Microsoft ทลายฐานปฏิบัติการทางไซเบอร์ของแฮ็กเกอร์จากเลบานอน เชื่ออิหร่านมีเอี่ยว

Loading

  Microsoft บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เผยว่าได้พบและทำลายฐานปฏิบัติบน OneDrive ของ Polonium กลุ่มแฮ็กเกอร์จากเลบานอนที่พุ่งเป้าโจมตีทางไซเบอร์ต่อองค์กรต่าง ๆ ของอิสราเอล   ทางบริษัทยังระบุด้วยว่า Polonium ทำงานร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับกระทรวงข่าวกรองและความมั่นคงของอิหร่าน (MOIS) ซึ่งไม่ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลอิหร่านมักจ้างวานองค์กรภายนอกในการปฏิบัติการทางไซเบอร์ที่สนองต่อเป้าหมายของรัฐบาล   ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา Polonium โจมตีทางไซเบอร์ต่อมากกว่า 20 องค์กรของอิสราเอล ในจำนวนนี้มีองค์กรระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ในเลบานอนด้วย องค์กรที่เป็นเป้าหมายมีทั้งที่ดำเนินการในด้านการผลิต อุตสาหกรรมทางทหาร เกษตรกรรมและอาหาร ระบบการเงินการธนาคาร หน่วยงานของรัฐ สาธารณสุข ไอที ระบบคมนาคม ฯลฯ   Polonium เคยโจมตีผู้ให้บริการคลาวด์เพื่อใช้ในการโจมตีบริษัทการบินและสำนักงานกฎหมาย ซึ่งหลายบริษัทที่ตกเป็นเป้านั้นทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมทางทหารของรัฐบาลอิสราเอล   เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการปฏิบัติการของ Polonium คือบัญชี OneDrive ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น Command and Control หรือฐานในการปฏิบัติทางไซเบอร์ ทางกลุ่มยังได้ดัดแปลงบริการคลาวด์อย่าง OneDrive…

Microsoft ริบเว็บไซต์หลายแห่งที่คาดว่า เป็นกลุ่มแฮกเกอร์ของรัสเซีย

Loading

“Microsoft ดำเนินมาตรการเด็ดขาดกับกลุ่มแฮกเกอร์สายรัสเซียที่พยายามแฮกเว็บไซต์สื่อของยูเครน” Microsoft บริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก ได้มีการยึดโดเมนหรือเว็บไซต์ที่คาดว่ามีความเชื่อมโยงกับกลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดังอย่างแฟนซีแบร์ (Fancy Bear) หรือ APT28 กลุ่มแฮกเกอร์ที่คาดว่ามีการร่วมมือกับหน่วยงานข่าวกรองทางด้านการทหารของประเทศรัสเซีย สอดคล้องกับรายงานที่ได้ระบุว่า บริษัท Microsoft ได้มีการอ้างว่า สายลับชาวรัสเซียได้มีการโจมตีเว็บไซต์ที่เป็นสื่อมวลชนของประเทศยูเครน โดยที่ Microsoft ได้ดำเนินเรื่องตามนโยบายการต่างประเทศกับรัฐบาลทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ในช่วงวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมาบริษัท Microsoft ได้มีการยื่นเรื่องนี้ไปยังศาลให้มีการควบคุมเว็บไซต์ที่เข้าข่ายว่ามีการกระทำผิดกฎหมายที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความมั่นคงทางไซเบอร์หลายคนได้ระบุตรงกันว่า สามารถวิเคราะห์และตรวจจับมัลแวร์ได้ ทำให้ทางบริษัทตัดสินใจที่จะทำการยึดเว็บไซต์มากกว่า 100 เว็บไซต์ที่คาดว่าควบคุมโดยกลุ่มแฟนซีแบร์ก่อนที่เว็บไซต์เหล่านี้จะมีการปิดตัวลง ทางด้านทอม เบิร์ต (Tom Burt) รองประธานฝ่ายดูแลความปลอดภัยของผู้บริโภคของบริษัท Microsoft ได้กล่าวว่า บริษัทเชื่อว่า ทางกลุ่มแฮกเกอร์มีความพยายามที่จะเข้าถึงระบบความปลอดภัยของเป้าหมายมาเป็นเวลานาน โดยเป็นรูปแบบการสนับสนุนการโจมตีในช่วงที่รัสเซียได้ยกพลบุกยูเครนและมีการแทรกซึมด้วยการเจาะข้อมูลของเป้าหมาย ทำให้ทางบริษัทได้ออกมาเตือนรัฐบาลยูเครนเกี่ยวกับความมั่นคงทางไซเบอร์ที่บริษัทตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นตรงนี้ กลุ่มแฮกเกอร์แฟนซีแบร์มีประวัติในเรื่องของการแทรกแซงเจาะข้อมูลของประเทศยูเครนกับสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลานั้น ที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มแฟนซีแบร์ เคยมีการเจาะข้อมูลของคณะกรรมการแห่งชาติของพรรคเดโมแครต และเคยพยายามแทรกแซงผลการเลือกตั้งของประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา ข้อมูลจาก : theverge.com ภาพจาก : analyticsindiamag.com     ที่มา : tnnthailand …

