เครื่องมือชั้นดี FBI จับตามิจฉาชีพ ใช้ Gen AI ในทางที่ผิด

Loading

  [ติดปีกโจร] ที่ผ่านมา Generative AI หรือ Gen AI กลายเป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ผู้ใช้อย่างเรา ๆ แต่ขณะเดียวกันก็รวมถึง Cyber Crime หรือผู้ก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ด้วยเช่นกัน จนล่าสุดทาง FBI ออกมาเผยเลยว่า Gen AI กำลังถูกใช้ในทางที่ผิดมากขึ้นเรื่อย ๆ และแนบเนียนมากขึ้นด้วย   Federal Bureau of Investigation หรือ FBI สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี Gen AI ในทางที่ผิด พร้อมย้ำเลยว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย   แต่แม้จะผิดกฎหมาย ปัจจุบันก็ยังพบมิจฉาชีพนำ Gen AI ไปใช้ฉ้อโกงหลายคดี ซึ่งปัจจุบันทำได้อย่างรวดเร็วและมีน่าเชื่อถือมากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ เช่น ข่าว บทความ ไปจนถึงคลิปปลอม สร้างบัญชีโซเชียลมีเดียปลอม สร้างบอทช่วยส่งข้อความ และการสร้างเว็บไซต์ปลอม ที่มีการใช้ Chatbot ช่วยแชร์ลิงค์ กับใช้ AI…

ไทยเข้าวิน! เจ้าภาพประชุม AI โลก วางกรอบถกจริยธรรม-ความยั่งยืน

Loading

    ยูเนสโกเลือกไทย! จัดประชุมถกจริยธรรม AI ระดับโลกครั้งแรกในเอเชีย-แปซิฟิก รวมพลผู้นำ-ผู้เชี่ยวชาญ 194 ประเทศ แห่ร่วมงาน มิ.ย.68 ตั้งเป้าผู้เข้าร่วม 800 คน   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ประเทศไทยเดินหน้าสร้างความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างมีจริยธรรม สอดคล้องกับเป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2567   รายงานจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระบุว่า องค์กรในประเทศไทยมีการนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้นถึง 73.3% สูงกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 20% สะท้อนถึงความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม   ทั้งนี้ รัฐบาลยังผลักดันแนวทางสำคัญในการกำกับดูแล AI ด้วย “คู่มือแนวทางการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล” และ…

‘ไมโครซอฟท์’ แนะยุทธวิธี ใช้ ‘AI’ ปกป้องข้อมูลองค์กร

Loading

    “ไมโครซอฟท์” เผยภาพรวมสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ปี 2567 พบว่า ลูกค้าของไมโครซอฟท์ทั่วโลกเผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์จากอาชญากรมากกว่า 600 ล้านครั้งต่อวัน   ไม่ว่าจะเป็น การโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือ แรนซัมแวร์ ไปจนถึงฟิชชิง (Phishing) และการโจมตีข้อมูลประจําตัว (Identity Attacks) พบด้วยว่า วิธีการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เพิ่มขึ้น 2.75 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา   ข้อมูลทางสถิติชี้ให้เห็นว่า อาชญากรรมทางไซเบอร์และการฉ้อโกงที่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเงินยังคงเป็นภัยคุกคามที่พบได้บ่อยที่สุด   ดึง AI กันภัยคุกคามองค์กร   สำหรับเทคนิคการเข้าถึงที่พบมากที่สุด ยังคงเป็นวิศวกรรมสังคม (Social Engineering) โดยเฉพาะการฟิชชิงทางช่องทางต่างๆ รวมถึงการขโมยข้อมูลประจำตัว และการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในแอปพลิเคชันที่เปิดให้บริการแบบสาธารณะ หรือระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้รับการอัปเดต   นอกจากนี้ การหลอกลวงผ่านทางเทคโนโลยี (Tech scams) เพิ่มสูงขึ้นถึง 400% ตั้งแต่ปี 2565 โดยในปีที่ผ่านมาได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีความถี่รายวันเพิ่มขึ้นจาก 7,000 ครั้งในปี 2566 เป็น…

รู้หรือยัง? ไทยมีใช้แล้ว คู่มือ AI อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับองค์กร

