สกมช.- สดช. ตั้งการ์ดสูงป้องภัยไซเบอร์ เน้นมาตรฐานใช้งาน ‘คลาวด์’ ทั้งระบบ

Loading

  สกมช.เอ็มโอยูร่วม สดช. สร้างมาตรการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ทุกมิติ มุ่งยกระดับ
การป้องกันภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่จะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของไทยให้เกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืน   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า เพื่อการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้ครอบคลุม จึงได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระหว่างสำนักงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือสกมช. และสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สดช.   โดยถือเป็นก้าวสำคัญในยุคที่มีการนำเทคโนโลยีคลาวด์เข้ามามีบทบาทสำคัญ ระบบคลาวด์ได้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน แต่ในขณะที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น   เพื่อให้การใช้ระบบคลาวด์ในประเทศไทยเป็นไปอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีมาตรฐาน สกมช. และ สดช. ได้ร่วมกันพัฒนามาตรการ และแนวทางต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลบนระบบคลาวด์ เช่น การกำหนดมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลและการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านไซเบอร์ เพื่อช่วยเสริมสร้างความพร้อมให้กับหน่วยงานต่างๆในการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น   ในวันนี้จึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของ นโยบาย Cloud First Policy ของรัฐบาล ซึ่งเป็นแนวทางที่หน่วยงานภาครัฐต้องพิจารณาการใช้ระบบคลาวด์เป็นลำดับแรกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนต่อการดำเนินงาน ตลอดจนรองรับการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยที่รัดกุม และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถใช้เทคโนโลยีคลาวด์ได้อย่างเต็มศักยภาพ   สกมช. ได้ออกประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของระบบคลาวด์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงของการใช้บริการคลาวด์สาธารณะในหน่วยงานรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการขับเคลื่อนนโยบาย Cloud…

Meta โดนปรับจุก ๆ ถึง 101 ล้านดอลลาร์ เพราะเก็บรหัสผ่านแบบ Plain Text และยังโดนข้อหาอื่นอีก!)

Loading

เวลาที่คุณใช้งานเว็บไซต์ชื่อดังหลายเว็บไซต์นั้น คุณรู้สึกไหมว่าคุณกำลังให้ความไว้วางใจในเว็บไซต์นั้น ๆ มากเกินไป ซึ่งอาจจะมาจากเพราะชื่อเสียงที่เป็นที่โด่งดัง หรือ ดูมีความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี แต่ความเป็นผู้นำ ความมีชื่อเสียงนั้น ก็ไม่ได้รับประกันว่าจะมีการจัดการที่ดีเสมอไป

การใช้ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า โอกาสหรือความเสี่ยง

Loading

Dutch DPA บังคับใช้กฎหมาย GDPR ปรับและคำสั่งลงโทษเพิ่มเติม ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งต่อกรณีการกระทำผิดของ Clearview AI ผู้ให้บริการข้อมูลภาพจำลองใบหน้า

‘อูเบอร์’ ถูกปรับ 290 ล้านยูโร!

Loading

ประเด็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหภาพยุโรปให้ความสำคัญมาก โดยมีการกำหนดข้อบังคับ GDPR

ความสมดุลระหว่างนวัตกรรมกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ : การผสานเทคโนโลยี AI กับ PDPA

Loading

การเติบโตของ AI มาพร้อมกับความท้าทายที่สำคัญ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของประเทศไทย มีข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการประมวลผลข้อมูลขององค์กร บทความนี้จะกล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่าง AI และ PDPA พร้อมทั้งสรุปผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ และเสนอแนวทางที่องค์กรสามารถนำไปใช้ปฏิบัติตามข้อกำหนด ขณะเดียวกันก็สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ AI ได้อย่างเต็มที่

ChatGPT ภาพหลอน และการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  หลาย ๆ ท่านอาจเคยได้ยินว่า Generative AI อาจให้ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ ดังนั้น ผู้ใช้งานโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM: Larger language models) จึงต้องมีความตระหนักรู้ในข้อจำกัดของเทคโนโลยีประกอบด้วย   ข้อมูลที่ผิดพลาดอาจจะเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐาน หรืออาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลก็ได้ ลองจินตนาการว่าหาก Generative AI ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวท่าน เช่น “วันเดือนปีเกิด” ท่านในฐานะของผู้ใช้งานโมเดลภาษาหเล่านั้นหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้อง   และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่อาจสร้างความเสื่อมเสียต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล   ท่านจะมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไรบ้างหรือไม่ เพื่อจะทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่ถูกประมวลผลหรือแสดงผลโดย Generative AI นั้นถูกต้อง หรือขอให้ลบข้อมูลเหล่านั้นออกจากการประมวลผลหรือการแสดงผลลัพธ์   การที่ระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI สร้างข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง ในทางเทคนนิค เรียกว่า AI Hallucination หรือการประดิษฐ์ภาพหลอนโดย AI   คือกรณีนี้เป็นสถานการณ์ที่ AI สร้างข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นผลลัพธ์การตอบสนองที่สร้างโดย AI ที่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นข้อเท็จจริง     เปรียบเสมือนภาพหลอนในจิตวิทยาของมนุษย์ที่อาจเกิดจากข้อจำกัดของโมเดล AI เอง…