เท็กซัสฟ้อง Google เก็บข้อมูล Biometric ทั้งใบหน้าและเสียงโดยขอความยินยอมไม่ครบถ้วน

Loading

  เท็กซัสฟ้อง Google เก็บข้อมูล Biometric ทั้งใบหน้าและเสียงโดยขอความยินยอมไม่ครบถ้วน   Ken Paxton อัยการสูงสุดรัฐเท็กซัสยื่นฟ้อง Google กล่าวหาว่าบริษัทละเมิดกฎหมายรัฐโดยการเก็บข้อมูลชีวมิติ (biometric) ซึ่งนับเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวที่ต้องขออนุญาตผู้ใช้แยกจากการขอข้อมูลส่วนบุคคลปกติ   คำฟ้องระบุว่า Google ใช้ฟีเจอร์ใน Google Photos, Google Assistant และผลิตภัณฑ์กลุ่ม Nest เพื่อเก็บข้อมูลใบหน้าและการจดจำเสียงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อย่างครบถ้วน และยังนำข้อมูลไปใช้สำหรับจุดประสงค์ทางการค้า เช่น การพัฒนาอัลกอริธึมของปัญญาประดิษฐ์หรือการขายพื้นที่จัดเก็บข้อมูล   คำฟ้องกล่าวว่า การกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดกฎหมาย Capture or Use of Biometric Identifier Act ที่ควบคุมการเก็บข้อมูลชีวมิติ ได้แก่ การสแกนม่านตา, ลายนิ้วมือ, ลักษณะเสียง (voiceprint), ภาพมือหรือใบหน้า โดยองค์กรที่จะเก็บข้อมูลต้องแจ้งผูใช้ และต้องทำลายข้อมูลเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง   ทางฝั่ง Google ออกมาโต้แย้งว่า Google Photos เป็นบริการที่ทำให้ผู้ใช้จัดการรูปภาพได้ง่ายขึ้น และผู้ใช้สามารถปิดการใช้งานได้ง่าย…

Google เผย AudioLM ปัญญาประดิษฐ์สร้างเสียงจนแยกไม่ออกจากต้นฉบับ

Loading

  นักวิจัยจาก Google เผยรายละเอียดของ AudioLM ปัญญาประดิษฐ์ตัวใหม่ที่สามารถสร้างเสียงได้จากการป้อนข้อมูลเข้าไป   AudioLM สามารถสังเคราะห์เสียงที่ซับซ้อนอย่างเพลงที่ใช้เปียโนเล่น หรือแม้แต่เสียงคนคุยกัน ผลก็คือได้เสียงที่มีคุณภาพแทบไม่ต่างจากเสียงจริง ๆ   Google ฝึกปัญญาประดิษฐ์ชนิดนี้ด้วยการป้อนฐานข้อมูลเสียง ซึ่ง AudioLM จะใช้ Machine Learning ในการบีบอัดไฟล์เสียงให้เป็นไฟล์ข้อมูลเสียงชิ้นเล็ก ๆ ที่เรียกว่าโทเค็น ก่อนที่จะป้อนโทเค็นนี้เข้าไปให้โมเดล Machine-Learning เรียนรู้แบบแผนและรายละเอียดปลีกย่อยของเสียงนั้น ๆ   สำหรับการใช้งาน AudioLM ในการสังเคราะห์เสียงนั้น เพียงแค่ป้อนเสียงความยาวไม่กี่วินาทีเข้าไป ตัว AudioLM ก็จะคาดเดาความต่อเนื่องของเสียงที่ควรจะมาหลังจากนั้น โดย AudioLM สามารถสังเคราะห์ได้ทั้งเสียงคนพูดหรือเสียงเครื่องดนตรี จากเสียงต้นฉบับความยาวเพียง 3 วินาที ให้กลายเป็น 10 วินาที โดยไม่ซ้ำรูปแบบกันได้   ทั้งนี้ เราสามารถให้ AudioLM ผลิตเสียงได้โดยไม่ต้องป้อนเสียงเข้าไปก็ได้ แต่ให้ผลิตเสียงจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว   จากตัวอย่าง จะพบว่า AudioLM…

วิธีรับมือกับ “ข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บน Google” ป้องกันมิจฉาชีพนำไปใช้

