รู้จัก “THEOS-2” ดาวเทียมสำรวจฝีมือคนไทย สู่วงโคจรสานต่อภารกิจ THEOS-1

Loading

ในวันที่ 7 ตุลาคม 2566 จะมีการปล่อย “THEOS-2” ดาวเทียมสัญชาติไทย ขึ้นประจำการอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ดาวเทียม THEOS-1 กำลังจะหมดอายุการใช้งาน โดยจะปล่อยที่จังหวัดโพ้นทะเลเฟรนช์เกียนา ในทวีปอเมริกาใต้ จุดเริ่มต้นของ THEOS-2 มาจากโครงการ THEOS ที่เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย

ไทยส่ง ‘THEOS-2’ ไปอวกาศ7ต.ค.นี้-เป็นดาวเทียมสำรวจโลกรายละเอียดสูง

Loading

เมื่อวันที่ 27 ก.ย.66 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.อว. ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA นายเรมี ล็องแบร์ อุปทูตรักษาการเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และนายโอลิวิเย่ร์ ชาร์ลเวท จาก AIRBUS ร่วมแถลงข่าวความพร้อมของดาวเทียม THEOS-2 ก่อนขึ้นสู่อวกาศ ในงาน “THEOS-2 : Shaping Thailand’s Future from Space, Our Commitment”

หายนะแน่ ! GISTDA เตือน เอกชนควรเตรียมพร้อมรับ พายุสุริยะ เหลือเวลาอีก 730 วัน

Loading

    GISTDA เตือนเอกชนเร่งหาทางป้องกัน “พายุสุริยะ” ที่เกิดขึ้นทุก 11 ปี คาดรอบนี้ค่อนข้างรุนแรงพร้อมยันเน็ตล่มแน่ หากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนสัญญาณหนักจนโรงไฟฟ้าระเบิด   ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ GISTDA (จิสด้า) กล่าวในรายการสปริง ดิจิทัลไลฟ์ อัปเดต ที่จะออกอากาศในวันที่ 6 ก.ค.66 นี้ ว่า จากข้อมูลที่นาซาแจ้งเตือนมานั้น หากย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ให้มาพบว่า ปัญหาพายุสุริยะนี้ จะวนมาเกิดขึ้นทุก 11 ปี ในรูปแบบลมสุริยะและจะเกิดซ้ำอีก   ทั้งนี้ ลมสุริยะ จะเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กอย่างรวดเร็วกลายเป็นพายุสนามแม่เหล็ก ส่งผลกระทบให้ระบบการสื่อสาร คลื่นความถี่สูงและต่ำหาย ไม่สามารถใช้งานเครือข่ายและไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้   ส่งผลกระทบต่อดาวเทียมสื่อสาร ทำให้โทรศัพท์มือถือไม่สามารถใช้งานได้ แต่อาจไม่ถึงขั้นส่งผลให้ตัวเครื่องระเบิด แต่ถ้าเป็นกรณีที่ร้ายแรงแบบสุด ๆ คือเกิด พายุแม่เหล็กโลก หรือ Geomagnetic strom ที่จะรุนแรงจนเกิดกระแสเหนี่ยวนำ ทำให้โรงงานไฟฟ้าระเบิดได้   หากถามว่าปัญหานี้น่ากลัวไหม ต้องบอกว่า ต้องเตรียมพร้อมรับมือและวางแผนแก้ไขปัญหาล่วงหน้า…

GISTDA ส่งเทคโนโลยีอวกาศบริหารจัดการที่ดินรอบเรือนจำ

Loading

  GISTDA จับมือ กรมราชทัณฑ์ ดึงเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ บริหารจัดการที่ดินรอบเรือนจำ เล็ง เรือนจำสงขลา นำร่องก่อนใช้จริงในทัณฑสถานที่มีอยู่กว่า 143 แห่งทั่วประเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสร้างความร่วมมือ ด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ นายปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า การลงนามครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่ GISTDA จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาและดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานของกรมราชทัณฑ์ด้านการสำรวจและจัดทำแผนที่ด้านความมั่นคง และวางแผนจัดการการใช้ที่ดินบริเวณโดยรอบทัณฑสถานที่มีอยู่กว่า 143 แห่งทั่วประเทศ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่างสองหน่วยงาน และมุ่งสร้างเสริมขีดความสามารถในการพัฒนาบุคลากรและถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เข้ามาบูรณาการในการบริหารจัดการด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของกรมราชทัณฑ์ นอกจากนี้ GISTDA จะร่วมผลักดันพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้ภารกิจของกรมราชทัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการจัดทำแผนที่แสดงอาณาบริเวณเขตเรือนจำทั่วประเทศ ที่ผ่านการจัดทำในมาตราส่วนที่เหมาะสม และมีมาตรฐาน เพื่อให้หน่วยงานภายใต้สังกัดของกรมราชทัณฑ์สามารถนำไปวางแผน ควบคุม เฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมายในบริเวณเรือนจำทั่วประเทศ ได้ทันการณ์ และมีประสิทธิภาพต่อไป ด้าน นายอายุตม์…

โซนี่ทดสอบระบบเตือนภัยสึนามิผ่านดาวเทียมที่ภูเก็ต

Loading

  สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ร่วมกับบริษัทเอกชนชั้นนำ และ GISTDA ทดสอบระบบการแจ้งเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Alert System) โดยข้อมูลจะถูกส่งตรงจากอุปกรณ์ของบริษัท SONY ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ถือเป็นการแจ้งเตือนภัยผ่านระบบดาวเทียมโดยตรง   ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด รองผู้อำนวยการด้านกิจการอวกาศของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวว่า การดำเนินการทดสอบร่วมกับ SONY ในครั้งนี้ ระบบจะถูกทดลองบนพื้นที่ทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต ที่เป็นจุดเกิดเหตุของสึนามิ เมื่อปี 2547   SONY มั่นใจว่าระบบนี้ซึ่งพัฒนาโดยทีมวิจัยของบริษัทเองจะเป็นการปฏิวัติวงการอวกาศในอนาคต และ SONY เป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่กำลังรุกคืบในอุตสาหกรรมอวกาศ ที่มุ่งพัฒนาไม่ใช่เพียงการสร้างดาวเทียมหรือจรวดอย่างที่เราคุ้นเคยเท่านั้น แต่ยังดึงจุดแข็งของตัวเองด้านการทำชิปอิเล็กทรอนิกส์มาสร้างเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียมระบุตำแหน่ง หรือสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ได้โดยตรง โดยไม่ต้องพึ่งพาเครือข่ายโทรศัพท์   ความร่วมมือกับ SONY ครั้งนี้จะนำไปสู่การลงทุนธุรกิจอวกาศในประเทศไทยต่อไป นอกจากนี้ยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ชื่อว่า SoftBank ที่พัฒนาเทคโนโลยีจากดาวเทียมระบุตำแหน่ง ก็เป็นอีกหนึ่งรายที่พร้อมลงทุนในประเทศไทย   ปัจจุบันเริ่มมีการหารือกับพาร์ทเนอร์ในไทยเพื่อเตรียมรุกตลาดอย่างเต็มตัว ทั้งบริษัทไทยผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบโทรคมนาคม รวมถึงผู้ให้บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สายในไทย…

ปกรณ์ย้ำ! ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องมี ‘กฎหมายอวกาศ’

Loading

  หลังจาก ศรชล.ภาค ๓ ได้ประสานความร่วมมือกับ GISTDA และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมวางแผนการเก็บกู้ถังเชื้อเพลิงของจรวดที่ถูกนำส่งขึ้นสู่อวกาศ โดยค้นพบที่บริเวณเกาะแอล จังหวัดภูเก็ต จนภารกิจสำเร็จลุล่วงไปแล้วเมื่อ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา เรื่องดังกล่าว ถือเป็นเรื่องสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับ “กฎหมายอวกาศ” ถึงแม้วัตถุอวกาศที่ตกมาสู่พื้นโลกจะไม่ได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน แต่กฎหมายอวกาศหรือข้อตกลงทางด้านอวกาศได้มีการกล่าวถึงรายละเอียดของการชดใช้ความเสียหายที่เกิดจากจรวด หรือดาวเทียม หรือสถานีอวกาศ ซึ่งประเทศที่เป็นเจ้าของวัตถุนั้น จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวที่เกิดขึ้น     ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า เรื่องนี้เคยมีการพูดถึงหลายครั้ง โดยเฉพาะกฎหมายอวกาศกับเหตุการณ์แบบนี้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเราอยู่บ่อย ๆ ก็จะขอย้ำว่า สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านอวกาศของสหประชาชาติ มีอยู่ 5 ฉบับ ประกอบด้วย สนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจและการใช้อวกาศภายนอก รวมทั้งดวงจันทร์ และเคหะในท้องฟ้าอื่น ๆ ค.ศ. 1967 อีกฉบับคือความตกลงว่าด้วยการช่วยชีวิตนักอวกาศ การส่งคืนนักอวกาศ และการคืนวัตถุที่ส่งออกไปในอวกาศภายนอก ค.ศ. 1968 อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิด ระหว่างประเทศสำหรับความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศ ค.ศ.1972 อนุสัญญาว่าด้วย การจดทะเบียนวัตถุอวกาศ ค.ศ.1975…