Loading

  ปัจจุบันการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ  AI เป็นเทรนด์ที่กำลังมา มีการนำไปประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลายในหลากหลายวงการ แต่อย่างที่รู้เทคโนโลยีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย!   และเป็นที่ถกเถียงกันในหลายประเทศว่าควรจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมหรือไม่?  ซึ่งมีเพียงสหภาพยุโรป ที่ได้ออกกฎหมาย AI เป็นฉบับแรกของโลก   ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ AI หรือไม่?  ยังเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องหารือถึงผลดีผลเสียในการออกกฎหมายมากำกับดูแล แต่ในระหว่างนี้ที่มีการนำ AI มาใช้งานอย่างแพร่หลาย ทาง  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) จับมือสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า โดย ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Center หรือ AIGC)  เดินหน้าพัฒนากรอบธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นการต่อยอด  AI Governance Guideline ของไทย สู่การออกประกาศ  Guideline ใหม่ !   คือ “แนวทางประยุกต์ใช้ Generative AI อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับองค์กร” (Generative AI Governance Guideline for Organizations) สำหรับผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการวางกรอบการกำกับดูแล การประยุกต์ใช้ Generative AI ระดับองค์กร     “ประเสริฐ จันทรรวงทอง”  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) บอกว่า  ปัจจุบัน Generative AI ได้กลายเป็นอีกเครื่องมือสำคัญ สำหรับองค์กรในยุคดิจิทัล ที่หลายๆ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มทักษะการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถึงแม้การใช้งาน Generative AI จะเติบโตอย่างรวดเร็วในหลายอุตสาหกรรม…

Decentralized LLM โมเดลภาษาที่มุ่งลดผูกขาดในอุตฯ Gen AI ตลาดใหม่ที่จ่อโตเฉียด 40%

Loading

    รู้จักโมเดลภาษา ‘Decentralized LLM’ ที่มุ่งลดผูกขาดในอุตฯ Generative AI ตลาดธุรกิจใหม่ที่จ่อโตเฉียด 40%   หากพูดถึงเจ้าของเทคโนโลยี Generative AI ในโลกนี้ คงหนีไม่พ้นที่หลายคนจะนึกถึงชื่อของบริษัทข้ามชาติจากตะวันตกซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลมหาศาลจากจำนวนผู้ใช้งานเทคโนโลยีเอไอของพวกเขาที่มากขึ้น   น่าสนใจว่าในช่วงที่ผ่านมาประเด็นเรื่อง “การผูกขาด” ในอุตสาหกรรม Generative AI เริ่มเป็นที่พูดถึงมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเริ่มกระโดดเข้ามาในสมรภูมินี้มากขึ้น   แต่แม้ว่าบริษัทเหล่านั้นจะเลือกใช้แชตบอตหรือเทคโนโลยี AI จากบริษัทเอกชนใดก็ตาม หนึ่งสิ่งที่ตามมาคงหนี้ไม่พ้นการต้องเปิดเผยข้อมูลของบริษัทพวกเขากับผู้พัฒนาเทคโนโลยีเหล่านั้น   ในเวที “Breaking the Monopoly” ในงาน Hong Kong Fintech Week 2024 ดร.หยาง หงเซี่ย ศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัย Hong Kong Polytechnic University กล่าวเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า ขณะที่เทคโนโลยี Generative AI กำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การผูกขาดโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเริ่มกลายเป็นประเด็นที่น่ากังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของทรัพยากรการประมวลผลและการเข้าถึงข้อมูล   Decentralized…

การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงจากการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์ และผลกระทบต่อสถาบันการเงิน

Loading

  การบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์ต้องเน้นการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ให้บริการบุคคลที่สามอย่างเคร่งครัด ควรประเมินการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบไบโอเมตริกซ์ตามมาตรฐาน ISO 27001, NIST และการรับรอง SOC 2 Type 2 การใช้เครื่องมือตรวจสอบช่วยในการติดตามกิจกรรมของผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่องและตั้งค่าการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างเข้มงวดจะช่วยลดความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูล   จากการคาดการณ์ของ Deloitte Center for Financial Services ภายในปี 2570 การฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์จะก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทคโนโลยีอย่าง Deepfake ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์ที่มีความสมจริงและน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกขโมยจากเว็บมืดหรือสร้างขึ้นใหม่ การพัฒนาของ Generative AI ยังเพิ่มความเสี่ยงจาก Deepfake ให้รุนแรงขึ้น รายงานของ World Economic Forum (WEF) ในปี 2566 ระบุว่าเหตุการณ์ Deepfake ที่เกี่ยวข้องกับฟินเทคเพิ่มขึ้น 700% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคาดว่าในปี 2569 เนื้อหาออนไลน์มากถึง 90% อาจถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีสังเคราะห์   ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย การจัดการกับการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์กลายเป็นประเด็นเร่งด่วน…