Loading

  ถ้าสงสัยว่ามีข้อมูลส่วนตัวของตัวเองใน Google หรือไม่ ให้ลองพิมพ์ชื่อ หรือเบอร์โทรศัพท์บน Google หากพบก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลเกี่ยวกับ และข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บนโลกออนไลน์อาจส่งผลให้มิจฉาชีพไปใช้และเกิดอันตรายได้   ตัวอย่างข้อมูลอะไรบ้าง? ที่น่ากังวลหากมีอยู่บน Google –  หมายเลขประจำตัวประชาชนของรัฐบาล (ID) , –  เลขที่บัญชีธนาคาร, –  หมายเลขบัตรเครดิต, –  ลายเซ็น, –  รูปภาพเอกสารประจำตัว, –  ข้อมูลติดต่อส่วนบุคคล (ที่อยู่จริง หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่อีเมล)     วิธีง่ายๆที่สามารถตรวจเช็กก็คือ เข้า Google > ลองพิมพ์ข้อมูลส่วนตัวลงไป เช่น ชื่อ-นามสกุล,บัตรประชาชน และข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ หากพบเจอ ก็สามารถส่งคำขอให้ Google ลบได้โดยวิธีดังนี้ เข้าลิงก์ Google จะพบหน้าดังนี้     คุณยังสามารถขอให้ Google ลบรูปภาพที่ล้าสมัยที่พบใน images.google.com ได้…

เมื่อ TikTok ถูกใช้หาข้อมูลแทน Google! มีรายงานชี้ว่า 1 ใน 5 ของวิดีโอนำเสนอข้อมูลที่ผิด

Loading

  TikTok สำหรับหลายคนเป็นแหล่งรวมวิดีโอสนุก ๆ ไว้ดูคั่นเวลาว่าง เป็นเหมือนพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจเอาไว้สำหรับความบันเทิง ซึ่งตัวแพลตฟอร์มมีอัลกอริทึมที่เรียนรู้ความชอบของผู้ใช้งานแต่ละคนและนำเอาวิดีโอที่คิดว่าเราน่าจะสนใจมาป้อนให้ดูอย่างไม่มีวันหมด (ซึ่งบางทีก็ติดพันดูไปเป็นชั่วโมงได้เหมือนกัน)   แต่อย่างที่เราทราบกันดีครับว่า TikTok ไม่ใช่แหล่งรวมวิดีโอเพื่อความบันเทิงเพียงเท่านั้น มันยังเป็นพื้นที่ของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากที่ต่าง ๆ ทั้งเชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้รวมกันไว้ในนี้ด้วย รายงานล่าสุดของนักวิจัยจาก NewsGuard (เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว) บอกว่า 1 ใน 5 (หรือ 20%) ของวิดีโอบน TikTok นั้นแสดงข้อมูลที่เป็นข่าวปลอมหรือมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง   ยกตัวอย่างถ้าค้นหาเรื่อง ‘mRNA Vaccine’ จะมีวิดีโอที่มีข้อมูลผิด ๆ ขึ้นมาถึง 5 คลิปใน 10 คลิปแรก อย่างเช่นวิดีโอหนึ่งบอกว่าวัคซีน Covid-19 นั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายกับอวัยวะสำคัญของเด็กแบบที่รักษาไม่หาย ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างโดยไม่มีข้อพิสูจน์หรือหลักฐานใด ๆ มาอ้างอิงเลย   แถม TikTok ยังแสดงคำค้นหาที่ส่อถึงอคติอันเอนเอียงด้วยอย่างเช่น ถ้าเราคนหา “Covid Vaccine” อัลกอริทึมของ TikTok ก็จะแนะนำขึ้นมาเพิ่มว่า “Covid…

Google เปิดระบบแจ้งเตือนแผ่นดินไหวให้ใช้งานในไทย

Loading

  Google นำบริการแจ้งเตือนแผ่นดินไหวบนสมาร์ทโฟน Android ในประเทศไทย โดยระบบจะใช้ตัวตรวจวัดความเร่ง (Accelerometer) ที่มีอยู่ในสมาร์ทโฟน Android ในการตรวจจับคลื่นไหวสะเทือน และจะทำการแจ้งเตือนผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ การแจ้งเตือนผ่าน Google Search และการแจ้งเตือนโดยตรงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ Android สำหรับบริการระบบการแจ้งเตือนนี้จะให้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์จริงบน Google Search เมื่อผู้คนค้นหาคำว่า “แผ่นดินไหว” (earthquake) หรือ “แผ่นดินไหว ใกล้ฉัน” (earthquake near me) ระบบจะแสดงผลการค้นหาที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ทั้งนี้ ระบบการแจ้งเตือนแผ่นดินไหวของ Android บนอุปกรณ์เคลื่อนที่จะแสดงการแจ้งเตือน 2 แบบ ขึ้นอยู่กับขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว แบบแรก Be Aware เป็นการแจ้งเตือนให้ผู้คนเฝ้าระวังสถานการณ์เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาด 4.5 หรือมีความรุนแรงระดับ 3 หรือ 4 ตามมาตราเมอร์คัลลี่ที่ปรับปรุงแล้ว (Modified Mercalli Intensity scale หรือ…

