ไมโครซอฟท์เตรียมสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลสิงคโปร์

Loading

  ไมโครซอฟท์เตรียมสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลสิงคโปร์   ไมโครซอฟท์ทำข้อตกลงกับ Home Team Science and Technology Agency (HTX) หน่วยงานด้านเทคโนโลยีภายใต้ Ministry of Home Affairs หรือ Home Team กระทรวงดูแลความมั่นคงภายในของสิงคโปร์ เตรียมพัฒนาคลาวด์ภาครัฐ (sovereign cloud) ให้เป็นการเฉพาะ   ไม่มีรายละเอียดว่าคลาวด์นี้จะมีความสามารถอะไรเป็นพิเศษบ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วการสร้างคลาวด์เฉพาะสำหรับรัฐบาลเช่นนี้มักให้สิทธิ์ควบคุมข้อมูลได้มากขึ้น ห้ามนำข้อมูลออกนอกเขตแดนที่กำหนด ทางด้านไมโครซอฟท์ระบุว่าคลาวด์นี้จะสร้างบนพื้นฐานของ Microsoft Azure   นอกจากการสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลแล้ว ข้อตกลงนี้ยังรวมการฝึกบุคลากรของ HTX พร้อมการสอบใบรับรองอีกปละ 600 ตำแหน่ง   ที่มา – Microsoft     ————————————————————————————————————————————— ที่มา : Blognone by Lew           …

Microsoft เผยรายละเอียดการโจมตีไซเบอร์ต่อยูเครน บางส่วนเชื่อนี่เพียงแค่เริ่มต้น

Loading

  Microsoft ระบุว่าคอมพิวเตอร์จำนวนมากในระบบโครงข่ายของรัฐบาลยูเครนติดมัลแวร์ทำลายล้างซึ่งอำพรางเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หลังจากมีกรณีการแก้หน้าเว็บไซต์ (defacement) ของกระทรวงการต่างประเทศยูเครน และเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลมากกว่า 70 เว็บไซต์ล่ม Microsoft ยังระบุด้วยว่า การโจมตีสร้างความเสียหายต่อหน่วยงานรัฐ องค์กรไม่แสวงหากำไร และองค์กรไอทีจำนวนมาก “มัลแวร์ตัวนี้อำพรางตัวเองเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ แต่เมื่อถูกเปิดใช้งานโดยผู้ทำการโจมตีก็จะสร้างความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์เป้าหมายจนใช้งานไม่ได้” Microsoft ระบุ โดยเสริมว่า มัลแวร์ตัวนี้จะทำงานต่อเมื่ออุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่นั้นถูกปิดลง สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กรด้านไซเบอร์ในภาคเอกชนอธิบายว่า เริ่มจากการมีผู้ไม่หวังดีเจาะเข้าไปยังผู้ให้บริการซอฟแวร์ร่วมในการโจมตีที่เรียกว่า Supply-Chain Attack เซอร์ฮีย์ เดเมดยัค (Serhiy Demedyuk) รองเลขาธิการสภาความมั่นคงและการป้องกันประเทศแห่งชาติยูเครนระบุว่า แฮกเกอร์ได้ใช้มัลแวร์คล้ายกับที่หน่วยข่าวกรองของรัสเซียเคยใช้ ซึ่งในการสืบสวนขั้นต้นโดยสำนักงานความมั่นคงยูเครน (SBU) เชื่อว่าผู้ก่อเหตุโจมตีมีความสัมพันธ์กับหน่วยข่าวกรองของรัสเซีย แต่ทางรัสเซียได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ทั้งนี้ เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ปะทุขึ้นมาตั้งแต่ปี 2557 ได้กลับมาร้อนระอุขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนให้หลังมานี้ และยังเป็นสมรภูมิการเมืองระหว่างประเทศที่สหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรก้าวเข้ามามีบทบาทคุ้มครองยูเครน ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานจากสื่อหลายสำนักว่าทางรัสเซียได้ระดมกำลังทหารมากกว่า 100,000 นายใกล้กับชายแดนยูเครน ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้ที่รัสเซียอาจเข้าบุกยูเครนอีกครั้งหนึ่ง และอาจจะผสมการรบแบบใช้กำลังทหารเข้ากับการโจมตีทางไซเบอร์ (Hybrid Warfare) เหมือนกับที่เคยทำกับจอร์เจียและยูเครนมาแล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัสเซียถูกกล่าวหาว่าโจมตีทางไซเบอร์ต่อยูเครน ตัวอย่างการโจมตีที่ผ่านมา อาทิ การเลือกตั้งระดับชาติยูเครนเกือบล่มเพราะการโจมตีทางไซเบอร์ในปี 2557 การโจมตีโรงไฟฟ้าจนไฟดับเป็นวงกว้างในช่วงปี…

