No-Fly Zone! ปัญหาและทางเลือก
“เขตห้ามบิน ไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องยูเครนเท่านั้น แต่จะช่วยคุ้มครองประเทศในกลุ่มพันธมิตรแอตแลนติกจากการโจมตีทางอากาศของรัสเซียอีกด้วย” ประธานาธิบดีเซเลนสกี “ถ้าเรา [นาโต] กระทำ [ตามคำขอของประธานาธิบดีเซเลนสกี] เราจะจบลงด้วยการเกิดของสงครามเต็มรูปในยุโรป… นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราตัดสินใจเรื่องนี้ด้วยความเจ็บปวด” เจนส์ สโตลเต็นเบิร์ก (เลขาธิการนาโต) จากถ้อยแถลงที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีเซเลนสกี และเกิดอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนับตั้งแต่กองทัพรัสเซียตัดสินใจยาตราทัพเข้าสู่ดินแดนของยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คือคำขอให้สหรัฐอเมริกาและองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กำหนดให้น่านฟ้าของยูเครนเป็น “เขตห้ามบิน” (no-fly zone) แต่จะเห็นได้ชัดว่าแม้กองทัพรัสเซียจะโจมตียูเครนหนักเพียงใดก็ตาม รัฐบาลตะวันตกก็ไม่ยอมตอบรับคำร้องขอของผู้นำยูเครนแต่อย่างใด จนทำให้คนบางส่วนมีความรู้สึกว่า ในสถานการณ์สงครามที่กำลังเกิดขึ้นนั้น เสมือนกับการที่ตะวันตกทิ้งยูเครนให้ต้องเผชิญกับการโจมตีของรัสเซียอย่างโดดเดี่ยว ดังนั้น บทความนี้จะนำเสนออย่างสังเขปถึงแนวคิดด้านความมั่นคงที่เรียกว่า “เขตห้ามบิน” คืออะไร หากมีการประกาศใช้แล้ว จะเกิดผลอะไรตามมา และถ้าไม่ประกาศใช้แล้ว ฝ่ายตะวันตกจะมีอะไรเป็นทางเลือก? นิยาม แนวคิดเรื่องการประกาศ “เขตห้ามบิน” เป็นเรื่องใหม่ในทางการเมืองระหว่างประเทศ และเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น และหากย้อนกลับไปในยุคสงครามเย็น เราจะไม่เห็นแนวคิดนี้มาก่อน ดังนั้น…