แฮ็กเกอร์นำข้อมูลพนักงานร้าน IKEA ในตะวันออกกลางไปเผยแพร่บนโลกออนไลน์

Loading

  แก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Vice Society เผยแพร่ข้อมูลทางธุรกิจที่ขโมยมาจาก IKEA สาขาในโมร็อกโก คูเวต และจอร์แดน ไว้บนเว็บไซต์ของแก๊ง ขณะที่ทาง IKEA ออกมายืนยันแล้วว่าถูกขโมยไปจริง   ชื่อไฟล์และโฟลเดอร์สะท้อนให้เห็นว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน รวมอยู่ในข้อมูลที่หลุดออกมาด้วย   IKEA ระบุว่ากำลังร่วมมือกับหน่วยงานและหุ้นส่วนด้านไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องในการสืบสวนกรณีการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น แต่ให้ข้อมูลด้วยว่าร้าน IKEA สาขาในโมร็อกโกและคูเวตดำเนินการโดยบริษัทแฟรนไชส์ในคูเวตเป็นอิสระจากร้าน IKEA อื่น ๆ   Vice Society เริ่มออกอาละวาดมาตั้งแต่ปลายปี 2020 เป็นต้นมา ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับแก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ชื่อว่า HelloKitty เนื่องจากมีการตั้งชื่อไฟล์และกลยุทธ์การโจมตีที่คล้ายคลึงกัน   ที่ผ่านมา Vice Society เน้นโจมตีองค์กรในวงการการศึกษา โดยเคยปล่อยข้อมูลที่ขโมยมาจากเขตการศึกษาลอสแอนเจลิส (LAUSD) เมื่อเดือนกันยายน 2021 ในขณะที่องค์กรค้าปลีกคิดเป็นเพียงร้อยละ 7 ของผู้เสียหายของ Vice Society เท่านั้น   Darkfeed เครื่องมือเฝ้าระวังดีปเว็บเผยว่าบนเว็บไซต์ของ Vice Society…

ระบบอีเมลภายในของอิเกียถูกโจมตีอย่างหนักหน่วง

Loading

  อิเกียเตือนพนักงานเกี่ยวกับกรณีการโจมตีทางไซเบอร์อีเมลฟิชชิ่ง (phishing) มุ่งเป้าไปยังระบบอีเมลภายในบริษัท อีเมลเหล่านี้ยังถูกส่งมาจากองค์กรและหุ้นส่วนทางธุรกิจของอิเกียที่ถูกแฮกด้วยเช่นกัน การทำอีเมลฟิชชิ่งคือการปลอมแปลงอีเมลให้เสมือนว่ามาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ อาทิ เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และองค์กรที่มีตัวตนอยู่จริง เพื่อหลอกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลหรือส่งมัลแวร์เข้าไปยังอุปกรณ์ของผู้รับอีเมล “…การโจมตีอาจกระทำผ่านอีเมลของบุคคลที่ทำงานร่วมกับคุณ หรือองค์กรภายนอก ซึ่งอาจมาในรูปแบบของอีเมลตอบกลับในการสนทนาทางอีเมล ดังนั้นจึงตรวจพบได้ยาก เราจึงอยากให้ขอให้คุณใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ” อิเกียระบุในคำเตือนถึงพนักงาน   ตัวอย่างอีเมลฟิชชิ่งในระบบอีเมลของอิเกีย (ที่มา: Bleeping Computer)   ฝ่ายไอทีของอิเกียยังเตือนให้พนักงานระวังอีเมลที่มาพร้อมกับลิงก์ที่มีตัวเลข 7 หลักต่อท้าย ไม่ว่าจะถูกส่งมาจากผู้ใดทั้งสิ้น หากพบให้แจ้งฝ่ายไอทีทันที และให้แจ้งต่อผู้ส่งผ่านแชต Microsoft Teams ด้วย ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา อาชญากรทางไซเบอร์ได้เริ่มโจมตีระบบเซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange ภายใน โดยใช้ช่องโหว่ ProxyShell และ ProxyLogin ในการทำฟิชชิ่ง เมื่อคนเหล่านี้สามารถเจาะเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้แล้วก็จะทำการโจมตีระบบการโต้ตอบอีเมล (reply-chain) ต่อพนักงานด้วยอีเมลองค์กรที่ขโมยมา นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าผู้รับอีเมลอาจจะปล่อยอีเมลฟิชชิ่งออกจากระบบกักกัน (quarantine) ด้วยความเข้าใจผิดว่าตนเองอาจถูกระบบกักกันตรวจจับโดยผิดพลาด ทำให้ฝ่ายไอทีของอีเกียระงับความสามารถในการส่งออกอีเมลของพนักงาน จนกว่าการโจมตีจะสิ้นสุด “ระบบกรองอีเมลของเราสามารถตรวจจับและกักกันอีเมลอันตรายได้ในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากอีเมลเหล่านี้อาจมาในรูปแบบของการตอบกลับในการตอบโต้ทางอีเมล ผู้รับอาจเข้าใจผิดว่าระบบกรองอีเมลทำงานผิดพลาดได้โดยง่าย”…