ตำรวจจีนปูพรมตรวจหาการใช้ Twitter , Instagram และ Telegram สกัดกั้นการประท้วงต้านนโยบายโควิด

Loading

  ตำรวจในประเทศจีนวางกำลังหลายแห่ง เพื่อตรวจสอบสมาร์ทโฟนของประชาชนว่ามีการใช้งานแอปพลิเคชันต้องห้ามอย่างทวิตเตอร์ , อินสตาแกรม และเทเลแกรม หรือไม่ ภายหลังเกิดการประท้วงต้านนโยบายโควิดต้องเป็นศูนย์ของรัฐบาลจีนอย่างหนัก รายงานของสื่อต่างประเทศหลายสำนัก เปิดเผยว่า ตำรวจในประเทศจีนได้วางกำลังตรวจสอบสมาร์ทโฟนของผู้ที่สัญจรไปมา ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่เคยเป็นจุดประท้วงต่อต้านนโยบายโควิด-19 ของรัฐบาลจีน รวมไปถึงพื้นที่ทางเข้าศูนย์การค้า โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อค้นหาว่ามีการใช้งานแอปพลิเคชันต้องห้ามหรือไม่ ในเวลานี้ประชาชนจำนวนมากในประเทศจีนกำลังเข้าถึงแอปพลิเคชันที่ถูกแบนโดยรัฐบาลจีน โดยแอปพลิเคชันที่ถูกแบนนี้ประกอบไปด้วย ทวิตเตอร์ , อินสตาแกรม และเทเลแกรม ซึ่งแม้ว่าแอปเหล่านี้จะถูกแบนจากรัฐบาลจีนก็จริง แต่ชาวจีนสามารถเข้าถึงการใช้งานแอปพลิเคชันที่ถูกแบนเหล่านี้ภายใต้การใช้งานเครือข่ายเสมือน หรือ VPN (Virtual Private Networks) จนถึงเวลานี้ผู้คนในประเทศจีนจำนวนไม่น้อยอึดอัดกับสถานการณ์การใช้นโยบายสกัดกั้นโควิด-19 อันเข้มงวดของรัฐบาลจีน จึงได้มีการจัดการประท้วง และได้มีการใช้แอปพลิเคชันอย่างเทเลแกรม , ทวิตเตอร์ ไปจนถึงอินสตาแกรม เพื่อสื่อสาร พูดคุย และวางแผนประท้วง รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการประท้วงออกสู่โลกภายนอก ทางด้าน วิลเลียม หยาง ผู้สื่อข่าวจากด็อยท์เชอเว็ลเลอ (Deutsche Welle) รายงานว่า ตอนนี้รัฐบาลจีนได้บันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของใครก็ตามที่มีการติดตั้งแอปพลิเคชันจากต่างประเทศ รวมถึงการใช้ VPN โดยมีการตั้งจุดตรวจในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณถนนสายหลัก และทางเข้าห้างสรรพสินค้า   Sources…

รายงานเผย Facebook และ Instagram เก็บข้อมูลผู้ใช้มากที่สุดในบรรดาแอปโซเชียล

Loading

    Tech Shielder เว็บที่เก็บข้อมูลและวิจัยด้านความปลอดภัย เปิดเผยรายงาน Hack Hotspots ที่รายงานการเก็บข้อมูลของแอปโซเชียลและบันเทิง ที่ได้รับความนิยม รวมถึงแนวโน้มของปริมาณความสนใจในการแฮกแอปเหล่านี้   รายงานเผยว่าแอปในกลุ่ม Meta ล้วนมีการเก็บชุดข้อมูลของผู้ใช้ในสัดส่วนที่สูงที่สุด โดย Facebook และ Messenger เก็บชุดข้อมูลถึง 70% ของจำนวนชุดข้อมูลที่สามารถเก็บได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล รองลงมาเป็น Instagram ที่ 67%, Snapchat 59%, WhatsApp และ Twitter เท่ากันที่ 53%   ขณะที่ในแง่แนวโน้มความสนใจในการแฮกแอปเหล่านี้ Tech Shielder สำรวจง่ายๆ จากปริมาณการเสิร์ชบน Google ด้วยคำเช่นว่า ‘Facebook Hacked’ และพบว่า Facebook มีการค้นหามากที่สุดที่เฉลี่ย 500,000 ครั้งต่อเดือน ตามมาห่าง ๆ ด้วย Instagram 246,000 ครั้ง…

