‘แคสเปอร์สกี้’ แนะเคล็ดลับกันภัย ‘QR Codes’ มิจฉาชีพช่วงสงกรานต์

Loading

เคล็ดลับเบื้องต้น สำหรับการป้องกันตัวเองจาก ‘QR Code’ อีกหนึ่งเครื่องมือดิจิทัลที่เพิ่มความสะดวก แต่อาจแฝงมาด้วยอันตราย จากภัยคุกคามไซเบอร์ ที่เหล่ามิจฉาชีพใช้ขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การเงิน หลอกให้ติดตั้งแอปปลอม

ระวัง ‘Fake Trading Apps’ ใน Google Play และ App Store ขโมยเงิน

Loading

ปัจจุบันอัตราการใช้สมาร์ตโฟนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะมีฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตโดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการเปิดเผยให้เห็นแนวโน้มของปริมาณ การซื้อขายแอปพลิเคชัน (app) ปลอมบน Google Play และ App Store ที่ออกแบบมาเพื่อหลอกผู้ใช้งาน

Google เพิ่มความเข้มงวดแอปสินเชื่อบน Google Play

Loading

  กูเกิล (Google) ประกาศใช้นโยบายสำหรับการคัดกรองแอปให้บริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลที่ดำเนินการในไทย ต้องแนบเอกสาร หลักฐานการให้บริการก่อนปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่าน Google Play หวังเสริมความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ ย้ำผู้ใช้งาน Android ระมัดระวังไม่ติดตั้งแอปจากภายนอกสุ่มเสี่ยงการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ   แจ็คกี้ หวาง Country Director , Google ประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายใหม่นี้จะช่วยปกป้องผู้ใช้ในไทยจากการละเมิดที่อาจเกิดขึ้นจากแอปสินเชื่อส่วนบุคคลที่ฉ้อฉล ภายเป้าหมายของกูเกิลในการกำจัดแอปที่ไม่ดีออกจาก Play Store   “การบังคับใช้มาตรการเชิงรุก โดยกำหนดเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับแอปบริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัล จะช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินและปกป้องผู้บริโภค”   สำหรับการปรับปรุงนโยบายบริการทางการเงินของ Google ในครั้งนี้ กำหนดให้แอปที่มีฟีเจอร์ทางการเงินต้องส่งแบบฟอร์มการประกาศฟีเจอร์ทางการเงิน พร้อมด้วยข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติม โดยนโยบายนี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป   ทั้งนี้ นักพัฒนาแอปสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในไทยจะต้องกรอกแบบฟอร์มการประกาศแอปสินเชื่อส่วนบุคคล และส่งเอกสารที่จำเป็นก่อนที่จะเผยแพร่แอป จากนั้นต้องส่งหลักฐานการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้บริการหรือช่วยอำนวยความสะดวกในการให้บริการสินเชื่อดิจิทัลในไทย   ระหว่างนี้แอปสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการในไทยจะถูกนำออกจาก Google Play Store ทันที หากใบอนุญาตการจดทะเบียน หรือการประกาศไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นักพัฒนาแอปจะต้องนำแอปออกจาก…

ระวังแอปดูดเงินปลอม อาละวาด อ้าง Google Play ใช้นามสกุลเว็บ .CC

Loading

สตช. แจ้งเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลโกงของคนร้าย ส่ง sms พร้อมแนบลิ้งก์คุมมือถือ ป้องกันง่ายๆ คือ ไม่เปิดอ่าน หรือ อย่ากดลิ้งก์แปลกปลอม หากต้องการติดตั้งแอป ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Playstore หรือ App Store เท่านั้น พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. กล่าวว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ คดีหลอกลวงให้กู้เงิน คดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) นอกจากนี้ เมื่อช่วงเดือน มีนาคม 2566 – มิถุนายน 2566 สถิติคดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ อยู่ในลำดับที่ 7 แต่ช่วง 2 สัปดาห์นี้ สถิติการรับแจ้งความเพิ่มมากขึ้นจนขยับมาอยู่ลำดับที่ 4   สถิติการรับแจ้งความออนไลน์ในรอบ 2 สัปดาห์…

2 แอปบน Google Play ที่มียอดดาวน์โหลด 1.5 ล้าน ที่แท้เป็นสปายแวร์ขโมยข้อมูล

Loading

    Pradeo บริษัทด้านความมั่นคงไซเบอร์ พบกับ 2 แอปบน Play Store ที่จริง ๆ แล้วเป็นสปายแวร์ขโมยข้อมูล แต่มียอดดาวน์โหลดกว่า 1.5 ล้านครั้ง   2 แอปนี้มีชื่อว่า File Recovery and Data Recovery (com.spot.music.filedate) ที่มียอดติดตั้ง 1 ล้านครั้ง และ File Manager (com.file.box.master.gkd) ที่มียอดดาวน์โหลด 500,000 ครั้ง ซึ่งทั้ง 2 แอปมีผู้พัฒนาเจ้าเดียวกัน   วิธีการทำงานของแอปทั้ง 2 ตัวคือจะหลอกว่าเป็นแอปสำหรับการจัดการและกู้คืนไฟล์ และยังหลอกด้วยว่าไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้   แต่จากการวิเคราะห์ของ Pradeo พบว่าทั้ง 2 แอปนี้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้อย่าง รายชื่อผู้ติดต่อ ข้อมูลผู้ให้บริการเครือข่าย โค้ดเครือข่าย SIM เวอร์ชันระบบปฏิบัติการ ยี่ห้อและโมเดลของอุปกรณ์ และส่งไปยังบรรดาเซิร์ฟเวอร์ในจีนเป็นจำนวนมหาศาล…

2 แอปอันตราย จ้องดูดเงินคริปโต ซ่อนมัลแวร์ ลวงผู้ใช้แอนดรอยด์

Loading

  งานเข้ารัว ๆ Android เจอศึกหนัก พบอีก 2 แอปอันตราย เข้าข่ายกระจายมัลแวร์ SharkBot โทรจันที่มุ่งเป้าขโมยข้อมูลเข้าระบบของแอปสกุลเงินดิจิทัล คริปโตเคอเรนซี   ล่าสุดมีข้อมูลว่าผู้ใช้หลายพันคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง ทันทีที่ Google ออกมาแนะนำให้ผู้ใช้ลบแอปที่ได้รับผลกระทบ ออกจากเครื่องทันที เพื่อป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์เข้าถึงบัญชีของเหยื่อได้   SharkBot ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2018 แต่ล่าสุดกลับมาโผล่บน Google Play โดยซ่อนอยู่ในแอปที่ชื่อว่า “Mister Phone Cleaner” และ “Kylhavy Mobile Security” ที่ขายเรื่องป้องกันภัยจากไวรัส   แต่เมื่อใครก็ตามที่เผยติดตั้งแอปอันตราย 2 ตัวนี้ลงในเครื่อง แอปจะล่อลวงให้ดาวน์โหลดเวอร์ชันป้องกันมัลแวร์ปลอม ที่แฝงอันตรายตามมาด้วย   Google แนะนำให้ผู้ใช้แอนดรอยด์ลบแอปออกจากเครื่องทันที ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ของ Fox-IT ผู้ค้นพบได้รายงานไว้   โดยพฤติกรรมของ Sharkbot จะทำให้สมาร์ทโฟนติดไวรัสเมื่อดาวน์โหลดลงเครื่อง และจ้องขโมยเงินจากบัญชีธนาคารออนไลน์ของผู้ใช้ Android และสร้างหน้าเข้าสู่ระบบปลอม เพื่อให้แฮกเกอร์ขโมยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านได้…