Meta ชี้ว่าแฮกเกอร์เบลารุสพยายามหลอกให้กองทัพยูเครนยอมแพ้

Loading

  Meta ระบุในรายงานความมั่นคงปลอดภัยประจำไตรมาสว่า UNC1151 กลุ่มแฮกเกอร์จากเบลารุสพยายามแฮกเข้าไปยังบัญชี Facebook ของบุคลากรทางการทหารของยูเครนจำนวนมากเพื่อโพสต์วีดิโอเรียกร้องให้กองทัพยูเครนยอมแพ้   การแฮกในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งปฏิบัติการแฮกที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า ‘Ghostwriter’ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลเบลารุส พันธมิตรสำคัญของรัสเซีย   อย่างไรก็ดี ปฏิบัติการแฮกดังกล่าวสามารถเข้าควบคุมได้เพียงไม่กี่บัญชีเท่านั้น และในกรณีที่สามารถควบคุมบัญชีได้และพยายามโพสต์วีดิโอปลอม ทาง Meta ก็สามารถยับยั้งไม่ให้วีดิโอเหล่านี้ถูกนำไปเผยแพร่ต่อได้   นอกจากความพยายามในการแฮกบุคลากรทางการทหารของยูเครนแล้ว รายงานของ Meta ยังได้เผยให้เห็นถึงความพยายามในการโจมตีผู้สนับสนุนยูเครนด้วยวิธีการในทางลับรูปแบบอื่น อย่างหน่วย KGB ของเบลารุสที่พยายามยุยงให้มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลโปแลนด์ (ซึ่งต่อต้านรัสเซียและสนับสนุนยูเครน) ในกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์ แต่โชคดีที่ Meta สามารถปิดบัญชีเจ้าปัญหาได้ทัน   ที่มา The Verge     ————————————————————————————————————————————————– ที่มา : Beartai                 / วันที่เผยแพร่ 10 เม.ย.65 Link…

โคตรเซียน “ไอโอ” คือไอโอรัสเซีย

Loading

ประเทศที่ทำไอโอมากที่สุดในโลกและสำเร็จมากที่สุด รัสเซียทำอย่างไรและกำลังมุ่งไปทางไหน กลยุทธ์การรบแบบสับขาหลอกของรัสเซีย (หรือสหภาพโซเวียตในขณะนั้นฉ ที่โด่งดังมากในช่วงสงครามเย็นคือสิ่งที่เรียกว่า “มาสกิรอฟสกา” (Maskirovka) ซึ่งแปลว่าการอำพราง แต่มันมีความหมายมากกว่านั้น สารานุกรมการทหารของสหภาพโซเวียตในปี 1944 นิยาม “มาสกิรอฟสกา” ว่าเป็นวิธีการรักษาที่มั่นในการปฏิบัติการรบโดยอาศัย “ความซับซ้อนของมาตรการเป็นการชี้นำให้ศัตรูเข้าใจผิด” โดยสรุปก็คือ “มาสกิรอฟสกา” คือการใช้กลยุทธ์อำพราง ซ่อนเร้น หรือแม้แต่การทำแบบเปิดเผยเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด หรือใช้ภาษาชาวบ้านทุกวันนี้ก็คือ “ปฏิบัติการไอโอ” (Information Operations) ในระยะหลัง “มาสกิรอฟสกา” ไม่ใช่แค่การอำพรางในสนามรบ แต่ยังรวมถึงกลยุทธ์การเมืองและการทูตรวมถึงการบิดเบือน “ข้อเท็จจริง” เกี่ยวกับสถานการณ์และการรับรู้ที่จะส่งผลกระทบต่อสื่อมวลชนและความคิดเห็นทั่วโลก เพื่อบรรลุหรืออำนวยความสะดวกในด้านยุทธวิธียุทธศาสตร์ระดับชาติและเป้าหมายระหว่างประเทศ ปฏิบัติการที่ทำให้สื่อและความเห็นสาธารณะเข้าใจผิดคือการปล่อย “ความเท็จ” เพื่อสร้าง “ความจริงใหม่” ทำให้อีกฝ่ายถูกหลอกด้วยข่าวปลอมที่คิดว่าเป็นความจริงจนกระทั่งกลายเป็นหมูในอวยของฝ่ายศัตรู หลังสิ้นสุดสงครามเย็นแล้ว “มาสกิรอฟสกา” หายเข้ากลีบเมฆไปเพราะรัสเซียอ่อนแอลงและโลกไม่ได้เป็นสนามชิงอำนาจของประเทศใหญ่ๆ อีก จนกระทั่งถึงช่วงปลายทศวรรษที่ 2010 “มาสกิรอฟสกา” ก็เริ่มคืบคลานกลับเข้ามาอีก และมันหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ รัสเซียกลับมาแข็งแกร่งมากขึ้ภายใต้การบริหารของวลาดิมีร์ ปูติน ขณะเดียวกันชาติตะวันตกก็พยายามบีบรัสเซียด้วยการรุกคืบเข้าในเขตอิทธิพลเดิมของรัสเซียคือยุโรปตะวันออกและอดีตประเทศในเครือสหภาพโซเวียต เหตุการณ์ที่นำไปสู่การแตกหักคือความวุ่นวายในยูเครน กรณีนี้ทำให้ “กลยุทธ์ไอโอสับขาหลอก” กลับมาผงาดอีกครั้ง มาเรีย สเนโกวายา ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ทำการวิเคราะห์การทำสงครามข้อมูลข่าวสารของปูตินในกรณียูเครนเอาไว้โดยบอกว่ารัสเซียใช้รูปแบบสงครามลูกผสมขั้นสูง (Hybrid warfare) ในยูเครนตั้งแต่ต้นปี 2014 โดยใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “การควบคุมแบบสะท้อนกลับ” “การควบคุมแบบสะท้อนกลับ” (Reflexive Control) คือวิธีการถ่ายทอดข้อมูลไปยังคู่ต่อสู้ โดยใช้ชุดข้อมูลเตรียมไว้เป็นพิเศษเพื่อโน้มน้าวให้เขาตัดสินใจล่วงหน้าโดยสมัครใจตามที่ผู้ริเริ่มปฏิบัติการกระทำต้องการให้เป็นอย่างนั้น สรุปสั้นๆ…

จินตนาการกล่าวหาว่าเป็น IO ของกองทัพ อคติไม่กล่าวถึงขบวนการล้มเจ้าบนโลกไซเบอร์

Loading

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชา Business Analytics and Intelligence และ Actuarial Science and Risk Management คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข วุฒิสภา ผมทราบดีว่ามีขบวนการล้มเจ้าบนโลกออนไลน์ ใช้เงินทุน มีนายทุนและดำเนินการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ใช้การตลาดดิจิทัล และใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) และการตลาดดิจิทัล จำนวนมากมายมีทั้งที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก หรือนักรบไซเบอร์ตัวเล็กตัวน้อยที่เป็นตัวอวตารอยู่มากมาย ตลอดจนมีการสร้างเนื้อหาโดยนักเขียนและสื่อมวลชนชั้นนำ และอินโฟกราฟิกต่าง ๆ ตลอดจนมีวอร์รูมที่ประชุมกันทุกเช้า และทำ social listening อย่างเข้มข้น https://mgronline.com/daily/detail/9630000064482 ที่ดำเนินการอย่างได้ผล จนขบวนการล้มเจ้าขยายตัวและสังคมไทยเกิดความแตกแยกอย่างรุนแรงแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายกษัตริย์นิยม (Royalist) และปฏิกษัตริย์นิยม (Anti-royalist) อย่างที่ไม่เคยแตกแยกรุนแรงเช่นนี้มาก่อนเลย ขบวนการดังกล่าว เล่นหลายหน้าในเวลาเดียวกัน หน้าแรก ทำธุรกิจ โดยเป็น social listening tools ที่เก่งที่สุดของภาษาไทย ที่ต้องใช้ความรู้ด้านการวิเคราะห์เครือข่ายสังคม (Social…