“โทรจันธนาคารมือถือ” ภัย Mobile Banking อันตรายสูงสุด!

Loading

สะเทือนไปทุกย่อมหญ้าเมื่อกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) ออกมาประกาศชัดว่า ”โทรจันธนาคารบนมือถือ” เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศไทย โดยสาเหตุที่ยกตำแหน่งแชมป์ให้ภัยนี้ คือ การก่อให้เกิดความเสียหายถึง 2.6 พันล้านบาท

กสทช. สั่งระงับซิมผีกว่า 2.1ล้านเลขหมาย ไม่ยืนยันตัวตน แก้ปัญหาอาชญากรรม

Loading

พล.ต.อ.ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานอนุกรรมการบูรณาการแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายความผิดทางเทคโนโลยีโทรคมนาคมและความมั่นคงของรัฐ กล่าวถึง การดำเนินการตามประกาศ กสทช. เรื่อง การยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มผู้ถือครองซิมการ์ด 6 – 100 เลขหมาย ซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 67 ขณะนี้เริ่มทยอยระงับการใช้งาน โดยจะมีการระงับการใช้ในกลุ่มนี้ จำนวน 2,141,317 เลขหมาย โดยระงับการโทรออก การส่งข้อความ และการใช้อินเทอร์เน็ต แต่ยังคงรับสายโทรเข้าได้อีกระยะหนึ่งก่อนถูกเพิกถอน และน่าเชื่อว่า 2 – 3 สัปดาห์หลังการระงับจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมากหลั่งไหลมายืนยันเพิ่มเติมเช่นเดียวกับกลุ่มแรก ซึ่งกลุ่ม 101 หมายเลขขึ้นไปนั้น ถูกระงับการใช้งานไป จำนวน 1,096,000 เลขหมาย ดังนั้น ซิมที่เปิดใช้โดยไม่มีการลงทะเบียนหรือลงทะเบียนด้วยข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน และคาดว่าอยู่ในความครอบครองของแก็งคอลเซ็นเตอร์ก็จะถูกกำจัดออกไป

ดีอียกระดับ ‘แอปดูดเงิน’ เป็นภัยไซเบอร์ระดับร้ายแรง-ตร.เตือน 3 หลอกลวงโอนเงิน

Loading

กรณีที่มีกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชน โดยการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อขโมยเงิน หรือที่เรียกว่า แอปดูดเงิน (Mobile Banking Trojan) โดยใช้กระบวนการทางไซเบอร์ ทำให้สูญเสียเงินกว่า 2,600 ล้านบาท (สถิติระหว่างวันที่ 1 มี.ค.65 – 31 พ.ค.67) นับเป็นภัยไซเบอร์ระดับร้ายแรง แต่ปัจจุบันการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความล่าช้า นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) จึงได้ประกาศยกระดับจัดให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดจากแอปดูดเงิน เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง

สแกนใบหน้าอย่างไรให้มั่นใจ ไม่ถูกสวมรอย ในวันที่… AI Deepfake มาแรง!

Loading

    การสแกนใบหน้าเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน โดยบริการที่ใช้มากเป็น อันดับต้นๆ หนีไม่พ้นบริการทางการเงินผ่าน Mobile Banking แต่ความล้ำเหล่านี้ก็เป็นดาบหลายคม เพราะได้กลายเป็นช่องว่างให้มิจฉาชีพเข้ามาฉวยโอกาสหลอกเหยื่อตามที่เป็นข่าว   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมผลักดันให้คนไทยเข้าใจมีการใช้งาน ตลอดจนตระหนักในการใช้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่านกิจกรรมต่างๆ ทางออนไลน์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “Digital ID” เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น ปลุกคนไทยมั่นใจใช้ตัวตนดิจิทัล’ พร้อมไขข้อข้องใจว่าการใช้ Digital ID เชื่อถือได้แค่ไหน   ทำความรู้จัก Digital ID   หากบัตรประจำตัวประชาชน คือ เอกสารที่ใช้แสดงตนและยืนยันตัวตนในการติดต่อหรือทำธุรกรรมต่างๆ ในโลกออฟไลน์ Digital Identity หรือเรียกสั้นๆ ว่า ดิจิทัล ไอดี (Digital ID) ก็เปรียบได้กับบัตรประชาชนในโลกออนไลน์ ที่ช่วยบอกว่า “เราเป็นใคร” เพื่อเปิดทางให้เราสามารถทำธุรกรรมออนไลน์หรือเข้าถึงการบริการต่างๆ จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เชื่อถือได้ ทำได้ทุกที่ทุกเวลา   โดย…

เงินดิจิทัล 10000 บาท ทำไมต้อง Blockchain ?

Loading

เงินดิจิทัล 10000 บาท หนึ่งในนโยบายรัฐบาลที่ถูกพูดถึงตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งจนถึงวันนี้ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันเยอะ ก็คือการใช้ระบบ Blockchain และทำไมต้อง Blockchain ด้วยล่ะ ใช้แอปเป๋าตังไม่ได้หรอ งั้นเรามาทำความเข้าใจเรื่องระบบ Blockchain และ ความแตกต่าง ระหว่างการใช้ Blockchain กับแอปเป๋าตังกัน