จับตา Generative AI สู่ช่องทาง ‘อาชญากรไซเบอร์’ โจมตี!!

Loading

  ทุกเทคโนโลยีมีศักยภาพในการใช้งานทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเทคโนโลยี “generative AI” อย่างเช่น ChatGPT ซึ่งนับเป็นแพลตฟอร์มที่ถูกกล่าวถึงอย่างมากในแวดวงไอที   แซม ออลท์แมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT เองก็ได้แสดงความกังวลในแถลงการณ์ฉบับล่าสุด โดยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของเอไอ และให้นำไปใช้งานอย่างเหมาะสม โปร่งใส ให้ความสำคัญกับประเด็นความท้าทายระดับโลก ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงกับมนุษยชาติ     ChatGPT ช่องทางภัยร้าย เอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำวีเอ็มแวร์ประเทศไทย เล่าถึงประเด็นนี้ว่า ความกังวลและข้อเสนอแนะข้างต้นเป็นการกระตุ้นและเน้นยำให้บริษัทต่างๆ พิจารณาเชิงรุกถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยของ generative AI   เป็นโอกาสสำหรับองค์กรที่จะต้องเริ่มตื่นตัวในเรื่องการปกป้องระบบและข้อมูลของตนเมื่อเผชิญกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเหล่านี้   นอกจากนี้ ยังได้พบว่า ผู้ประสงค์ร้ายอาศัยช่องทางเหล่านี้สร้างประโยชน์แก่ตนเอง ตัวอย่าง ไม่กี่สัปดาห์ หลังจากการเปิดตัว ChatGPT เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา อาชญากรไซเบอร์ได้นำเครื่องมือไปแชร์และใช้บนฟอรัมดาร์กเว็บ   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องมือที่สามารถใช้โดยผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการเขียนโค้ด เพื่อสร้างมัลแวร์ที่ซับซ้อนขึ้นมาใหม่ สำหรับคนหลายล้านคน   ChatGPT นั้นเป็นเสมือนวิศวกรคนหนึ่งที่บริษัทจ้างทำงาน หรือเปรียบเสมือนพนักงานที่มีศักยภาพคนหนึ่งที่เต็มไปด้วยความรู้และสามารถเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต สั่งงานได้ตลอด…

ลิขสิทธิ์ และ กฎหมายกับ AI

Loading

    ลิขสิทธิ์ และ กฎหมายกับ AI   AI วาดรูปที่เคยเป็นที่ฮือฮามาก ๆ ในช่วงปลายปีที่แล้ว ทั้ง Dall-E2, Midjourney จนตอนนี้ ผ่านมาแค่ครึ่งปี แต่ AI วาดรูปก็กลายเป็นเรื่องปกติไปที่เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็ใช้ บางคนก็เอาไปใช้เป็นรูปประกอบ บางคนเอารูปนั้นไปขาย บางที่ก็ฝึกให้ AI เรียนรู้สไตล์ภาพของศิลปิน แล้วสร้างภาพใหม่ในสไตล์นั้นขึ้นมา แต่ เอ๊ะ…แล้วแบบนี้ มันจะเรียกว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือผิดกฎหมายไหม?   ซึ่งเรื่องนี้ก็มีรายงานข่าวจากต่างประเทศว่า มีศิลปิน 3 คนรวมตัวกันยื่นฟ้อง Midjourney และ Stable Diffusion เอไอวาดรูปที่เป็นที่นิยมมาก ๆ ข้อหาละเมิดสิทธิ์ของ “ศิลปินหลายล้านคน” ด้วยการเอารูปของพวกเขาไปเทรน AI แต่คดียังไม่จบนะคะ   1/ As I learned more about how the…

จีนออกกฎระเบียบควบคุม Generative AI มีผลบังคับใช้ 15 ส.ค.

Loading

  สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า หน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์ของจีน (CAC) ได้ออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมปัญญาประดิษฐ์เชิงรู้สร้าง (Generative AI) ในวันนี้ (13 ก.ค.) ท่ามกลางความพยายามของจีนในการเพิ่มการควบคุมเทคโนโลยี Generative AI ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว   CAC ระบุว่า CAC ได้ร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ เพื่อจัดทำกฎระเบียบใหม่ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 สิงหาคม   รายงานระบุว่า Generative AI เป็นเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสามารถสร้างคอนเทนต์ เช่น ข้อความหรือรูปภาพได้ โดยแชตจีพีที (ChatGPT) ของบริษัทโอเพนเอไอ (OpenAI) จากสหรัฐ เป็นตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถป้อนคำถามเพื่อขอคำตอบจากแชตบอต   บริการเหล่านี้ได้รับการฝึกฝนจากข้อมูลจำนวนมหาศาล โดยความสำเร็จของ ChatGPT ได้จุดประกายให้บริษัทคู่แข่งเปิดตัวบริการแบบเดียวกัน ก่อให้เกิดความกังวลในกลุ่มหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบทั่วโลกเกี่ยวกับความเสี่ยงจากเทคโนโลยีดังกล่าว   ขณะเดียวกัน บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน ต่างเข้าร่วมลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าวเช่นกัน ด้วยการประกาศแผนและเปิดตัวบริการเทคโนโลยี Generative AI ของตนเอง   อย่างไรก็ตาม…