Microsoft ยอมรับ แฮ็กเกอร์ Lapsus$ ขโมยซอร์สโค้ดบางส่วนจริง ยืนยันไม่ใช่ข้อมูลสำคัญ

Loading

  กลุ่มแฮ็กเกอร์ Lapsus$ ซึ่งระยะหลังเริ่มมีการลงมืออย่างต่อเนื่อง โดยได้เข้าไปโจมตี ซัมซุง, อินวิเดีย, ยูบิซอฟต์ ล่าสุดไมโครซอฟท์ ยอมรับว่าพวกเขาเป็นเหยื่อรายล่าสุดของแฮ็กเกอร์กลุ่มนี้จริง   Lapsus$ กลุ่มแฮ็กเกอร์หน้าใหม่ ซึ่งกำลังเร่งสร้างชื่อเสียงในขณะนี้ ได้ออกมาเปิดเผยเมื่อ 1-2 วันก่อนว่า พวกเขาได้เข้าถึงข้อมูลภายในของไมโครซอฟท์ โดยข้อมูลที่พวกเขาได้ไปนั้น เป็นซอร์สโค้ดของบิง (Bing) และคอร์ทานา (Cortana) มีขนาดไฟล์ทั้งสิ้น 37GB   วันอังคารตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ออกมายอมรับว่า แฮ็กเกอร์ได้ขโมยซอร์สโค้ดบางส่วนไปจริง ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ได้ติดตามกลุ่ม Lapsus$ มาสักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อดูวิธีการทำงาน ไปจนถึงการโจมตีของกลุ่มดังกล่าว   ไมโครซอฟท์ กล่าวด้วยว่า ข้อมูลที่รั่วไหลไปนั้นไม่ได้เป็นข้อมูลที่รุนแรง หรือน่าเป็นห่วงที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัท อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลสำคัญของลูกค้าใดๆ หลุดออกไป อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ทำการปิดช่องทางต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันเอาไว้เรียบร้อยแล้ว   ช่วงที่ผ่านมา ต้องบอกว่า Lapsus$ เริ่มถูกพูดถึงบนหน้าข่าวเทคโนโลยีมากขึ้น จากการที่พวกเขาทำผลงานด้วยการแฮ็กระบบของอินวิเดีย (Nvidia), ซัมซุง…

ไมโครซอฟท์เตรียมสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลสิงคโปร์

Loading

  ไมโครซอฟท์เตรียมสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลสิงคโปร์   ไมโครซอฟท์ทำข้อตกลงกับ Home Team Science and Technology Agency (HTX) หน่วยงานด้านเทคโนโลยีภายใต้ Ministry of Home Affairs หรือ Home Team กระทรวงดูแลความมั่นคงภายในของสิงคโปร์ เตรียมพัฒนาคลาวด์ภาครัฐ (sovereign cloud) ให้เป็นการเฉพาะ   ไม่มีรายละเอียดว่าคลาวด์นี้จะมีความสามารถอะไรเป็นพิเศษบ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วการสร้างคลาวด์เฉพาะสำหรับรัฐบาลเช่นนี้มักให้สิทธิ์ควบคุมข้อมูลได้มากขึ้น ห้ามนำข้อมูลออกนอกเขตแดนที่กำหนด ทางด้านไมโครซอฟท์ระบุว่าคลาวด์นี้จะสร้างบนพื้นฐานของ Microsoft Azure   นอกจากการสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลแล้ว ข้อตกลงนี้ยังรวมการฝึกบุคลากรของ HTX พร้อมการสอบใบรับรองอีกปละ 600 ตำแหน่ง   ที่มา – Microsoft     ————————————————————————————————————————————— ที่มา : Blognone by Lew           …

Microsoft เผยรายละเอียดการโจมตีไซเบอร์ต่อยูเครน บางส่วนเชื่อนี่เพียงแค่เริ่มต้น

Loading

  Microsoft ระบุว่าคอมพิวเตอร์จำนวนมากในระบบโครงข่ายของรัฐบาลยูเครนติดมัลแวร์ทำลายล้างซึ่งอำพรางเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หลังจากมีกรณีการแก้หน้าเว็บไซต์ (defacement) ของกระทรวงการต่างประเทศยูเครน และเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลมากกว่า 70 เว็บไซต์ล่ม Microsoft ยังระบุด้วยว่า การโจมตีสร้างความเสียหายต่อหน่วยงานรัฐ องค์กรไม่แสวงหากำไร และองค์กรไอทีจำนวนมาก “มัลแวร์ตัวนี้อำพรางตัวเองเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ แต่เมื่อถูกเปิดใช้งานโดยผู้ทำการโจมตีก็จะสร้างความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์เป้าหมายจนใช้งานไม่ได้” Microsoft ระบุ โดยเสริมว่า มัลแวร์ตัวนี้จะทำงานต่อเมื่ออุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่นั้นถูกปิดลง สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กรด้านไซเบอร์ในภาคเอกชนอธิบายว่า เริ่มจากการมีผู้ไม่หวังดีเจาะเข้าไปยังผู้ให้บริการซอฟแวร์ร่วมในการโจมตีที่เรียกว่า Supply-Chain Attack เซอร์ฮีย์ เดเมดยัค (Serhiy Demedyuk) รองเลขาธิการสภาความมั่นคงและการป้องกันประเทศแห่งชาติยูเครนระบุว่า แฮกเกอร์ได้ใช้มัลแวร์คล้ายกับที่หน่วยข่าวกรองของรัสเซียเคยใช้ ซึ่งในการสืบสวนขั้นต้นโดยสำนักงานความมั่นคงยูเครน (SBU) เชื่อว่าผู้ก่อเหตุโจมตีมีความสัมพันธ์กับหน่วยข่าวกรองของรัสเซีย แต่ทางรัสเซียได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ทั้งนี้ เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ปะทุขึ้นมาตั้งแต่ปี 2557 ได้กลับมาร้อนระอุขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนให้หลังมานี้ และยังเป็นสมรภูมิการเมืองระหว่างประเทศที่สหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรก้าวเข้ามามีบทบาทคุ้มครองยูเครน ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานจากสื่อหลายสำนักว่าทางรัสเซียได้ระดมกำลังทหารมากกว่า 100,000 นายใกล้กับชายแดนยูเครน ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้ที่รัสเซียอาจเข้าบุกยูเครนอีกครั้งหนึ่ง และอาจจะผสมการรบแบบใช้กำลังทหารเข้ากับการโจมตีทางไซเบอร์ (Hybrid Warfare) เหมือนกับที่เคยทำกับจอร์เจียและยูเครนมาแล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัสเซียถูกกล่าวหาว่าโจมตีทางไซเบอร์ต่อยูเครน ตัวอย่างการโจมตีที่ผ่านมา อาทิ การเลือกตั้งระดับชาติยูเครนเกือบล่มเพราะการโจมตีทางไซเบอร์ในปี 2557 การโจมตีโรงไฟฟ้าจนไฟดับเป็นวงกว้างในช่วงปี…

Microsoft ปฏิบัติการกวาดล้างโดเมนของกลุ่มจารกรรมไซเบอร์จากจีน

Loading

  Microsoft Corporation ระบุว่าได้ยึดโดเมน 42 แห่งที่ถูกใช้โดยกลุ่มจารกรรมไซเบอร์ชาวจีนที่ในการโจมตีองค์กรต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ Microsoft เรียกกลุ่มจารกรรมนี้ว่า ‘Nickel’ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม APT15 เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี 2553 และเป็นที่เชื่อว่ามีรัฐบาลของบางประเทศอยู่เบื้องหลัง ทางบริษัทติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้มาตั้งแต่ในปี 2559 และได้วิเคราะห์บางกิจกรรมของกลุ่มตั้งแต่ปี 2562 เป้าหมายหลักของทางกลุ่มคือหน่วยงานของรัฐบาล สถาบันคลังสมอง และองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันก็เคยมีประวัติการโจมตีบริษัทเอกชนมากหน้าหลายตาด้วย การปฏิบัติการของ Nickel/APT15 มีความซับซ้อนสูงมากและผสมผสานการใช้เทคนิคที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ในหนึ่งปฏิบัติจะมีเพียงเป้าหมายหนึ่งเดียวเท่านั้น คือการปล่อยมัลแวร์ที่ยากแก่การตรวจพบเพื่อเข้าไปแทรกซึม สอดแนม และจารกรรมข้อมูล การโจมตีบางกรณียังรวมถึงการใช้ผู้ให้บริการ VPN ที่แฮกมาได้หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่ขโมยมาร่วมด้วย มัลแวร์ที่กลุ่มนี้ใช้จะมุ่งโจมตี Microsoft Exchange Server หรือระบบ Sharepoint ที่ไม่ได้รับการอัปเดตให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ ทีมอาชญากรรมดิจิทัลของ Microsoft (Microsoft Digital Crimes Unit) ได้เริ่มจัดการกับโดเมนหลังจากที่ได้รับอำนาจจากศาลแขวงในเขตเวอร์จิเนียตะวันออก ที่ทาง Microsoft ได้ยื่นคำร้องไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา…