การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงจากการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์ และผลกระทบต่อสถาบันการเงิน

Loading

  การบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์ต้องเน้นการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ให้บริการบุคคลที่สามอย่างเคร่งครัด ควรประเมินการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบไบโอเมตริกซ์ตามมาตรฐาน ISO 27001, NIST และการรับรอง SOC 2 Type 2 การใช้เครื่องมือตรวจสอบช่วยในการติดตามกิจกรรมของผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่องและตั้งค่าการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างเข้มงวดจะช่วยลดความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูล   จากการคาดการณ์ของ Deloitte Center for Financial Services ภายในปี 2570 การฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์จะก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทคโนโลยีอย่าง Deepfake ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์ที่มีความสมจริงและน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกขโมยจากเว็บมืดหรือสร้างขึ้นใหม่ การพัฒนาของ Generative AI ยังเพิ่มความเสี่ยงจาก Deepfake ให้รุนแรงขึ้น รายงานของ World Economic Forum (WEF) ในปี 2566 ระบุว่าเหตุการณ์ Deepfake ที่เกี่ยวข้องกับฟินเทคเพิ่มขึ้น 700% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคาดว่าในปี 2569 เนื้อหาออนไลน์มากถึง 90% อาจถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีสังเคราะห์   ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย การจัดการกับการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์กลายเป็นประเด็นเร่งด่วน…

สแกนใบหน้าอย่างไรให้มั่นใจ ไม่ถูกสวมรอย ในวันที่… AI Deepfake มาแรง!

Loading

    การสแกนใบหน้าเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน โดยบริการที่ใช้มากเป็น อันดับต้นๆ หนีไม่พ้นบริการทางการเงินผ่าน Mobile Banking แต่ความล้ำเหล่านี้ก็เป็นดาบหลายคม เพราะได้กลายเป็นช่องว่างให้มิจฉาชีพเข้ามาฉวยโอกาสหลอกเหยื่อตามที่เป็นข่าว   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมผลักดันให้คนไทยเข้าใจมีการใช้งาน ตลอดจนตระหนักในการใช้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่านกิจกรรมต่างๆ ทางออนไลน์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “Digital ID” เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น ปลุกคนไทยมั่นใจใช้ตัวตนดิจิทัล’ พร้อมไขข้อข้องใจว่าการใช้ Digital ID เชื่อถือได้แค่ไหน   ทำความรู้จัก Digital ID   หากบัตรประจำตัวประชาชน คือ เอกสารที่ใช้แสดงตนและยืนยันตัวตนในการติดต่อหรือทำธุรกรรมต่างๆ ในโลกออฟไลน์ Digital Identity หรือเรียกสั้นๆ ว่า ดิจิทัล ไอดี (Digital ID) ก็เปรียบได้กับบัตรประชาชนในโลกออนไลน์ ที่ช่วยบอกว่า “เราเป็นใคร” เพื่อเปิดทางให้เราสามารถทำธุรกรรมออนไลน์หรือเข้าถึงการบริการต่างๆ จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เชื่อถือได้ ทำได้ทุกที่ทุกเวลา   โดย…

6 หน่วยงานรัฐรับไม้ต่อใช้ Digital ID ให้บริการประชาชน

Loading

    กรมการปกครอง, กรมสรรพากร, ก.ล.ต., สพร., สำนักงาน กสทช. และ NDID ร่วมกันเดินหน้าผลักดัน ดิจิทัลไอดี (Digital ID) หรือ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้ใช้งานได้จริง ผ่านเครื่องมือที่บอกและยืนยันว่า “เราเป็นใคร” ในโลกออนไลน์โดยไม่ถูกปลอมแปลง   โดยการร่วมกันของทั้ง 6 หน่วยงานนั้น จะใช้งานผ่านบริการที่คุ้นเคย อย่าง D.DOPA, Mobile ID และ ทางรัฐ เป็นต้น ขณะที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็เริ่มทยอยนำกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยดิจิทัล หรือ Digital ID (ดิจิทัล ไอดี) เข้ามาประยุกต์ใช้งานรวมถึงการให้บริการ เพื่อให้การทำธุรกรรมหรือกิจกรรมผ่านทางออนไลน์มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือมากขึ้น ลดการลงทะเบียนยืนยันตัวตนซ้ำซ้อน   สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ เป็นหนึ่งในนโยบายเกี่ยวกับ “กรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 พ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2567” หรือ “Digital ID…