samsung ติดอันดับหนึ่งในคำที่ถูกใช้เป็นรหัสผ่านมากที่สุดในปี 2021 แฮ็กได้ภายใน 7 วินาที

Loading

  จากรายงานของ นอร์ดพาส (Nordpass) พบว่า samsung เป็นหนึ่งในรหัสผ่านที่ถูกใช้งานมากที่สุด โดยมีการใช้งานมากถึง 30 ประเทศ และถือเป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอย่างมาก   นอร์ดพาส ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันด้านการจัดการรหัสผ่าน เปิดเผยการศึกษา ซึ่งพบว่า ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน, สมาร์ททีวี ไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ได้มีการตั้งรหัสผ่านที่มีความปลอดภัยต่ำ และเป็นความเสี่ยงที่จะถูกเจาะได้อย่างง่ายดายโดยผู้ไม่ประสงค์ดีบนโลกอินเทอร์เน็ต   ทั้งนี้ นอร์ดพาส ระบุว่า การใช้รหัสผ่านว่า “samsung” ติดอันดับรหัสผ่านยอดแย่ในอันดับที่ 78 ในปี 2021 แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การใช้รหัสผ่านด้วยคำว่า “samsung” แบบสั้น ๆ เพียงอย่างเดียว ถูกใช้งานมากขึ้น เพราะในการศึกษาของนอร์ดพาส เคยพบว่า รหัสผ่านนี้เคยอยู่ในอันดับที่ 198 ในปี 2019 และขยับขึ้นมาเป็น 189 ในปี 2020   อันที่จริงควรกล่าวว่า การใช้รหัสผ่านด้วยชื่อแบรนด์สินค้าไม่ได้มีแต่เพียงซัมซุงเท่านั้น แต่ยังมีรหัสผ่านอื่น ๆ…

NordPass รายงาน Password ยอดฮิตปี 2022: 123456 ตกไปอันดับ 2 “password” ขึ้นที่ 1

Loading

  NordPass ผู้พัฒนาแอปจัดการรหัสผ่าน ออกรายงานรหัสผ่านยอดนิยมประจำปี 2022 (Top 200 Most Common Passwords) โดยบอกว่าแม้ผู้คนจะตื่นตัวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น แต่พฤติกรรมเก่า ๆ ก็ยังคงอยู่   โดยรหัสผ่านยอดนิยม ที่รวบรวมจากนักวิจัยอิสระและพาร์ตเนอร์ จากฐานข้อมูลหลุดมาซึ่งรวบรวมไว้ขนาด 3TB พบว่า password คือรหัสผ่านยอดนิยมอันดับที่ 1 แซงหน้า 123456 แชมป์เก่าปีที่แล้วไปได้   รหัสผ่านยอดนิยมอื่นที่น่าสนใจ เช่น tinder Oscars batman euphoria encanto ซึ่งมาจากกระแสความนิยมในหัวข้อตามช่วงเวลานั้น   การจัดอันดับครั้งนี้ NordPass ยังคงมีตัวเลือกดูแบบแยกรายประเทศ และเพิ่มเติมคือแยกตามเพศ หากมีการระบุในฐานข้อมูล ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลประเทศไทยในรายงานปีนี้   10 อันดับรหัสผ่านยอดนิยมของปี 2022 เป็นดังนี้ – password – 123456 – 123456789 – guest…

น่าเป็นห่วง บริษัทไทยตกเป็นเป้าหมาย แฮ็กเกอร์จ้องขโมย Password

Loading

  ในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา เรามักเห็นข่าวว่าช่อง Youtuber และเว็บไซต์ของธุรกิจไทยบางแห่งโดนโจมตีโดยการขโมย Password แล้วเข้าไปเปลี่ยนข้อมูลภายในเว็บ จ้องทำลายเว็บ หรือเป็นเส้นทางในการโจมตีส่วนอื่น ๆ ต่อไป เช่น การดักจับข้อมูลและใช้ Ransomware โจมตี   ล่าสุด Kaspersky ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติของการโจมตีธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) โดยครึ่งแรกของปี 2022 พบว่าอาชญากรไซเบอร์ได้โจมตีผ่านเว็บจำนวน 11,298,154 ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในไทยมีสถิติการโจมตีมากกว่า 1.4 ล้านครั้งที่ Kaspersky สามารถบล็อกได้   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ประเภทหนึ่งที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดขึ้นได้จากช่องโหว่ของผู้ใช้ปลายทาง (Endpoint) บริการเว็บเซอร์วิส และผู้พัฒนา/ผู้ให้บริการเว็บเซอร์วิส ซึ่งหากไม่ได้มีระบบป้องกันที่ดีพอ้และผู้ใช้ไม่ทันระวังตัว ก็อาจทำให้เกิดการโจมตีดังกล่าวได้   นอกเหนือจากภัยคุกคามทางเว็บแล้ว แคสเปอร์สกี้ยังตรวจพบโทรจันขโมยพาสเวิร์ด Trojan-PSW (Password Stealing Ware) จำนวน 373,138 รายการ (ในไทย 31,917) ที่พยายามแพร่กระจายสู่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในภูมิภาค SEA โดย Trojan-PSW…