ไมโครซอฟท์รายงานกลุ่มแฮ็กเกอร์เกาหลีเหนือ ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สโจมตีเหยื่อ

Loading

  ไมโครซอฟท์รายงานถึงกลุ่มแฮ็กเกอร์ ZINC ที่มีฐานอยู่ในเกาหลีเหนือพยายามโจมตีองค์กรจำนวนมาก ทั้งในสหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, อินเดีย, และรัสเซีย โดยอาศัยการหลอกเหยื่อประกอบกับการแปลงโปรแกรมโอเพนซอร์สที่ใช้งานได้จริง แต่มีฟีเจอร์มุ่งร้ายฝังอยู่ภายใน   ช่วงเริ่มต้นกลุ่ม ZINC จะแสดงตัวเป็นฝ่ายบุคคลที่ตามหาผู้สมัครให้กับบริษัทใหญ่ๆ แล้วติดต่อเหยื่อผ่านทาง LinkedIn จากนั้นจะพยายามหลอกล่อให้เหยื่อไปคุยกันผ่านทาง WhatsApp และส่งโปรแกรมให้เหยื่อ โดยโปรแกรมทำงานได้ตามปกติแต่แอบติดต่อเซิร์ฟเวอร์ของคนร้ายเพื่อขโมยข้อมูล   โปรแกรมหนึ่งที่คนร้ายใช้คือ KiTTY ที่ใช้สำหรับติดต่อเซิร์ฟเวอร์ด้วยโปรโตคอล Secure Shell ตัวโปรแกรมที่คนร้ายดัดแปลงยังคงใช้งานได้ แต่จะเก็บข้อมูลชื่อเครื่อง, ชื่อผู้ใช้, และรหัสผ่าน ส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ของคนร้าย หรือโปรแกรม TightVNC ที่ถูกดัดแปลงให้ส่งข้อมูลกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์เช่นกัน   ไมโครซอฟท์เปิดเผยรายชื่อไอพีเซิร์ฟเวอร์ของคนร้าย, รายการค่าแฮชของโปรแกรมที่คนร้ายดัดแปลงแล้ว, และโดเมนต่างๆ ที่คนร้ายแฮก พร้อมกับแนะนำให้บล็อกอินเทอร์เน็ตไม่ให้เชื่อมต่อไปยังเครื่องในรายกร และแนะนำให้เปิดใช้การล็อกอินสองขั้นตอนเพื่อป้องกันการโจมตีในกรณีเช่นนี้ที่คนร้ายขโมยรหัสผ่านออกไปได้     ที่มา – Microsoft       —————————————————————————————————————————————————- ที่มา :       …

พบข้อมูลผู้ใช้ LinkedIn กว่า 827 ล้านรายการ ถูกเร่ขายในเว็บไซต์กลุ่มแฮ็กเกอร์

Loading

  ในเว็บไซต์ของเหล่าแฮ็กเกอร์มีการโพสต์เร่ขายข้อมูลที่อ้างว่าเป็นผู้ใช้งาน LinkedIn จำนวนกว่า 827 ล้านรายการ   จากข้อมูลพบแฮ็กเกอร์ 2 กลุ่มที่ขายข้อมูลผู้ใช้ LinkedIn โดยหนึ่งในนั้นได้นำเสนอฐานข้อมูล 7 ตัวที่มีข้อมูลผู้ใช้กว่า 827 ล้านรายการ ทั้งนี้สนนราคาอยู่ที่ราว 7,000 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับข้อมูลที่พบประกอบด้วย อาชีพ, ชื่อจริง, บริษัท, เว็บไซต์บริษัท, อีเมล, ลิงก์ไปยังโปรไฟล์, วันเริ่มทำงาน ,จำนวน Connection, หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่   อย่างไรก็ดีเมื่อทีมงาน LinkedIn ตรวจสอบพบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลสาธารณะและมีการประกบกับข้อมูลจากเว็บไซต์หลายแห่งหรือบริษัทเข้ามาด้วย ทั้งนี้ข้อมูลของผู้ใช้ที่ปิดเป็นส่วนตัวไว้ยังปลอดภัยดีเพราะบริษัทไม่ได้ทำข้อมูลรั่วไหลหรือถูกแฮ็กแต่อย่างใด โดยทีมงานตั้งใจที่จะสร้างมาตรการป้องกันข้อมูลของผู้ใช้ สำหรับผู้สนใจอ่านถ้อยแถลงของทีมงานสามารถเข้าไปดูประกาศได้ที่ https://news.linkedin.com/2021/april/an-update-from-linkedin   ถือว่าเป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงนี้เลยนะครับ กับการที่คนร้ายทำ Data Scraping จากโปรไฟล์ในอินเทอร์เน็ต แล้วมาเร่ขายต่อ เมื่ออาทิตย์ก่อนก็มีแจกฟรีข้อมูลผู้ใช้ Facebook กว่า 533 ล้านรายที่พบว่าออกมาตั้งแต่ 2 ปีก่อน (https://www.techtalkthai.com/533-millions-records-of-facebook-users-can-download-for-free-on-hacker-forums/) หรือล่าสุดไม่กี่วันก่อนมีการเร่ขายข้อมูลผู้ใช้…