แฮ็กเกอร์เกาหลีเหนือ 2 กลุ่มแฮ็กบริษัทขีปนาวุธรัสเซีย

Loading

  นักวิจัยจาก SentinelOne ชี้แฮ็กเกอร์ 2 กลุ่มที่รัฐบาลเกาหลีเหนือหนุนหลังเข้าแฮ็ก NPO Mash บริษัทวิศวกรรมขีปนาวุธจากรัสเซียตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว   NPO Mash หรือชื่อเต็มคือ NPO Mashinostroyeniya ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองรอยตอฟ ใกล้กับกรุงมอสโกถูกกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ชื่อว่า ScarCruft และ Lazarus แฮ็กมาตั้งแต่อย่างน้อยในปี 2021   บริษัทแห่งนี้เป็นผู้นำในด้านการผลิตขีปนาวุธและยานอวกาศให้แก่กองทัพรัสเซียและครอบครองข้อมูลละเอียดอ่อนขั้นสูงเกี่ยวกับเทคโนโลยีขีปนาวุธ   SentinelOne พบข้อมูลการแฮ็กนี้เมื่อเจอเข้ากับชุดข้อมูลการสื่อสารภายในที่เจ้าหน้าที่ไอทีของ NPO Mash ทำหลุดออกมาระหว่างการตรวจสอบการแฮ็กโดยเกาหลีเหนือ ซึ่ง NPO Mash พบการโจมตีนี้มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว   การตรวจสอบพบว่า ScarCruft ได้เข้าเจาะเซิร์ฟเวอร์อีเมล Linux ของ NPO Mash ขณะที่ Lazarus แอบฝังแบ็กดอร์หรือทางลัดดิจิทัลที่ชื่อ OpenCarrot ในเครือข่ายภายในของบริษัท   สำหรับ ScarCruft (หรือ APT37) เกี่ยวข้องกับกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ (MSS) ของเกาหลีเหนือ…

สุดเสี่ยง!!! เอเชียแปซิฟิก’ พื้นที่เป้าหมายภัยคุกคามออนไลน์

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานล่าสุดเรื่องรูปแบบแนวโน้มของ APT (Advanced Persistent Threats) ของไตรมาสที่สองของปี 2023 ขณะที่ ‘เอเชียแปซิฟิก’ ยังเป็นพื้นที่ ถูกคุกคามจากภัยออนไลน์ตัวใหม่ ๆ   แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานล่าสุดเรื่องรูปแบบแนวโน้มของ APT (Advanced Persistent Threats) หรือ การโจมตีแบบระบุเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นการโจมตีของภัยคุกคามขั้นสูง ของไตรมาสที่สองของปี 2023   นักวิจัยแคสเปอร์สกี้ได้วิเคราะห์ รวมไปถึงการสร้าง มัลแวร์ สายพันธุ์ใหม่ และการใช้เทคนิคใหม่ๆ ของ อาชญากรไซเบอร์ โดยเฉพาะ เรื่องสำคัญคือแคมเปญการโจมตีที่มีความซับซ้อน ชื่อว่า “Operation Triangulation” ที่ดำเนินการใช้แพลตฟอร์มมัลแวร์ iOS มายาวนานโดยไม่มีใครรู้จักมาก่อน   ข้อมูลสำคัญจากรายงาน APT ไตรมาส 2 ได้แก่   •  เอเชียแปซิฟิกเป็นพื้นที่ถูกคุกคามตัวใหม่ “Mysterious Elephant”…

ผู้เชี่ยวชาญพบ Lazarus กลุ่มแฮ็กเกอร์เกาหลีเหนืออยู่เบื้องหลังการโจมตีสถาบันวิจัยและองค์กรด้านการแพทย์หลายแห่ง

Loading

    WithSecure บริษัทด้านไซเบอร์พบว่าปฏิบัติการสอดแนมทางไซเบอร์ที่บริษัทตั้งชื่อให้ว่า No Pineapple! แท้จริงแล้วมี Lazarus กลุ่มแฮกเกอร์จากเกาหลีเหนืออยู่เบื้องหลัง   No Pineapple! สามารถขโมยข้อมูลขนาด 100 กิกะไบต์จากเป้าหมายได้อย่างลับ ๆ ด้วยการใช้ช่องโหว่ของเซิร์ฟเวอร์อีเมล Zimbra โดยที่ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับเหยื่อแต่อย่างใด   ช่องโหว่ทั้ง 2 ตัวที่ว่านี้คือ CVE-2022-27925 ที่เป็นช่องทางเปิดใช้โค้ดจากระยะไกล และ CVE-2022-37042 ที่เปิดโอกาสในการทะลุการระบุตัวตนได้ ทั้งนี้ ล่าสุดช่องโหว่ทั้ง 2 ตัวนี้ได้รับการแก้ไขไปแล้ว   โดยปฏิบัติการนี้เกิดขึ้นระหว่างช่วงเดือนสิงหาคมจนถึงพฤศจิกายน 2022 และมุ่งเป้าไปที่องค์กรด้านการแพทย์ วิศวกรรมเคมี พลังงาน การทหาร และสถาบันวิจัย   WithSecure สามารถเชื่อมโยง No Pineapple! เข้ากับ Lazarus โดยอาศัยหลักฐานหลายอย่าง ขณะที่ก็ใช้การเฝ้าดูกลยุทธ์และรูปแบบการโจมตีด้วย เช่น การใช้ที่อยู่ไอพีที่ไม่มีชื่อโดเมน และการใช้มัลแวร์ Dtrack และ GREASE…