูลนี้มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อประเทศของคุณ นี่ไม่ใช่การหลอกลวง” นายโทเอบีแนบตัวอย่างข้อมูลลับและรายละเอียดต่างๆ…

ปฏิบัติการแอปลับ ‘ANOM’ อาชญากรติดกับโดนจับทั่วโลก

Loading

  FBI กับตำรวจออสเตรเลีย ร่วมมือผุดปฏิบัติการแอปแชตลับ ANOM อาชญากรในหลายสิบประเทศหลงกลใช้งาน สุดท้ายโดยจับทั่วโลกเกือบพันคน   ปฏิบัติการนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน เจ้าหน้าที่พยายามแพร่กระจายแอปเข้าสู่เครือข่ายใต้ดิน จนอาชญากรเริ่มใช้งานอย่างแพร่หลายใน 100 ประเทศทั่วโลก   เจ้าหน้าที่ยังได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากอาชญากรตัวเป้ง ซึ่งหลงกลตำรวจและนำแอปไปแนะนำต่อ จนมันกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น   เมื่อวันอังคารที่ 8 มิ.ย. 2564 หน่วยงานตำรวจในหลายประเทศทั่วโลก ประกาศข่าวการจับกุมตัวอาชญากรจำนวนกว่า 800 คน ซึ่งถูกหลอกให้ใช้แอปพลิเคชันส่งข้อความเข้ารหัสที่ชื่อว่า ‘ANOM’ (อานอม) ซึ่งดูเหมือนจะปลอดภัย แต่แท้จริงแล้ว แอปนี้กลับถูกบริหารจัดการโดย FBI ของสหรัฐฯ   ปฏิบัติการที่ว่านี้เป็นความร่วมมือระหว่าง FBI กับตำรวจออสเตรเลีย โดยแพร่กระจายแอป ANOM ไปในหมู่แก๊งอาชญากรรมอย่างลับๆ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถดักฟังข้อมูลต่างๆ ได้มากมายไม่ว่าจะเป็นแผนลักลอบขนยาเสพติด, การฟอกเงิน หรือแม้แต่แผนฆาตกรรม   นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ยังได้รับความช่วยเหลือโดยไม่ตั้งใจจากอาชญากรตัวเอ้ ซึ่งหลบหนีการจับกุมมานานกว่า 10 ปี แต่กลับหลงกลตำรวจและนำแอปไปแนะนำต่อ จนนำไปสู่ความสำเร็จของปฏิบัติการที่เอฟบีไอระบุว่า…

FBIนำทีมแทรกซึมแก๊งอาชญากรรมทั่วโลก หลอกให้ใช้แอปโทรศัพท์ที่จนท.แฮ็กได้ นำไปสู่ปฏิบัติการบุกรวบวายร้ายเฉียดพันใน18ปท.

Loading

    เอฟบีไอหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของออสเตรเลีย ยุโรป นิวซีแลนด์ และอเมริกา ทยอยออกมาแถลงเมื่อวันอังคาร (8 มิ.ย.) เกี่ยวกับ “ปฏิบัติการเกราะเมืองทรอย” (Operation Trojan Shield) โดยใช้โทรศัพท์ที่เปิดใช้งานในระบบ “เอนอม” (AN0M) ซึ่งทำให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายใน 18 ประเทศสามารถติดตามดักฟังสมาชิกแก๊งมาเฟีย องค์กรอาชญากรรมในออสเตรเลีย เอเชีย อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง ที่พูดคุยเกี่ยวกับการซื้อขายยาเสพติด การฟอกเงิน และแม้แต่การต่อสู้ระหว่างแก๊ง   เฉพาะที่ออสเตรเลียมีผู้ถูกจับกุมแล้ว 224 คน โดยนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน กล่าวว่า ปฏิบัติการนี้ส่งผลกระทบรุนแรงมากต่อแก๊งอาชญากรไม่เพียงในออสเตรเลีย แต่รวมถึงทั่วโลก   ฌอง-ฟิลิปป์ เลอคูฟฟ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของตำรวจยุโรป (ยูโรโพล) แถลงว่า ปฏิบัติการนี้ทำให้สามารถจับกุมเหล่าอาชญากรได้กว่า 800 คนทั่วโลก บุกค้นสถานที่กว่า 700 แห่ง และยึดโคเคนได้กว่า 8 ตัน   ทั้งนี้ องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (อินเตอร์โพล)…

เอฟบีไอ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอันทรงอิทธิพล!!

Loading

  หลายคนสงสัยมากว่า FBI คือตำรวจหรือไม่ ทำหน้าที่อะไร วันนี้หนอนโรงพักจะพามาไขข้อข้องใจกันครับ ว่ากันต่อกับเรื่องตำรวจต่างประเทศครับ เรามาถึงหน่วยงานที่เรียกภาษาไทยว่า สำนักงานสอบสวนกลาง หรือชื่อย่อ FBI ซึ่งมาจากชื่อเต็มว่า Federal Bureau of Investigation อำนาจของเอฟบีไอมีหลายคนสงสัยมากว่าคือตำรวจหรือไม่ ก็ถ้าตอบตรง ๆ ก็คือ ไม่ใช่ตำรวจครับ แต่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเหมือนกัน อธิบายให้หายงงก็คือ ในสหรัฐอเมริกานั้น แต่ละรัฐเขาจะมีตำรวจของตัวเอง ใช้กฎหมายของตัวเอง ฝึกกันเอง เอาเข้าจริงหลายประเทศในโลกนี้ก็ใช้ตำรวจแบบเดียวกับอเมริกา ทีนี้พออาชญากร ฆาตกรก่อเหตุข้ามรัฐ มันก็จะต้องประสานงานกันระหว่างตำรวจแต่ละรัฐ ซึ่งตามหลักสูตรข้าราชการ ข้ารัฐการทั่วโลก มีหน่วยงานเยอะ แต่ประสานงานกันไม่ค่อยได้เรื่อง ดังนั้นเอฟบีไอจึงกำเนิดมาตรงนี้แหละครับ คือ ไล่ล่าคนร้ายข้ามรัฐหรือก่อเหตุในหลายพื้นที่ จุดเริ่มต้นของเอฟบีไอ ซึ่งเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อกระทรวงยุติธรรมอเมริกานั้น เริ่มจากช่วงเศรษฐกิจตกต่ำก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เรามีอาชญากรที่ก่อเหตุปล้นธนาคารในหลายพื้นที่มาก สื่อมวลชนก็ตั้งฉายาให้คนพวกนี้กลายเป็นคนดังเพื่อขายข่าว เอฟบีไอถือว่าคนเหล่านี้คือศัตรูของสาธารณะ ต้องไล่ล่าจัดการให้เด็ดขาด ทางรัฐบาลก็ให้อำนาจเอฟบีไอในส่วนนี้มากขึ้นในการจัดการคนร้ายเอฟบีไอเป็นหน่วยงานที่คนในองค์กรเน้นย้ำว่า เปลี่ยนแปลงช้า แต่ทุกครั้งที่เปลี่ยนจะมีประสิทธิภาพ จากหน่วยงานที่ไม่มีใครให้ความสนใจ การจับกุมคนร้าย ใช้หลักวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ การรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้เอฟบีไอสามารถจัดการเข้าถึงอาชญากร ฆาตกร องค์กรอาชญากรรมได้อย่างง่ายดาย และเป็นต้นแบบให้หลายประเทศทั่วโลกเอามาปรับใช้ ของไทยก็เอามาปรับใช้ครับ แต่ดูเหมือนประสิทธิภาพจะไม่ได้ดีเท่า…