CISA เตือนช่องโหว่ร้ายแรงบน Palo Alto Networks กำลังถูกโจมตี

Loading

CISA ได้ออกประกาศเตือนเกี่ยวกับการโจมตีช่องโหว่ CVE-2024-5910 ที่มีความรุนแรงระดับ Critical บนซอฟต์แวร์ Palo Alto Networks Expedition ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการย้ายค่า Configuration ของ Firewall จากผู้ผลิตรายอื่นเช่น Checkpoint และ Cisco มายัง PAN-OS โดยช่องโหว่นี้ทำให้ผู้โจมตีสามารถรีเซ็ตรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบได้โดยไม่ต้องยืนยันตัวตน อย่างไรก็ตาม Palo Alto ได้ออกแพตช์สำหรับช่องโหว่นี้แล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ข้อบกพร่อง DHCP เปิดทางแฮ็กเกอร์ ป่วนระบบไอทีองค์กร

Loading

นับวันเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ก็ได้คิดค้นเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากเหยื่อในรูปแบบที่ไม่ซ้ำเดิม อีกทั้งยังสามารถต่อยอดการพัฒนาจากระบบป้องกันที่องค์กรต่างๆ ใช้งานอยู่ในปัจจุบันเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับและเจาะเข้าระบบโดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว

ก.ต.ช. แนะ 4 ทางรอดโมเดลปลอดภัยไซเบอร์ หนุนแก้ กม. เอาผิดคนทำข้อมูลรั่ว

Loading

วันที่ 25 ก.พ. 67 ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพลและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดการความเสี่ยง กล่าวว่า ในฐานะผู้แทนภาคประชาชนในกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่เป็นอีกบทบาทหนึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายตำรวจแห่งชาติดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่มีแนวโน้มของปัญหาเดือดร้อนของประชาชนเพิ่มขึ้น

ซูเปอร์โพล คนกังวลความปลอดภัย หนุนยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์เป็นวาระแห่งชาติ

Loading

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพล และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดการความเสี่ยง กล่าวว่า ในฐานะผู้แทนภาคประชาชนในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่เป็นอีกบทบาทหนึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายตำรวจแห่งชาติ ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่มีแนวโน้มของปัญหาเดือดร้อนของประชาชนเพิ่มขึ้น มาจากกรณีเงินถูกโจรกรรมในโลกออนไลน์ที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง

ความสำคัญของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายต่อองค์กรยุคใหม่

Loading

  ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต จะเป็นสิ่งที่นำพาความสะดวกสบายมาให้ แต่ในขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ยิ่งต้องเจอกับความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้น การมีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ดี จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรได้ บทความนี้จะพาทุกคนมาดูกันว่า อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย มีความสำคัญต่อองค์กรในยุคดิจิทัลอย่างไร   อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย คืออะไร?   อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย (Network Security Device) คือ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีจุดประสงค์และวิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป   ประเภทของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ควรรู้จัก   – ไฟร์วอลล์ (Firewall) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเข้า-ออกของข้อมูลระหว่างเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอก เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลภายในถูกโจรกรรมหรือเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์   – ระบบตรวจจับและป้องกันภัยคุกคาม (Intrusion Detection and Prevention System: IDPS) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น ไวรัส มัลแวร์ การโจมตีแบบ Denial-of-Service (DoS) เป็นต้น   – ระบบป้องกันไวรัส…

Great Firewall จากจีนสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุคมืดของเสรีภาพในโลกอินเทอร์เน็ต

Loading

Great Firewall คือกำแพงกรองข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตภายนอกของจีน มีความเป็นไปได้ว่าโมเดลที่ทำให้รัฐสามารถควบคุม คัดกรอง การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตของประชาชนกำลังถูกนำมาใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมีระบบสอดส่องของรัฐเกิดในประเทศที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตยังมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือดิจิทัลจำกัด อาจนำไปสู่การเซนเซอร์ตัวเองของสื่อและผู้ใช้งาน ด้วยเหตุผลความกังวลว่าจะถูกจับตามอง เทคโนโลยี firewall ไม่ได้ติดตั้งยากเหมือนที่คิด เพียงแค่ปรับแต่งเล็กน้อย เช่น ภาษาและคำสำคัญของแต่ละประเทศ รวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้สามารถปรับแต่งค่าบางอย่างได้ตามสถานการณ์ได้   ถ้าพูดคำว่า ‘โลกาภิวัตน์’ ในยุคนี้ก็คงโดนหรี่ตามองว่า “ไปอยู่ที่ไหนมา” เพราะมันกลายเป็นความปกติสามัญเหมือนแอปเปิลตกจากต้นตามแรงโน้มถ่วง สำหรับบางประเทศ โลกาภิวัตน์ไม่ใช่สัจธรรม แต่เป็นทางเลือกที่พวกเขาอยากเปิดรับเฉพาะบางแง่มุม การเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อของโลกอาจเป็นโอกาส แต่ของแถมคือภัยคุกคาม ‘ความมั่นคง’ ของรัฐ ชนชั้นนำ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ฯลฯ ทำให้รัฐต้องสรรหานวัตกรรมต่างๆ มารับมือในแบบของตัวเอง โดยไม่ถึงขั้นสุดโต่งปิดตายการไหลเวียนของข้อมูลเสียสนิท จนปิดกั้นโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ นวัตกรรม ‘Great Firewall’ คือกำแพงกรองข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตภายนอกของจีน แม้จะเชื่อมต่อได้จริง แต่ก็ไม่เปิดเสรีจนผู้นำรัฐกังวล จะเป็นอย่างไร หากโครงสร้างอินเทอร์เน็ตรูปแบบนี้เป็นที่แพร่หลาย เพราะลงล็อกตอบโจทย์กับความกังวลของผู้วางนโยบายอินเทอร์เน็ตของรัฐต่างๆ หลังจากจีนพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ทำได้ จนเป็นแรงบันดาลใจให้หลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บ้านใกล้เรือนเคียงของเราเอง อย่างเมียนมาและกัมพูชา ต้องทำตาม เพื่อร่วมสำรวจสถานการณ์เสรีภาพในอินเทอร์เน็ตร่วมกัน DigitalReach…