Meta ยอมจ่าย 725 ล้านเหรียญเพื่อยุติคดีข้อมูลหลุดไปยังบริษัท Cambridge Analytica

Loading

  Meta ได้ยินยอมจ่ายเงิน 725 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อยุติคดีที่บริษัทถูกฟ้องร้องมาตั้งแต่ปี 2018 จากเหตุข้อมูลผู้ใช้หลุดไปยังบริษัทวิจัยสัญชาติอังกฤษ Cambridge Analytica   คดีนี้เกิดจากการที่กลุ่มผู้ใช้ Facebook ได้ยื่นฟ้องร้องแบบกลุ่มต่อศาลรัฐบาลกลางของเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย หลังจากมีการเปิดเผยว่า Meta ได้ให้ข้อมูลผู้ใช้มากถึง 87 ล้านบัญชีกับ Cambridge Analytica ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยที่ให้บริการพรรคการเมืองทั่วโลกเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคะแนนเสียงและความนิยมในแง่มุมต่างๆ   ฝั่งโจทก์เผยรายละเอียดข้อตกลงยุติคดีต่อศาลว่า นับตั้งแต่มีการฟ้องร้อง Meta ได้ยกเลิกการอนุญาตให้บุคคลที่สามเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ผ่านคนรู้จักที่สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ของบริษัทได้ นอกจากนี้ ยังควบคุมและดูแลข้อมูลอย่างเข้มงวดมากขึ้นและปรับปรุงวิธีการแจ้งผู้ใช้ว่าข้อมูลใดจะถูกจัดเก็บและส่งต่อบ้าง   นอกจากนี้ ฝ่ายโจทก์กล่าวว่า กรณีนี้ถือว่าเป็นการชดเชยความเสียหายครั้งใหญ่ที่สุดในการฟ้องร้องแบบกลุ่มในเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและเป็นจำนวนเงินมากที่สุดที่ Facebook เคยจ่ายเพื่อยุติคดีฟ้องร้องแบบกลุ่ม ทั้งนี้ แม้ว่าจำนวนเงินจะดูเป็นจำนวนที่สูงมาก แต่กลุ่มผู้เสียหายรวมก็เป็นกลุ่มผู้ใช้ Facebook ในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2007-2022 รวมหลายร้อยล้านคน ทำให้ค่าเสียหายที่ได้รับจริงก็น่าจะคนละไม่มากนัก     ที่มา: Bloomberg       ————————————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : …

Meta เปิดตัวเครื่องมือจัดการเนื้อหาใหม่ พร้อมเปิดเป็นโอเพนซอส รับมือเนื้อหาก่อการร้าย

Loading

  Meta ออกซอฟต์แวร์ใหม่ที่ใช้ดูแลเนื้อหาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เครื่องมือนี้มีชื่อว่า Hasher-Matcher-Actioner (HMA) ใช้เพื่อจัดการกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายและความรุนแรงบนโซเชียลมีเดีย   รวมทั้ง ในเดือนหน้า Meta จะขึ้นเป็นประธานองค์กรไม่แสวงผลกำไร Global Internet Forum to Counter Terrorism (GIFCT) ที่มีบริษัทเทคโนโลยีมาร่วมมือกันเพื่อรับมือกับเนื้อหาความรุนแรงบนแพลตฟอร์มออนไลน์   Meta เผยว่ากำลังเตรียมเปิดให้เครื่องมือดังกล่าวเป็น open source ฟรีเพื่อให้บริษัทอื่น ๆ รวมถึงบริษัทเล็กนำไปใช้ได้ โดยเครื่องมือนี้สามารถจัดการกับเนื้อหาความรุนแรงทั้งในรูปแบบภาพและวิดีโอได้   โดย Meta ได้ใช้เงินราว 5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้วเพื่อดำเนินการเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล และใช้คนกว่า 40,000 คนในการพัฒนาและดูแลเครื่องมือนี้     ที่มา: Meta       ————————————————————————————————————————- ที่มา :               …

Meta โดนปรับอีก ฐานละเมิดข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ จ่าย 265 ล้านยูโร

Loading

  [วันนี้ที่ (ไม่) รอคอย] ย้อนกลับไปในเดือนเมษายนปีก่อน พบข้อมูลผู้ใช้ Faecbook หลุดในเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นจำนวนนับร้อยล้าน และพบด้วยว่าเหตุเกิดตั้งแต่ปี 2019 เป็นเหตุให้ Facebook อาจต้องชดใช้เป็นการใหญ่ จนล่าสุดมีการตัดสินแล้วว่า Meta หรือเจ้าของ Faecbook ในปัจจุบัน ต้องจ่ายเงินชดเชยถึง 265 ล้านยูโร คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลของไอร์แลนด์ (DPC) สั่งปรับ Meta เป็นจำนวนเงินถึง 265 ล้านยูโร หรือประมาณ 9,800 ล้านบาท ฐานละเมิดข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ โดยปล่อยให้ข้อมูลสำคัญของผู้ใช้ Facebook ไม่ว่าจะเป็น เบอร์โทร วันเกิด อีเมล และตำแหน่งที่อยู่ (อาจรวมถึงชื่อผู้ใช้ด้วย) หลุดในเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นจำนวนถึง 533 ล้านคน เปิดทางผู้ไม่หวังดี นำไปยิง [ฟิชชิงเมล] และการโจมตีอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ทาง DPC ระบุอีกว่า ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook ที่หลุดออกไปนั้น…

