กูเกิลส่งคำเตือนให้ผู้ใช้ 50,000 ราย ผู้ตกเป็นเป้าของแฮกเกอร์ที่มีรัฐบาลหนุนหลัง โดยเฉพาะในอิหร่าน

Loading

  ทีม Threat Analysis Group (TAG) ของกูเกิล เผยว่าได้ส่งคำเตือนไปยังผู้ใช้งานกว่า 50,000 ราย ผู้ซึ่งตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มแฮกเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ด้วยวิธีฟิชชิ่งและฝังมัลแวร์ กูเกิลระบุว่าคนที่ได้รับคำเตือน ไม่ได้หมายความว่าบัญชีถูกแฮ็กไปแล้ว เพราะกูเกิลได้จัดการเพื่อหยุดการโจมตีบางอย่างไปแล้ว แต่เป็นการส่งคำเตือนให้รู้ว่าผู้ใช้งานนั้นๆ กำลังตกเป็นเป้าหมาย โดยตัวเลขเป้าหมายโจมตีในปีนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วเกือบ 33% ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มแฮกเกอร์ส่วนใหญ่มาจากรัสเซีย อย่างเช่นกลุ่ม Fancy Bear แต่ล่าสุดไม่ใช่แค่รัสเซีย แต่มีถึงราวๆ 50 ประเทศที่มีกลุ่มแฮกเกอร์ทำงานกันในแต่ละวัน ตัวอย่างกลุ่มแฮกเกอร์ที่กูเกิลหยิบยกมาในครั้งนี้คือ APT35 จากอิหร่าน ที่ทำการฟิชชิ่งเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเลือกตั้งสหรัฐฯ 2020 เป้าหมายคือบุคคลที่ทำหน้าที่หาเสียง หรือทำงานเป็นส่วนหนึ่งในแคมเปญหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อทำการจารกรรมข้อมูลที่ส่งผลประโยชน์ต่อรัฐบาลอิหร่าน วิธีการคือ อัพโหลดแอป VPN ปลอมบน Google Play Store ซึ่งฝังสปายแวร์ เอาข้อมูลจำพวก การโทร ข้อความ ผู้ติดต่อ โลเคชัน ซึ่งกูเกิลบอกว่าได้ลบแอปดังกล่าวทิ้งไปก่อนจะมีใครดาวน์โหลดมันไปใช้ APT35 ยังใช้ API Telegram…

ศาลสหรัฐฯ รับคำฟ้อง “สิริ-กูเกิล” แอบฟังเสียงผู้ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

Loading

  เหล่าบริษัทเทคโนโลยีมีความพยายามมานานที่จะกระตุ้นให้ลูกค้ามีอุปกรณ์ฟังคำสั่งในบ้านและในกระเป๋า และโน้มน้าวอย่างไม่ลดละที่จะให้ลูกค้าพึ่งพาผู้ช่วยคำสั่งเสียงในทุกๆ กิจวัตรประจำวัน แต่กำลังมีความกังวลมากขึ้นว่า อุปกรณ์เหล่านั้นอาจบันทึกเสียงในเวลาที่เราไม่ได้เรียกใช้มันด้วยซ้ำ เมื่อวันพฤหัสบดี (2) ผู้พิพากษาตัดสินว่า แอปเปิลจะต้องต่อสู้กับคำร้องของเหล่าผู้ใช้ในศาลรัฐบาลกลางในแคลิฟอร์เนีย ที่กล่าวหาว่า สิริ ผู้ช่วยคำสั่งเสียงของบริษัททำการบันทึกบทสนทนาส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้พิพากษา ระบุว่า คำฟ้องส่วนใหญ่ยังเดินหน้าต่อได้ ถึงแม้แอปเปิลจะร้องขอให้ปัดตกแล้วก็ตาม ผู้พิพากษา เจฟฟรี เอส.ไวท์ แห่งศาลแขวงรัฐบาลกลางในโอ๊กแลนด์ ปัดตกคำร้องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายทางเศรษฐกิจของผู้ใช้ แต่เขาระบุว่า คำร้องเหล่านั้น ซึ่งกำลังพยายามทำให้การฟ้องร้องครั้งนี้เป็นการฟ้องร้องแบบกลุ่ม ยังสามารถหาข้อพิสูจน์ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า สิริเปิดเองอย่างไม่ถูกต้องและบันทึกการสนทนาที่มันไม่สมควรบันทึกและส่งข้อมูลดังกล่าวไปให้บุคคลที่สาม ซึ่งถือเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ คำฟ้อองนี้เป็นหนึ่งในหลายๆ คำฟ้องต่อแอปเปิล กูเกิล และแอมะซอน ที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยผู้ช่วยคำสั่งเสียง เทคโนโลยีเหล่านั้น ซึ่งมักถูกเรียกในชื่อ สิริ อเล็กซา และกูเกิล ถูกสร้างมาเพื่อช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน มันสามารถเชื่อมต่อกับลำโพงและเปิดเล่นเพลง หรือตั้งเวลา หรือเพิ่มสินค้าลงในรายการสั่งซื้อ บริษัทเหล่านั้นปฏิเสธว่า ผู้ช่วยคำสั่งเสียงไม่ได้ฟังการสนทนาเพื่อจุดประสงค์อื่นใดนอกจากการช่วยทำงานหรือเล่นเพลง โฆษกหญิงของแอมะซอน เฟธ ไอเชน กล่าวในถ้อยแถลงว่า แอมะซอนจะบันทึกเสียงก็ต่อเมื่อตรวจพบ “คำสั่งเรียกใช้” เท่านั้น และจะมีเสียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ถูกนำไปตรวจสอบเอง เธอกล่าวว่า ผู้ใช้สามารถจัดการการบันทึกเสียงและปฏิเสธการตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เมื่อปี…