AMBER Alert ไทย ใช้ยังไง ? ระบบช่วยตามหาเด็กหาย-ถูกลักพาตัว ด้วยพลังโซเชียล

Loading

  หลังจาก Meta เปิดตัว AMBER Alert ระบบช่วยตามหาเด็กหาย-ถูกลักพาตัว ด้วยพลังโซเชียล ผ่านการแจ้งเตือนบน Facebook และ Instagram มันใช้ยังไง ?   วิธีการทำงานของระบบ AMBER Alert บนแพลตฟอร์มของ Meta อย่าง Facebook และ Instagram คือ เมื่อตำรวจได้รับแจ้งและวิเคราะห์ข้อมูลของเด็กที่หายไป เช่น การลักพาตัว หากตำรวจตัดสินใจแล้วว่าเคสนี้เร่งด่วน ก็จะส่งให้ศูนย์ประสานงาน Meta ทำการส่งแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในรัสมี 160 กิโลเมตร(100 ไมล์) จากจุดที่ถูกลักพาตัว   โดยภายในแจ้งเตือนจะมีรูป เบาะแสให้สังคมช่วยสังเกตุ เช่น ป้ายทะเบียนรถ ชุดที่เด็กใส่ เป็นต้น และในโพสต์นั้นก็จะมีช่องทางติดต่อเพื่อให้เบาะแสต่าง ๆ ซึ่งหากเราพบเบาะแสก็สามารถส่งข้อมูลตามเบอร์ในโพสต์หรือแจ้งที่สถานีตำรวจท้องถิ่นได้ ถ้าลูกเราหาย ต้องทำอย่างไร ?   ในกรณีที่พบว่าบุตรหลานของเราตกเป็นเหยื่อถูกลักพาตัว ก็สามารถแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจใกล้บ้านได้ทันที และเมื่อตำรวจได้รับแจ้งก็จะเข้าสู่ขั้นตอนสืบสวน ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ร้ายแรงและต้องอาศัยสายตาสอดส่องจากประชาชนเป็นการเร่งด่วน ตำรวจก็จะส่งเรื่องไปยังศูนย์ประสานงานได้ทันที…

Facebook และ Instagram สามารถติดตามผู้ใช้จากเบราว์เซอร์ที่ติดตั้งในแอปได้

Loading

  ถ้าสังเกตให้ดี ในกรณีที่แอป Facebook และ Instagram ได้เปิดลิงก์จากเว็บไซต์อื่นขึ้นมา จะมิได้เยื่อมโยงไปยังแอปเว็บเบราว์เซอร์หลักของอุปกรณ์โดยตรง แต่เป็นการเปิดจากเบราว์เซอร์ที่ติดตั้งในแอป ล่าสุดนักวิจัยนามว่า เฟลิกซ์ เคราซ์ (Felix Krause) ได้เปิดเผยว่า Facebook และ Instagram ได้ใส่โค้ด JavaScript ลงในทุกเว็บไซต์ที่แอปเปิดขึ้นมา ซึ่งทำให้ Meta ซึ่งบริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram สามารถติดตามผู้ใช้ที่เข้าเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ เคราซ์ได้กล่าวว่า “แอป Instagram ได้ใส่โค้ดติดตามผู้ใช้ลงในทุกเว็บไซต์และโฆษณาด้วยที่ปรากฏขึ้นทุกตัว ซึ่งทำให้พวกเขา (หมายถึงทีมงานของ Meta) สามารถติดตามการตอบสนองของผู้ใช้บนเว็บไซต์ได้ได้ เช่น การกดปุ่มหรือลิงก์ , ข้อความที่เลือก , การบันทึกภาพหน้าจอ รวมถึงข้อมูลที่กรอกลงไป เช่น พาสเวิร์ด , ที่อยู่ และหมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น” เคราซ์ได้กล่าวเสริมว่า “โค้ดที่ Facebook และ…

Instagram ใช้ AI ตรวจสอบอายุผู้ใช้งาน ด้วยระบบสแกนใบหน้า

Loading

  อินสตาแกรม (Instagram) ทดสอบระบบตรวจสอบอายุ ด้วยปัญญาประดิษฐ์ เพียงแค่การสแกนใบหน้า โดยได้ทำความร่วมมือกับบริษัทที่มีชื่อว่า Yoti   เป็นที่ทราบดีว่า อินสตาแกรม และบรรดาโซเชียลมีเดียหลายแห่งบนโลก มีข้อจำกัดว่า ผู้ใช้งานจะต้องมีอายุ 13 ปีขึ้นไปจึงเข้าใช้งานได้ อย่างไรก็ดี ในหลายครั้งผู้ใช้งานอายุน้อย เลือกที่จะโกงอายุของตัวเองเพื่อให้มีอายุตรงตามข้อกำหนดการใช้งาน   ดังนั้นแล้ว นั่นจึงเป็นที่มาของการที่อินสตาแกรม ได้พัฒนาระบบตรวจสอบอายุด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดยใช้วิธีการสแกนใบหน้าของผู้ใช้งาน   ในการสแกนใบหน้าด้วยระบบของปัญญาประดิษฐ์ อินสตาแกรมได้ทำความร่วมมือกับบริษัทที่มีชื่อว่า Yoti ซึ่งมีชื่อเสียงและความสามารถในด้านการยืนยันตัวตนออนไลน์ ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง ทั้งรัฐบาลสหราชอาณาจักร และหน่วยงานด้านดิจิทัลของเยอรมนี   ผู้ใช้งานสามารถลองทดสอบอายุของตัวเองได้ที่เว็บไซต์ Yoti   ในส่วนการเก็บข้อมูลใบหน้า ทางเมตา และ Yoti ยืนยันว่าจะไม่มีการเก็บข้อมูลใดๆ หลังการยืนยันตัวตนข้อมูลรูปภาพทั้งหมดจะถูกลบออกจากระบบทันที   สำหรับการยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้าของอินสตาแกรมในเวลานี้ ยังจำกัดวงเฉพาะบัญชีผู้ใช้งานอินสตาแกรมในสหรัฐอเมริกา     ที่มา: Meta       ——————————————————————————————————————————— ที่มา : …