แคสเปอร์สกี้ พบการโจมตีออนไลน์ในไทยลดลง ภัยคุกคามออฟไลน์กลับเพิ่มขึ้น

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ปี 2023 ของไทย ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บที่มีเป้าหมายโจมตีผู้ใช้เกือบ 13 ล้านรายการ   ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่เกิดและพบบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการรายงานจากสื่อต่างๆ การโจมตีทางไซเบอร์เหล่านี้ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ซึ่งเก็บข้อมูลส่วนบุคคล หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งที่ผ่านมาภัยคุกคามทางไซเบอร์สร้างความเสียหายทั้งต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ ธุรกิจเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้นทุกที   ในปี 2023 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการคุกคามเว็บจำนวน 12,923,280 รายการบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในประเทศไทยที่เข้าร่วม Kaspersky Security Network (KSN) ซึ่งมีสัดส่วนน้อยกว่าปีที่แล้ว 25.28% (17,295,702 รายการ)   การโจมตีผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เป็นวิธีการหลักในการแพร่กระจายโปรแกรมที่เป็นอันตราย การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในเบราว์เซอร์และปลั๊กอิน (ไดรฟ์บายดาวน์โหลด) รวมถึงวิศวกรรมสังคม เป็นวิธีที่อาชญากรไซเบอร์ใช้ในการเจาะระบบโดยทั่วไปมากที่สุด   แคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์โจมตีแบบออฟไลน์จำนวน 22,268,850 รายการ ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าปีที่แล้ว 4.36% (22,268,850 รายการ)   โดยส่วนใหญ่แล้ว เวิร์มและไฟล์ไวรัสเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในเครื่อง ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความถี่ที่ผู้ใช้ถูกโจมตีโดยมัลแวร์ที่แพร่กระจายผ่านไดรฟ์ USB แบบถอดได้ ซีดี…

ระวัง!! ภัยร้ายไซเบอร์ ป่วนหนักยิ่งกว่าเดิม

Loading

  “แคสเปอร์สกี้” เตือนภัย อันตรายทางไซเบอร์จะยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้นในปี 2024 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฟิชชิ่ง กลโกง การละเมิดข้อมูล การโจมตี APT แรนซัมแวร์ รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีแรงจูงใจจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์การเมือง   Keypoints : •  ขับเคลื่อนด้วย “ความก้าวหน้าด้านดิจิทัล” และ “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์” •  ผู้คนหลายแสนคนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมปฏิบัติการหลอกลวงออนไลน์ •  ผู้ก่อภัยคุกคามมักใช้เทคนิควิศวกรรมสังคมที่ซับซ้อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย •  บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก “แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky)” เปิดคาดการณ์ภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ปีนี้ โดยระบุว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ จะขับเคลื่อนด้วย “ความก้าวหน้าด้านดิจิทัล” อย่างรวดเร็วและ “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์”   วิทาลี คัมลัก หัวหน้าศูนย์วิจัยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลก (GReAT) แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียแปซิฟิกยังคงเติบโตอย่างทวีคูณ และคาดว่าจะรักษาโมเมนตัมเอาไว้ได้ในอีกห้าปีข้างหน้า   ด้วยความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมถึงการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เช่น การชำระเงินดิจิทัล, Super…

‘แคสเปอร์สกี้’ เตือนภัยแฝงในเงามืด ‘อุปกรณ์ไอที’ ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ

Loading

  ปัจจุบัน ธุรกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการโจมตีไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มการใช้งานอุปกรณ์ไอทีจากภายนอกองค์กรและจากพนักงานเอง   ผลการวิจัยล่าสุดจาก “แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky)” พบว่า สองปีที่ผ่านมา ธุรกิจ 77% ได้รับความเสียหายจากการโจมตีไซเบอร์ โดยที่ธุรกิจ 11% ที่ถูกโจมตีมีสาเหตุมาจากการใช้งานอุปกรณ์ไอทีที่ยังไม่ผ่านการตรวจรับรองของบริษัท   โดย ธุรกิจทั่วโลก 11% ที่เป็นเป้าการโจมตีทางไซเบอร์นั้นมีสาเหตุมาจากที่พนักงานใช้งานอุปกรณ์ไอทีจากภายนอกระบบ ซึ่งสามารถจำแนกผลกระทบจากการใช้งานอุปกรณ์ไอทีนอกระบบได้ตามความรุนแรงของความเสียหาย ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ทั้งการรั่วไหลของข้อมูลลับเฉพาะและความเสียหายต่อธุรกิจ   ไอทีนอกระบบคืออะไร : คำว่าไอทีนอกระบบ หรือ Shadow IT หมายถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่อยู่นอกขอบเขตการเฝ้าระวังของฝ่ายไอทีและฝ่ายรักษาความปลอดภัยข้อมูล   เช่น แอปพลิเคชัน อุปกรณ์ต่าง ๆ บริการคลาวด์สาธารณะ และอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้นำมาผนวกเข้ากับนโยบายรักษาความปลอดภัยข้อมูลของทางธุรกิจ การนำไอทีนอกระบบมาใช้งานหรือปฏิบัติงานบนระบบดังกล่าว สามารถนำไปสู่ผลเสียหายทางธุรกิจได้   งานวิจัยของแคสเปอร์สกี้พบด้วยว่ามีเหตุการณ์ความเสียหายเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งเผยให้เห็นว่าอุตสาหกรรมไอทีตกเป็นเป้าการโจมตีอย่างหนัก ในช่วงปี 2565 – 2566   ข้อมูลระบุว่า ความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ 16% เกิดจากการใช้งานไอทีนอกระบบ…

‘ค้าปลีก’ ในเอเชียแปซิฟิก เหยื่อถูกโจมตีหนัก เหตุขาดงบความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

  แคสเปอร์สกี้ชี้ อุตสาหกรรมค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกโดนโจมตีหนัก เหตุขาดงบด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ขณะที่ องค์กรโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ‘น้ำมัน และก๊าซ’ รวมถึงองค์กรด้านพลังงาน ต่างประสบปัญหาทางไซเบอร์จำนวนมากที่สุด   จากการศึกษาล่าสุดของ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) สำหรับสถิติระดับโลก พบว่า องค์กรโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ น้ำมันและก๊าซ รวมถึงองค์กรด้านพลังงาน ต่างประสบปัญหาทางไซเบอร์จำนวนมากที่สุด เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เหมาะสม (25%) อย่างไรก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก็ประสบกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มากที่สุดในช่วง 24 เดือนที่ผ่านมา   การสำรวจล่าสุดยังเผยให้เห็นว่าบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 19% ประสบปัญหาทางไซเบอร์ เนื่องจากการลงทุนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่เพียงพอในช่วงสองปีที่ผ่านมา เมื่อพูดถึงเรื่องการเงินของบริษัท เกือบหนึ่งในห้า (16%) ยอมรับว่า ไม่มีงบประมาณสำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพียงพอ   แคสเปอร์สกี้ ได้ทำการศึกษา เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยด้านไอทีที่ทำงานให้กับ SME และเอ็นเตอร์ไพรซ์ต่าง ๆ ทั่วโลก เกี่ยวกับผลกระทบของมนุษย์ต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ในบริษัท การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มคนต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์   โดยพิจารณาทั้งพนักงานภายในและผู้รับเหมาภายนอก นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ผลกระทบที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจมีต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ในแง่ของการจัดสรรงบประมาณ มีการสำรวจผู้ตอบแบบสำรวจจากเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด 234 ราย…

ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิคิวริตี้ เผย SMEs ถูกโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุด พร้อมแนะเคล็ดลับแก้จบใน 1 ชม.

Loading

ในโลกธุรกิจปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล การทำธุรกรรมต่างๆ อยู่บนออนไลน์มากยิ่งขึ้น รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ธุรกิจ SMEs ต้องปรับตัว มีการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน ทั้งเป็นช่องทางในการขายและให้บริการลูกค้า หลายองค์กรนำระบบงานภายในมาใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งถ้าการรักษาความปลอดภัยไม่ดีพอจะกลายเป็นช่องโหว่ให้ถูกโจมตีเข้ามาในระบบงานได้ง่าย

‘Telegram’ เสี่ยง!! โดนมัลแวร์ ‘WhatsApp mod’ สายลับสอดแนมอันตรายตัวใหม่

Loading

แคสเปอร์สกี้เผยตัวเลขการโจมตี Telegram โดยใช้ WhatsApp mod ตัวใหม่ มากกว่า 340,000 รายการในหนึ่งเดือน ม็อด (mod) หรือตัวดัดแปลงโปรแกรม WhatsApp ที่ทำหน้าที่เป็นสายลับสอดแนมอันตรายตัวใหม่ กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก มัลแวร์ ตัวสอดแนมนี้ ล้วงข้อมูลไปมากกว่า 3 แสนรายการ