สกัดข่าวปลอม Google สร้างเครื่องมือใหม่ ให้ผู้ใช้ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง

Loading

  Google สร้างเครื่องมือใหม่ ให้ผู้ใช้ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง   ผลกระทบจากข่าวปลอมบนเว็บไซต์และโซเชียล ทำให้ Google ในฐานะผู้นำ Search engine ออกมาพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยผู้ใช้ตรวจสอบ Fake news หรือข่าวลวงบนออนไลน์ที่เปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วมแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากเรื่องที่แต่งขึ้นได้ ล่าสุด Google ได้แบ่งปันเคล็ดลับในการตรวจสอบข้อมูลที่เป็นเท็จ ที่เปิดให้ทุกคนเข้าถึงได้ ผ่านโครงการ GNI University Verification Challenge ร่วมกับนักศึกษาวารสารศาสตร์ทั่วเอเชีย รวมถึงสำนักข่าวต่างๆ พร้อมเผยเคล็ดลับสังเกตข้อมูลปลอม ข่าวลวงบนโซเชียล แบบง่ายๆ ที่ทำได้เอง ผ่าน 5 เครื่องมือนี้   1. ตรวจสอบข้อเท็จด้วย Fact Check Explorer หากไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่ถูกส่งต่อกันมาบนโซเชียลเป็นเรื่องจริงหรือจ้อจี้ ให้ลองค้นหาด้วย Fact Check Explorer เครื่องมือตรวจสอบข้อเท็จจริง มากกว่า 100,000 รายการ จากผู้เผยแพร่ที่เชื่อถือได้ทั่วโลก แค่เข้าไปเช็คที่ Fact Check Explorer https://toolbox.google.com/factcheck/explorer  …

Google โดนฟ้องร้องกรณี Chrome ติดตามผู้ใช้งานแม้ในโหมดไม่ระบุตัวตน

Loading

  หลังจาก Apple โดนฟ้องร้องในประเด็นที่ iOS 14 มีการใช้ข้อมูลของเจ้าของเครื่องในการโฆษณาบนอุปกรณ์โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ใช้งานทราบล่วงหน้า ล่าสุด Google ก็โดนฟ้องร้องเพิ่มเติมกรณี Chrome แอบติดตามผู้ใช้งานแม้จะเปิดในโหมดไม่ระบุตัวตน (Incognito mode) ก็ตาม คดีดังกล่าวถูกยื่นฟ้องร้องตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาโดยโจทก์ทั้งหมด 3 คนกล่าวว่า Google ดึงข้อมูลของผู้ใช้งานผ่าน Google Analytics, Google Ad Manager รวมถึงแอปพลิเคชันอื่น ๆ, ปลั๊กอินของเว็บไซต์ รวมถึงแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้ใช้งานจะกดโฆษณาของ Google Ads หรือไม่ โดยโจทก์อ้างว่า Google หลอกหลวงให้ผู้ใช้งานเชื่อว่าตนมีอำนาจเหนือข้อมูล และยังมีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานแม้กระทั่งในโหมดไม่ระบุตัวตนด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดกฏหมายอย่างชัดเจน โจทก์กล่าวว่า ความเสียหายนี้ครอบคลุมผู้ใช้งานมากถึงหลักล้านคนนับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนของปี 2016 ซึ่งมีการเสนอค่าเสียหายให้ผู้ใช้งานที่ได้รับความเสียหายในครั้งนี้มากถึง 5,000 ดอลลาร์ต่อคนที่มีการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ด้าน Google พยายามหลกเลี่ยงความผิดในคดีนี้โดยการโยนความรับผิดชอบให้ตกเป็นของผู้ใช้งาน โดยกล่าวอ้างว่าผู้ใช้งานได้ยอมรับเงื่อนไขหรือนโยบายของบริษัทซึ่ง Google ระบุว่าในนโยบายนั้นมีการระบุแนวทางการปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว “บริษัทกล่าวอย่างชัดเจนแล้วว่าโหมดไม่ระบุตัวตน ไม่ได้หมายความว่า หายไปเลย…