Meta ลงโทษพนักงานและไล่ออกกว่า 20 ราย พบขายบัญชีผู้ใช้ให้แฮ็กเกอร์

Loading

  เอกสารภายในบริษัทและแหล่งข่าวของ Wall Street Journal ระบุว่า Meta ได้จัดการกับพนักงานกว่า 20 รายด้วยการไล่ออกหรือลงโทษทางวินัยเมื่อปีที่แล้ว หลังพบว่าพนักงานควบคุมบัญชีผู้ใช้งาน Facebook และ Instagram ขายบัญชีผู้ใช้ให้กับแฮ็กเกอร์   พนักงานที่ถูกลงโทษบางส่วนทำงานเป็นผู้ดูแลศูนย์บริการของ Meta และได้นำข้อมูลบัญชีผู้ใช้ออกไปให้บุคคลที่สามผ่านทางระบบที่เรียกเป็นการภายในบริษัทว่า Oops ย่อมาจาก Online Operations ที่ Meta อนุญาตให้พนักงานสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อจัดการกับข้อมูลผู้ใช้ได้ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการความช่วยเหลือ เช่น ต้องการรีเซ็ตรหัสผ่าน หรือเมื่อบัญชีถูกแฮก   การขโมยข้อมูลผู้ใช้มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการติดสินบนและขายบัญชีให้แฮกเกอร์นำไปขายต่อซึ่งมีมูลค่าเป็นหมื่นเหรียญสหรัฐ หรือในรูปแบบบริษัทกลางหรือคนกลางรับจ้างรีเซ็ตบัญชีที่ไปจ้างพนักงานภายใน Meta อีกทอดหนึ่ง บางกรณีเป็นคนใกล้ตัวที่พนักงานไว้ใจที่มาจ้างให้รีเซ็ตบัญชีของบุคคลที่สามให้ นอกจากนี้ ยังมีการปรับเปลี่ยนวิธีการขโมยข้อมูลเพื่อหลบหลีกการตรวจสอบจาก Meta ด้วย   สาเหตุสำคัญเกิดจากที่ Meta มีข้อมูลผู้ใช้กว่า 3 พันล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายบริการลูกค้าทางออนไลน์ เมื่อผู้ใช้พบปัญหาก็ต้องติดต่อผ่านพนักงานทางโทรศัพท์หรืออีเมลและให้พนักงานเป็นผู้จัดการบัญชีให้ ซึ่งเป็นช่องโหว่ให้มีการขายบัญชีผู้ใช้     ที่มา: Wall Street Journal  …

Meta เตือน 402 แอปพลิเคชัน แอบขโมยข้อมูลล็อกอิน Facebook

Loading

  Meta ออกประกาศเตือนถึงแอปพลิเคชันที่แอบขโมยข้อมูลล็อกอิน Facebook ด้วยการปลอมเป็น เกม โปรแกรมแก้ไขรูปภาพ VPN และยูทิลิตี้อื่น ๆ กว่า 402 แอปพลิเคชัน   Meta เตือนผู้ใช้ Facebook เกี่ยวกับแอปพลิเคชันจำนวนหลายร้อยแอปทั้งในระบบ iOS และ Android ที่ออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลสำหรับการเข้าสู่ระบบของแอปพลิเคชันโซเชียลเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะ Meta ระบุว่า มีแอปพลิเคชันที่เป็นอันตรายกว่า 402 แอป ที่ปลอมแปลงเป็นเกม โปรแกรมแก้ไขรูปภาพ และยูทิลิตี้อื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ใช้งานเปิดโอกาส “ให้บุกรุกบัญชีของตนโดยไม่รู้ตัวด้วยการดาวน์โหลดแอปเหล่านี้และแบ่งปันข้อมูลประจำตัว” ซึ่งส่งผลกระทบถึงผู้ใช้งานนับล้านราย   Meta ระบุในโพสต์ว่า แอปหลอกล่อให้ผู้คนดาวน์โหลดแอปด้วยรีวิวปลอมและสัญญาว่าจะมีฟังก์ชันที่เป็นประโยชน์ (ทั้งกลวิธีทั่วไปสำหรับแอปหลอกลวงอื่น ๆ ที่พยายามหลอกเอาเงินของคุณมากกว่าข้อมูลการเข้าสู่ระบบ) แต่เมื่อเปิดแอปบางตัวขึ้นมาใช้ ผู้ใช้งานจะได้รับแจ้งให้เข้าสู่ระบบด้วย Facebook ก่อนที่พวกเขาจะเข้าไปใช้งานอะไรได้จริง ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้นักพัฒนาสามารถขโมยข้อมูลประจำตัวของพวกเขาได้   Meta กล่าวว่า ได้รายงานแอปดังกล่าวไปยัง Google และ Apple เพื่อนำออกแล้ว แต่ไม่เข้าใจว่าพวกเขารองรับลงใน…