Right to be forgotten คำขอร้องเพื่อถูกลืม/Cool Tech จิตต์สุภา ฉิน

Loading

Delete Remove Trash Can Application Graphic Right to be forgotten คำขอร้องเพื่อถูกลืม   เมื่อชีวิตของเราผูกพันกับอินเตอร์เน็ตไปในทุกแง่มุม ทั้งเรื่องงานไปจนถึงเรื่องส่วนตัวจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยหากข้อมูลส่วนตัวบางอย่างของเราอาจจะถูกเผยแพร่ออกไปบนโลกอินเตอร์เน็ตโดยที่เราไม่รู้ตัว   ซ้ำร้ายไปกว่านั้นหากข้อมูลส่วนตัวที่ว่าไปปรากฏอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาของ Google ด้วย ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสที่ข้อมูลของเราจะถูกหยิบฉวยไปใช้ให้กลับมาเป็นโทษต่อตัวเราเองได้   Right to be forgotten หรือสิทธิที่จะถูกลืมเป็นแนวคิดที่มีการพูดถึงและใช้จริงมานานหลายปีแล้ว   สิทธินี้หมายถึงการที่เจ้าของข้อมูลสามารถดำเนินเรื่องร้องขอให้มีการปลดข้อมูลส่วนตัวของตัวเองลงจากผลลัพธ์การค้นหาบนอินเตอร์เน็ตได้   ลองนึกดูว่าหากช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเราเคยตัดสินใจผิดพลาด อาจจะด้วยความเยาว์ในช่วงเวลานั้นหรือการถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายให้เสียหายและมีหลักฐานปรากฏหราอยู่บนอินเตอร์เน็ต ทุกครั้งที่มีคนเสิร์ชชื่อเราซึ่งอาจจะเป็นนายจ้างขององค์กรที่เราไปยื่นใบสมัครงานไว้ หรือแม้กระทั่งคนที่เรากำลังจะไปออกเดตด้วย ผลลัพธ์การค้นหาที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวชีวิตที่น่าอายของเราก็จะปรากฏขึ้นมาให้คนเหล่านั้นได้เห็นก่อนที่พวกเขาจะได้สัมผัสถึงตัวตนที่แท้จริงของเราเสียด้วยซ้ำ   สิทธิที่จะถูกลืมคือการหยิบยื่นโอกาสในการลบอดีตอันน่าอายและไม่เป็นธรรมของเราทิ้งไปและทำให้เราใช้ชีวิตต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยหวาดระแวงอยู่เสมอ   การปลดข้อมูลที่เราต้องการลืมทิ้งไปไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถยื่นเรื่องเพื่อบังคับให้เว็บไซต์ต้นตอลบข้อมูลของเราทิ้งได้ แต่เป็นการขอให้เสิร์ชเอนจิ้นซึ่งรายใหญ่ที่สุดก็คือ Google ช่วยปลดลิงค์เหล่านั้นออกไม่ให้ปรากฏอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาอีกต่อไป   ดังนั้น แม้เว็บไซต์ต้นทางจะยังอยู่ แต่เวลาใครค้นหาชื่อเรา ลิงค์นั้นก็จะไม่ปรากฏขึ้นมาให้คลิกเข้าไปดูได้อีกต่อไป   กรณีที่มีการหยิบยกสิทธิในการถูกลืมมาพูดถึงบ่อยๆ ก็อย่างเช่น สิ่งที่เรียกว่า revenge porn หรือการที่แฟนเก่านำภาพลับในตอนที่ยังคบกันออกมาเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยไม่ได้รับการยินยอม สร้างความอับอายและเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับคนๆ นั้น สิทธิที่จะถูกลืมจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเหยื่อกลุ่มนี้ได้…