หยุดวิกฤตวันสิ้นโลก: AI อันตรายกับองค์กรของคุณอย่างไร

Loading

    เครื่องมือ AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ก็จริง แต่ก็ทำให้ชีวิตของวายร้ายไซเบอร์สะดวกขึ้นด้วยเช่นกัน งานวิจัยจาก Salesforce ให้ข้อมูลว่าผู้บริหารอาวุโสฝ่ายไอทีราว 2 ใน 3 (67%) ให้ความสำคัญกับ Generative AI (AI เชิงสร้างผลงาน) ในอนาคตอันใกล้นี้ ขณะเดียวกันราว 71% ก็เชื่อว่า AI จะนำมาซึ่งความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ     ข้อมูลจากสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยระบุว่า ประเทศไทยมีการใช้ AI อย่างแพร่หลาย ทั้งในระดับผู้ประกอบการไปจนถึงหน่วยงานภาครัฐ โดยส่วนใหญ่ตื่นตัวในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในองค์กร ขณะเดียวกันรายได้ของบริษัทสตาร์ตอัปด้านการพัฒนา AI ของไทยก็เพิ่มขึ้น 25% ในปี 2565 และคาดการว่าเพิ่มขึ้นราว 35% ในปี 2566   ปัจจุบันคนร้ายได้ใช้ ChatGPT และ Generative AI เพื่อช่วยเขียนโค้ดอันตราย (และอวดผลงานระหว่างกันในกลุ่มนักพัฒนา) ขณะที่ฝ่ายสนับสนุน ChatGPT…

ChatGPT ความเสี่ยงจาก การสร้างเนื้อหาที่ผิดพลาด

Loading

    ChatGPT เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Generative AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาได้เองกำลังเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งนำมาเขียนจดหมาย รายงาน บทความ หรือช่วยระดมความคิดเห็นต่างๆ รวมไปจนถึงนำไปเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม   ChatGPT เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Generative AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาได้เองกำลังเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งนำมาเขียนจดหมาย รายงาน บทความ หรือช่วยระดมความคิดเห็นต่างๆ รวมไปจนถึงนำไปเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเราจะเห็นความน่าทึ่งจากความสามารถของ ChatGPT ในการสร้างข้อมูล   แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ยังพบว่า ChatGPT อาจจินตนาการและสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมาได้ด้วย จนเริ่มมีคำถามว่าเราควรจะอนุญาตให้มีการใช้ ChatGPT ในงานด้านต่างๆ เพียงใด และหากมีการนำมาใช้งานจำเป็นจะต้องระบุด้วยหรือไม่ว่าเนื้อหาถูกสร้างจาก ChatGPT   เหตุผลหลักที่ทำให้ ChatGPT สร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้นั้น เกิดจากการที่ ChatGPT ได้รับการเรียนรู้มาด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลจากเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต ที่อาจประกอบไปด้วยข้อมูลทั้งที่ถูกต้อง และที่ไม่ถูกต้อง ซึ่ง ChatGPT ไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่มันจะสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกมาในบางครั้งจากคลังความรู้ที่ผิดๆ บางส่วน   นอกจากนี้ ChatGPT ถูกฝึกอบรมมาจากข้อมูลถึงเมื่อเดือนกันยายน…

เมื่อผมนำ ChatGPT มาใช้พัฒนาโปรแกรม – ChatGPT ทำได้รวดเร็วถูกต้องใน 1 นาที

Loading

    มาถึงยุคนี้ที่มี ChatGPT ผมสามารถสั่งให้ ChatGPT เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยโจทย์เช่นเดียวกับที่เคยให้นักศึกษาทำในสมัยก่อน ปรากฎว่า ChatGPT เขียนโปรแกรมได้อย่างถูกต้องด้วยเวลารวดเร็วมากภายในหนึ่งนาที   ผมเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ครั้งแรกสมัยตอนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเมื่อ 40 ปีแล้ว จำได้ว่า ต้องเขียนโปรแกรมโดยใช้เทคโนโลยีรุ่นเก่า ต้องเจาะบัตรเพื่อส่งไปประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยนั้น ซึ่งถ้าเทียบกับปัจจุบันอาจมีประสิทธิภาพเพียงเทียบเท่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ เมื่อ 30 ปีก่อน การเขียนโปรแกรมง่ายๆ โปรแกรมหนึ่งต้องใช้เวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ จึงจะทำเสร็จ   แม้ตอนมาเป็นอาจารย์สอนหนังสือคณะวิศวกรรมศาสตร์หลายปี ก่อนที่จะออกมาเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ยังจำได้ว่าให้การบ้านง่ายๆ ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น การคำนวณสูตรคณิตศาสตร์ นักศึกษาก็ยังใช้เวลาทำนานมาก หรือแม้แต่เวลาออกข้อสอบให้เขียนโปรแกรมง่ายๆ นักศึกษาจำนวนมากก็มักทำกันไม่ได้ และเกือบครึ่งหนึ่งสอบไม่ผ่านวิชาเขียนโปรแกรมเบื้องต้น   พอมาถึงยุคนี้ที่มี ChatGPT ออกมา ผมสามารถสั่งให้ ChatGPT เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยโจทย์เช่นเดียวกับที่เคยให้นักศึกษาทำในสมัยก่อน ปรากฎว่า ChatGPT เขียนโปรแกรมได้อย่างถูกต้องด้วยเวลารวดเร็วมากภายในหนึ่งนาที อีกทั้งยังมีความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่หลากหลาย เกือบแทบทุกภาษานอกจากนี้ยังมีความสามารถในการที่จะเขียนโปรแกรมยากๆ ที่มีความซับซ้อน การพัฒนาเว็บ การเขียนเกมส์ สามารถเอามาช่วยแก้ปัญหาในการเขียนโปรแกรมได้อย่างรวดเร็วจนเสร็จและมีความถูกต้อง   สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา…