ความล่มสลายของซีเรียกับ“สงครามครั้งสุดท้าย”ของมวลมนุษยชาติ!!!

Loading

    ความล่มสลายของรัฐบาลประธานาธิบดี “Bashar al-Assad” แห่งซีเรีย…ว่าไปแล้วคงแทบไม่ต่างไปจากความพังพินาศของรัฐบาล “พันเอกMuhammar Gaddafi” แห่งลิเบียเมื่อช่วงก่อนหน้านี้ เพียงแต่โชคดีอยู่หน่อย…ที่ตัวประธานาธิบดี “Assad” ยังพอหลบรอดหนีไปลี้ภัยอยู่ที่รัสเซียจนได้ ไม่ถึงกับถูกเสียบ ถูกฆ่า อย่างสุดแสนทรมานอย่างผู้นำลิเบีย และไม่ได้เครื่องบินตกเพราะถูกยิง อย่างที่สำนักข่าวตะวันตก “รอยเตอร์-รอยตีน” ได้ออกข่าว “Fakes News” ไปเมื่อวัน-สองวันมานี้ จนทำให้โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย คุณน้อง “Maria Zakharova” เธอเลยอดไม่ได้ต้องออกมาตำหนิติติง แบบชนิดตรงไป-ตรงมา…   แต่เอาเป็นว่า…ความพ่ายแพ้ของประธานาธิบดี “al-Assad” นั้น คงไม่น่าจะมีอะไรมากไปกว่าความหมดใจ ถอดใจ หรือความเหนื่อยแล้ว ไม่เอาแล้ว!!! หลังจากที่ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง แตกแยก ของผู้คนภายในประเทศ จนต้องเกิด “สงครามกลางเมือง” แบบยืดเยื้อ ยาวนานมากว่า 13 ปีเอาเลยถึงขั้นนั้น อีกทั้งโดยตัวของผู้นำซีเรียรายนี้ แต่แรกเริ่มเดิมทีท่านคงไม่คิดจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศที่ถูกฝ่ายตะวันตก “ขีดเส้นแผนที่” ให้ต้องขัดแย้งกับใครต่อใครมาโดยตลอด หรือตามแนวนโยบาย “แบ่งแยกและปกครอง” มาตั้งแต่แรกนั่นเอง คือท่านคิดจะหันไปเอาดีทางเป็นหมอ เป็นแพทย์ อะไรไปโน่น…

สรุปเหตุการณ์ใน ซีเรีย กลุ่มกบฎโค่นรัฐบาลอัล-อัสซาด ยึดเมืองหลวงใน 10 วัน

Loading

  เหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศซีเรียดูจะหายไปจากหน้าสื่อพักใหญ่ จนหลายคนอาจคิดไปว่าสถานการณ์สงบลงแล้วจริง ๆ แต่ล่าสุดกลับปะทุขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อพันธมิตรกลุ่มกบฏซีเรียนำกำลังบุกยึดเมืองอเลปโป เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศในวันที่ 27 พ.ย. 67   ก่อนจะเดินหน้าปฏิบัติการรุกคืบอย่างต่อเนื่อง และสามารถยึดกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของประเทศได้ในวันที่ 8 ธ.ค. 67 ทำให้ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้ครองอำนาจมาอย่างยาวนาน หลบหนีออกนอกประเทศ   ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์ซีเรียนี้ เกิดขึ้นในเวลาเพียง 10 วันเท่านั้น แต่จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งทั้งหมดมาจากไหน ทำไมรัฐบาลถึงถูกโค่นได้ง่ายดายนัก และอนาคตของซีเรียจะเป็นอย่างไร ทีมเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์สรุปมาให้อ่านกัน     การเมืองใน “ซีเรีย” และจุดเริ่มต้นสงคราม   ซีเรียเป็นประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง มีชายแดนทางเหนือติดกับตุรกี ทางใต้ติดกับจอร์แดน ทางตะวันออกติดกับอิรัก และทางตะวันตกติดกับเลบานอน อิสราเอล และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีประชากรราว 20.6 ล้านคน   ซีเรีย มีรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (ตั้งแต่ ค.ศ.1964) โดยอยู่ภายใต้การนำของตระกูลการเมือง “อัล-อัสซาด” มายาวนานกว่า 53…