Microsoft ปฏิบัติการกวาดล้างโดเมนของกลุ่มจารกรรมไซเบอร์จากจีน

Loading

  Microsoft Corporation ระบุว่าได้ยึดโดเมน 42 แห่งที่ถูกใช้โดยกลุ่มจารกรรมไซเบอร์ชาวจีนที่ในการโจมตีองค์กรต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ Microsoft เรียกกลุ่มจารกรรมนี้ว่า ‘Nickel’ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม APT15 เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี 2553 และเป็นที่เชื่อว่ามีรัฐบาลของบางประเทศอยู่เบื้องหลัง ทางบริษัทติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้มาตั้งแต่ในปี 2559 และได้วิเคราะห์บางกิจกรรมของกลุ่มตั้งแต่ปี 2562 เป้าหมายหลักของทางกลุ่มคือหน่วยงานของรัฐบาล สถาบันคลังสมอง และองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันก็เคยมีประวัติการโจมตีบริษัทเอกชนมากหน้าหลายตาด้วย การปฏิบัติการของ Nickel/APT15 มีความซับซ้อนสูงมากและผสมผสานการใช้เทคนิคที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ในหนึ่งปฏิบัติจะมีเพียงเป้าหมายหนึ่งเดียวเท่านั้น คือการปล่อยมัลแวร์ที่ยากแก่การตรวจพบเพื่อเข้าไปแทรกซึม สอดแนม และจารกรรมข้อมูล การโจมตีบางกรณียังรวมถึงการใช้ผู้ให้บริการ VPN ที่แฮกมาได้หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่ขโมยมาร่วมด้วย มัลแวร์ที่กลุ่มนี้ใช้จะมุ่งโจมตี Microsoft Exchange Server หรือระบบ Sharepoint ที่ไม่ได้รับการอัปเดตให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ ทีมอาชญากรรมดิจิทัลของ Microsoft (Microsoft Digital Crimes Unit) ได้เริ่มจัดการกับโดเมนหลังจากที่ได้รับอำนาจจากศาลแขวงในเขตเวอร์จิเนียตะวันออก ที่ทาง Microsoft ได้ยื่นคำร้องไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา…

‘ไมโครซอฟท์’ เผยแฮกเกอร์รัสเซียพยายามเจาะล้วงข้อมูลรอบใหม่

Loading

  บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐฯ ไมโครซอฟท์ (Microsoft) เปิดเผยในวันอาทิตย์ว่า กลุ่มแฮกเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียและเคยก่อเหตุจารกรรมล้วงข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเรียกกันว่า โซลาร์วินด์ส (SolarWinds) กำลังพยายามโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกอีกครั้ง ไมโครซอฟท์ กล่าวว่า กลุ่มแฮกเกอร์ที่มีชื่อว่า โนเบลเลียม (Nobelium) ได้ใช้ยุทธวิธีใหม่เพื่อฉกฉวยประโยชน์จากการเข้าถึงระบบคลาวด์ของภาคธุรกิจต่าง ๆ ที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์ กับลูกค้าหรือผู้ใช้เทคโนโลยีของบริษัทเหล่านั้น ไมโครซอฟท์มีแถลงการณ์เมื่อวันอาทิตย์ว่า ได้จับตามองการโจมตีของโนเบลเลียมมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และได้แจ้งให้บริษัทต่าง ๆ ที่ตกเป็นเป้าหมายมากกว่า 140 แห่งรับทราบในจำนวนนี้คาดว่ามีอย่างน้อย 14 บริษัทที่ถูกเจาะล้วงระบบคอมพิวเตอร์แล้ว ไมโครซอฟท์ระบุว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม กลุ่มโนเบลเลียมได้ก่อเหตุโจมตีแล้วเกือบ 23,000 ครั้ง แต่ประสบความสำเร็จเพียงไม่กี่ครั้ง โดยเป้าหมายส่วนใหญ่คือหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ และบรรดาสถาบันวิจัยหรือ think tank ในอเมริกา รวมทั้งในยูเครน อังกฤษ และประเทศสมาชิกขององค์การนาโต้ รัฐบาลสหรัฐฯ กล่าวหาว่า หน่วยงานข่าวกรองของรัสเซีย SVR อยู่เบื้องหลังการลอบเจาะล้วงข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสหรัฐฯ หรือ โซลาร์วินด์ส เมื่อปีที่แล้ว แต่ทางการรัสเซียได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องทั้งหมดต่อเหตุการณ์ดังกล่าว (ข้อมูลบางส่วนจากสำนักข่าวเอพี และรอยเตอร์) ————————————————————————————————————————————————…

ไมโครซอฟท์รายงานภัยไซเบอร์ปี 2021 การโจมตีส่วนมากมาจากรัสเซีย, Ransomware โจมตีกลุ่มค้าปลีกหนักสุด

Loading

  ไมโครซอฟท์ออกรายงานการป้องกันภัยไซเบอร์ประจำปี 2021 ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์ช่วงกลางปี 2020 จนถึงกลางปี 2021 ที่ผ่านมา แสดงถึงระดับภัยที่สูงขึ้นในปีที่ผ่านมา ระบบเศรษฐกิจของกลุ่มคนร้ายในโลกไซเบอร์มีระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในตัวเอง   การโจมตีรูปแบบต่างๆ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย เช่น ค่าเจาะระบบ 250 ดอลลาร์ (8,000 บาท), ค่าใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ 66 ดอลลาร์ (2,000 บาท), ค่ารหัสผ่านที่ถูกเจาะ 0.97 ดอลลาร์ (30 บาท) ต่อ 1,000 รายการ, ค่าส่งเมลหลอกลวงแบบเจาะจง (spearphishing) ครั้งละ 100 – 1,000 ดอลลาร์ (3,400 – 34,000 บาท) รายงานพบว่ากลุ่มแฮกเกอร์ระดับรัฐ (nation state actor) มาจากฝั่งรัสเซียสูงสุด โดยนับจากปริมาณการโจมตี รองลงมาได้แก่ เกาหลีเหนือ, อิหร่าน, จีน, เกาหลีใต้, ตุรกี…

Microsoft เตือนพบช่องโหว่ใหม่ของเอกสาร Office กำลังถูกใช้โจมตี แนะเร่งหาทางป้องกัน

Loading

  Microsoft ได้ออกเตือนถึงช่องโหว่ใหม่ที่ส่งผลกระทบกับเอกสาร Office ที่มีการใช้งานโจมตีจริงแล้ว แต่ยังไม่มีแพตช์อย่างเป็นทางการออกมา CVE-2021-40444 เกิดขึ้นกับ Internet Explorer’s Trident engine (MSHTML) โดยคนร้ายสามารถประดิษฐ์เอกสาร Microsoft Office ที่มี ActiveX อันตรายส่งไปให้เหยื่อ หากเหยื่อหลงเปิดเอกสารก็จะทำให้ผู้โจมตีได้สิทธิ์บนระบบ ปัจจุบันนี้ Microsoft ยังไม่ได้ออกแพตช์อย่างเป็นทางการแต่ก็มีทางบรรเทาปัญหาได้หลายวิธี Microsoft Defender Antivirus และ Endpoint สามารถช่วยตรวจจับการโจมตีที่รู้จักได้ เปิดใช้งาน Protected View หรือ Application Guard ที่ช่วยป้องกันปัญหาจากการเปิดเอกสารผ่านอินเทอร์เน็ต ปิด ActiveX Control ใน IE อย่างไรก็ดีอาจจะมีการออกแพตช์แก้ไขในรูปแบบของ Out-of-band หรือมากับแพตช์รายเดือน สำหรับผู้ที่เปิด Automatic Update ก็จะลดภาระลงได้ ที่มา : https://redmondmag.com/articles/2021/09/07/microsoft-warns-malicious-office-docs.aspx   ————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :…