ระบบกฎหมายระหว่างประเทศ เกราะป้องกันสงคราม

Loading

    ระบบกฎหมายระหว่างประเทศ เกราะป้องกันสงคราม – สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 11 ล้านชีวิต และสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียง 20 ปี ได้สังหารชีวิตมนุษย์ไประหว่าง 45-65 ล้านคน แถมด้วยระเบิดนิวเคลียร์ขนาดเล็กอีก 2 ลูกที่ทิ้งลงที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบทเรียนให้โลกเรียนรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อสันดานของประเทศมหาอำนาจแบบดั้งเดิมบวกกับอาวุธที่ทำลายล้างมวลมนุษย์อย่างสูงอย่างอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งย่อมหมายความถึงความพินาศฉิบหายอย่างสุดที่จะจินตนาการได้     หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1945 โลกได้เรียนรู้บทเรียนราคาแพงว่าการขาดระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่คร่าชีวิตผู้คนนับสิบล้าน การก่อตั้งสหประชาชาติ (UN) และสนธิสัญญาสำคัญ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter) ได้วางรากฐานให้กับระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายป้องกันสงครามและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ   ถึงแม้ว่าระบบนี้จะไม่สมบูรณ์แบบ และหลายครั้งถูกละเมิดโดยมหาอำนาจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันสามารถรักษาสันติภาพระหว่างมหาอำนาจมาได้กว่า 80 ปีแล้ว โดยเฉพาะการป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งหากเกิดขึ้นก็อาจเป็นจุดจบของอารยธรรมมนุษย์   ความเปราะบางของกฎหมายระหว่างประเทศในทางปฏิบัติจะมีลักษณะที่เปราะบาง เพราะไม่มี “ตำรวจโลก” คอยบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศโดยตรง การเคารพหรือไม่เคารพกฎหมายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเจตจำนงของรัฐและแรงกดดันจากประชาคมระหว่างประเทศ บ่อยครั้งที่มหาอำนาจเช่นสหรัฐอเมริกา…

ครั้งสำคัญ! IAEA บรรลุข้อตกลงกับ “อิหร่าน” กลับมาเข้าถึง “กล้องมอนิเตอร์” ที่โรงงานนิวเคลียร์เตหะรานได้อีกครั้ง

Loading

  เอเอฟพีรายงานวันนี้ (13 ก.ย.) ว่า ราฟาเอล โกรสซี (Rafael Grossi) ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ IAEA เพิ่งเดินทางกลับออกมาจากอิหร่านในวันอาทิตย์ (12) หลังจากที่เขาประสบความสำเร็จบรรลุข้อตกลงใหม่ทางนิวเคลียร์ร่วมกับโมฮัมเหม็ด อิสลามี (Mohammad Eslami) ผู้อำนวยการคนใหม่ขององค์การนิวเคลียร์เพื่ออิหร่าน อ้างอิงจากอัลญะซีเราะฮ์ สื่อกาตาร์พบว่า เขาเดินทางเข้ากรุงเตหะรานในคืนวันเสาร์ (11) และพบกับอิสลามี ในเช้าวันอาทิตย์ (12) เป็นครั้งแรกที่โกรสซี เดินทางมาที่อิหร่านในรัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดีอิหร่าน อิบราฮิม ไรซี (Ebrahim Raisi) ผู้ซึ่งแต่งตั้งอิสลามีเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าองค์การนิวเคลียร์ของเตะรานเมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายเรียกการหารือว่าสร้างสรรค์และตกลงร่วมกันที่จะยังคงหารือร่วมกันต่อไปในการประชุมรอบนอกของการประชุมใหญ่ของ IAEA ที่กรุงเวียนนา ออสเตรีย ในเดือนนี้ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้ตกลงร่วมกันว่า โกรสซี จะเดินทางกลับมาที่กรุงเตหะรานอีกครั้งในไม่ช้าเพื่อเปลี่ยนเมโมรีการ์ดของกล้องมอนิเตอร์ของ IAEA ที่โรงงานนิวเคลียร์อิหร่าน สำหรับเมโมรีการ์ดนี้จะต้องถูกเก็บอยู่ที่อิหร่านสอดคล้องกับกฎหมายใหม่ที่ผ่านโดยรัฐสภาเตหะรานเมื่อธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งเตหะรานเคยกล่าวไว้มาตั้งแต่กุมภาพันธ์ต้นปีว่า จะทำการส่งมอบเมโมรีการ์ด หรือเทปบันทึกเหล่านี้ให้ทาง IAEA หลังจากที่มีการบรรลุข้อตกลงที่กรุงเวียนนาระหว่างเตหะรานและเหล่าชาติมหาอำนาจในการนำข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านปี 2015 ที่รู้จักในนาม JCPOA กลับคืนมาอีกครั้ง…