สกมช.- สดช. ตั้งการ์ดสูงป้องภัยไซเบอร์ เน้นมาตรฐานใช้งาน ‘คลาวด์’ ทั้งระบบ

Loading

  สกมช.เอ็มโอยูร่วม สดช. สร้างมาตรการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ทุกมิติ มุ่งยกระดับ
การป้องกันภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่จะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของไทยให้เกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืน   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า เพื่อการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้ครอบคลุม จึงได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระหว่างสำนักงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือสกมช. และสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สดช.   โดยถือเป็นก้าวสำคัญในยุคที่มีการนำเทคโนโลยีคลาวด์เข้ามามีบทบาทสำคัญ ระบบคลาวด์ได้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน แต่ในขณะที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น   เพื่อให้การใช้ระบบคลาวด์ในประเทศไทยเป็นไปอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีมาตรฐาน สกมช. และ สดช. ได้ร่วมกันพัฒนามาตรการ และแนวทางต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลบนระบบคลาวด์ เช่น การกำหนดมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลและการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านไซเบอร์ เพื่อช่วยเสริมสร้างความพร้อมให้กับหน่วยงานต่างๆในการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น   ในวันนี้จึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของ นโยบาย Cloud First Policy ของรัฐบาล ซึ่งเป็นแนวทางที่หน่วยงานภาครัฐต้องพิจารณาการใช้ระบบคลาวด์เป็นลำดับแรกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนต่อการดำเนินงาน ตลอดจนรองรับการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยที่รัดกุม และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถใช้เทคโนโลยีคลาวด์ได้อย่างเต็มศักยภาพ   สกมช. ได้ออกประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของระบบคลาวด์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงของการใช้บริการคลาวด์สาธารณะในหน่วยงานรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการขับเคลื่อนนโยบาย Cloud…

รัฐบาลดิจิทัล (14) : นับถอยหลัง DCBA นวัตกรรมภาครัฐ

Loading

หลายปีก่อนคงจำกันได้ว่า หน่วยงานรัฐแทบทุกแห่งต้องพูดถึงคำว่า Big Data ต่อมาก็พูดถึง Cloud Computing ปีที่แล้ว Blockchain ก็เป็นที่ฮือฮา มาปีนี้ AI กำลังมาแรง คำถามคือ ภาครัฐติดตามนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ทันกาลไหม และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไรกันบ้าง

‘ดีอี’ คิฟออฟเอ็มโอยูสภาผู้แทนฯ หนุนใช้คลาวด์กลางภาครัฐแล้ว

Loading

วันนี้ (28 มิถุนายน 2567) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี และนายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การสนับสนุนบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ” (Government Data Center and Cloud Service : GDCC) ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และว่าที่ร้อยตำรวจตรีอาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนาม พร้อมด้วยนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สดช.

ดีอี-เอ็ตด้าเร่งสปีด‘ดิจิทัลไอดี’ยกระดับบริการภาครัฐเข้มต้องเสร็จปี 68

Loading

วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวว่า หนึ่งภารกิจสำคัญที่ต้องเร่งผลักดันให้เกิดขึ้น คือ การเปลี่ยนผ่านการให้บริการภาครัฐ โดยเฉพาะบริการสำคัญๆ ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Service เพื่อให้การทำธุรกรรมทางออนไลน์ การติดต่อราชการของประชาชน มีความสะดวกสบาย รวดเร็วและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา เราพบว่า มีภาครัฐหลายหน่วยงานต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงบริการของตนเองมาอยู่ในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้นต่อเนื่อง

รู้จัก 12 บริการ แอปพลิเคชัน เพื่อภาครัฐจากโครงการ GDCC Marketplace

Loading

จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบัน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สดช.) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ผนึกกำลังเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐไทยผ่าน “โครงการ Government Data Center and Cloud Service (GDCC)

ชวนรู้จัก National AI Service Platform แพลตฟอร์มให้บริการ AI ปัญญาประดิษฐ์ไทย

Loading

Nation AI Service Platform หนึ่งในแพลตฟอร์มที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาและผลักดันวงการเทคโนโลยีในประเทศไทย ซึ่งกระแสของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ก่อให้เกิดการตื่นตัวในทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง ธุรกิจต่าง ๆ ล้วนต้องการปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี และมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันมากที่สุด