GISTDA พัฒนาแอป “ไฟป่า” แจ้งเตือนจุดความร้อน ลดเสี่ยงไฟป่า

Loading

  GISTDA พัฒนาแอป “ไฟป่า” เพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังให้กับทุกภาคส่วน พร้อมเดินหน้าติดตามสถานการณ์แบบวันต่อวัน   ช่วงปลายปีถึงต้นปีของทุกปี เป็นช่วงที่น่าจับตากับสถานการณ์ไฟป่าในบ้านเราและจากประเทศเพื่อนบ้าน   เรามาดูกันว่าเมื่อปี 2566 จุดความร้อนสะสมใน 17 จังหวัดภาคเหนือจากดาวเทียมระบบ VIIRS พบว่า ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 มีจุดความร้อนทั้งสิ้น 109,035 จุด   จัดอันดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ เชียงใหม่ 13,094 จุด น่าน 11,632 จุด แม่ฮ่องสอน 11,522 จุด ตาก 10,337 จุด เชียงราย 10,129 จุด ลำปาง 7,898 จุด เพชรบูรณ์ 6,205 จุด   อุตรดิตถ์ 5,720 จุด แพร่ 5,646 จุด พะเยา…

‘สมอลวอท’ อิงเทคโนฯ ดาวเทียม ติดตาม ‘แหล่งน้ำชุมชน’ รับมือภัยแล้ง

Loading

  สมอล-วอท (SMORWAT) ระบบติดตามปริมาณแหล่งน้ำขนาดเล็กจากดาวเทียมธีออส-2 ช่วยเตือนภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำ ให้ข้อมูลพื้นที่น้ำล้นตลิ่งหาบริเวณแหล่งน้ำใหม่ ๆ สร้างวิถีชุมชนใหม่ให้กับคนไทย   สมอล-วอท (SMORWAT) ระบบติดตามปริมาณแหล่งน้ำขนาดเล็กจากดาวเทียม หนึ่งในโครงการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมธีออส-2 พัฒนาโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) สามารถเตือนภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำ ให้ข้อมูลพื้นที่น้ำล้นตลิ่ง ตลอดจนนำไปใช้กับการหาบริเวณแหล่งน้ำใหม่ ๆ เพื่อทำเกษตรและสร้างวิถีชุมชนใหม่ให้กับคนไทย   รู้ทันเรื่องน้ำในทุกมิติ   สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ผู้อำนวยการสำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า แหล่งน้ำขนาดเล็กมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศไทย หากขาดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ก็จะส่งผลให้เกิดผลเสียหลายด้านที่ตามมา เช่น ความแห้งแล้ง น้ำท่วม   จิสด้าจึงได้ริเริ่มโครงการระบบติดตามสถานการณ์แหล่งน้ำขนาดเล็ก โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมธีออส-2 และกลุ่มดาวเทียมรายละเอียดปานกลาง ร่วมกับข้อมูลจากเซนเซอร์ภาคพื้นดิน เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณน้ำ ทั้งในเชิงตำแหน่ง ขนาด รูปร่าง และปริมาณของน้ำในแหล่งน้ำขนาดเล็กแต่ละแห่ง ทำให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในแต่ละพื้นที่   สมอล-วอท จะให้บริการประชาชนทั้งบนเว็บไซต์ water.gistda.or.th และแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟนทั้ง Android และ IOS ที่มีชื่อว่า “Geo Caching”…

NASA ลองสื่อสารด้วยเลเซอร์ผ่านดาวเทียม คุยข้ามดาวเคราะห์ 16 ล้านกิโลเมตร

Loading

ล้ำไปอีก! NASA ทดลองสื่อสารด้วยเลเซอร์ผ่านดาวเทียม เปิดโอกาสให้ความเป็นไปได้คุยข้ามดาวเคราะห์ ห่าง 16 ล้านกิโลเมตร! องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ของสหรัฐฯ หรือ องค์การนาซา (NASA) กำลังทดลองการสื่อสารข้ามอวกาศด้วยลำแสงเลเซอร์ เพื่อคนหาการส่งสัญญาณสื่อสารรูปแบบใหม่ ทดแทนคลื่นไมโครเวฟที่ใช้อยู่ปัจจุบัน

ช่วยค้นหาแหล่งน้ำในพื้นที่ ! “สมอล-วอท” ระบบติดตามแหล่งน้ำขนาดเล็กจากดาวเทียม

Loading

“สมอล-วอท” (SMORWAT) คือระบบติดตามแหล่งน้ำขนาดเล็กจากดาวเทียม ซึ่งใช้ในการช่วยคนไทยค้นหาแหล่งน้ำในพื้นที่ เนื่องจากบางแห่งได้เปลี่ยนสภาพไปใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่น หรือมีการเกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยระบบจะมีประโยชน์อะไรบ้าง ประชาชนจะสามารถเข้าไปใช้งานได้อย่างไร ? บทความนี้หาคำตอบมาให้แล้ว

GISTDA ศึกษาแนวทางการจัดเส้นทางจราจรของ “โดรน” รองรับโลกที่เปลี่ยนแปลง

Loading

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัด Focus Group ในเรื่อง “การพัฒนาระบบจัดการจราจรอากาศยานไร้คนขับ หรือ Development of Unmanned Aircraft Traffic Management System: UTM” ครั้งที่ 4

รู้จัก “THEOS-2” ดาวเทียมสำรวจฝีมือคนไทย สู่วงโคจรสานต่อภารกิจ THEOS-1

Loading

ในวันที่ 7 ตุลาคม 2566 จะมีการปล่อย “THEOS-2” ดาวเทียมสัญชาติไทย ขึ้นประจำการอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ดาวเทียม THEOS-1 กำลังจะหมดอายุการใช้งาน โดยจะปล่อยที่จังหวัดโพ้นทะเลเฟรนช์เกียนา ในทวีปอเมริกาใต้ จุดเริ่มต้นของ THEOS-2 มาจากโครงการ THEOS ที่เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย