ผ่าแนวคิด “สกมช.” มือปราบภัยไซเบอร์ รับมือ ภัยคุกคามป่วนหนัก

Loading

  ภัยไซเบอร์ ที่คุกคามเข้ามาส่งผลกระทบให้กับคนไทยในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะมีรูปแบบเดิม ๆ คือ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ ฟิชชิ่ง แล้ว ทุกวันนี้ออนไลน์ต้องเผชิญหน้ากับภัยจากการหลอกลวงให้โอนเงิน กดลิงก์ปลอม หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน หรือ แม้แต่การเสียบสายชาร์จสมาร์ตโฟน ก็สามารถทำให้เงินหายเกลี้ยงบัญชีได้ รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) เพื่อรับผิดชอบในส่วนนี้โดยเฉพาะ   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสกมช. กล่าวว่า ภัยไซเบอร์ขององค์กรปีนี้ยังคงพบความเสี่ยงขององค์กรที่ไม่มีการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ จนกลายเป็นช่องโหว่ของ แก๊งแรนซัมแวร์ ในการขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ ประจาน และเปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั่วโลกมีบริษัทถูกแฮกข้อมูลกว่า 100 บริษัทต่อเดือน   ขณะที่ประเทศไทยถูกแฮก เฉลี่ยเดือนละ 5-6 บริษัท แต่ไม่มีใครเปิดเผย เพราะกลัวมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พีดีพีเอ   เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญมากมีบริการ เครดิต วอช ด้วยการซื้อประกันข้อมูลรั่ว หากข้อมูลรั่วบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าและรัฐบาล เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยต้องมีบริการรูปแบบนี้…

สกมช.เตรียมแก้ กม.เพิ่มอำนาจปรับหน่วยงานระบบไอทีไม่ปลอดภัย

Loading

    เหตุเป็นช่องแฮกเกอร์เจาะข้อมูล หลังพบสถิติองค์กรไทยถูกแก๊งแรนซัมแวร์ขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ เดือนละ 5-6 บริษัท   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) กล่าวว่า ภัยไซเบอร์ขององค์กรปีนี้ยังคงพบความเสี่ยงขององค์กรที่ไม่มีการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ จนกลายเป็นช่องโหว่ของ แก๊งแรนซัมแวร์ ในการขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ ประจาน และเปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั่วโลกมีบริษัทถูกแฮกข้อมูลกว่า 100 บริษัทต่อเดือน ขณะที่ประเทศไทยถูกแฮกเฉลี่ยเดือนละ 5-6 บริษัท แต่ไม่มีใครเปิดเผย เพราะกลัวมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พีดีพีเอ   ทั้งนี้ เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยมีบริการ เครดิต วอช ด้วยการซื้อประกันข้อมูลรั่ว หากข้อมูลรั่วบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าและรัฐบาล เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยต้องมีบริการรูปแบบนี้ เพราะ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีโทษปรับทางปกครองสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท กับหน่วยงานที่ปล่อยให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว   อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สกมช.มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานระบบไอทีให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ…

แนวทางในการคัดเลือก เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)

Loading

  เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer:DPO) ถือเป็นบุคคลสำคัญในการกำกับดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร   พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้กำหนดหน้าที่ในการจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้ โดยให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มี DPO ในกรณีดังต่อไปนี้   (1) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นหน่วยงานของรัฐตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด หรือ   (2) การดำเนินกิจกรรมของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลหรือระบบอย่างสม่ำเสมอโดยเหตุที่มีข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมากตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด หรือ   (3) “กิจกรรมหลัก” ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 26   ในปัจจุบัน คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยังไม่ได้มีการออกประกาศตามข้อ (1) และ (2) ดังกล่าวข้างต้น   ในส่วนของบุคคลที่จะทำหน้าที่ DPO กฎหมายกำหนดว่าอาจเป็นพนักงานของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือเป็นผู้รับจ้างให้บริการตามสัญญาก็ได้เช่นกัน   หน้าที่หลัก ๆ ของ DPO คือ การให้คำแนะนำและตรวจสอบองค์กรนั้น ๆ ในการปฏิบัติและดำเนินการให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ…

กฎหมาย PDPA ที่หลายหน่วยงาน ยังไม่มีความตระหนัก

Loading

  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประกาศมาตั้งแต่เดือนพ.ค. พ.ศ. 2562 และเลื่อนการบังคับใช้มาหลายรอบ จนกระทั่งเริ่มบังคับใช้กันอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ปีที่ผ่านมา แม้หลายหน่วยงาน โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่จะเตรียมตัวกันอย่างจริงจัง และตระหนักต่อกฎหมาย PDPA นี้   วันหนึ่งนิติบุคคลของหมู่บ้านแจ้งในไลน์กลุ่มว่า ขณะนี้นิติบุคคลได้เปลี่ยนบริษัทที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. ซึ่งไม่เพียงแต่เก็บบัตรประชาชนของผู้มาติดต่อไว้ชั่วคราวในการแลกบัตรเข้าออกหมู่บ้าน แต่จะเพิ่มมาตรการให้มีระบบถ่ายรูปทะเบียนรถพร้อมบัตรประชาชนผู้ที่มาติดต่ออีกด้วย   เมื่อเห็นข้อความเช่นนี้ ผมก็ตกใจเพราะเพียงแค่เก็บบัตรประชาชนไว้ชั่วคราวโดยไม่ได้มีการขออนุญาตก็ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) แล้ว แต่ยังจะถ่ายรูปเก็บไว้อีกด้วย ซึ่งเมื่อติงไปว่าอาจผิดกฎหมาย PDPA คำตอบที่ได้รับคือ ที่อื่น ๆ ก็ทำกัน ข้อสำคัญเราแค่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์   ความเห็นคนในหมู่บ้านในเรื่องนี้ก็ค่อนข้างจะหลากหลาย แต่ส่วนหนึ่งก็คิดว่าต้องการจะเก็บข้อมูลเพื่อเอาไว้ตรวจสอบผู้มาติดต่อในหมู่บ้าน ไม่น่าจะมีปัญหาว่าขัดต่อกฎหมาย เพราะหลายหมู่บ้านก็ทำกัน   เช่นกันกับการเข้าออกอาคารสำนักงานต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็ต้องแลกบัตร รวมทั้งบางคนก็มองว่ากฎหมาย PDPA น่าจะหมายถึงการห้ามนำข้อมูลคนอื่นมาทำให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญแก่เจ้าของข้อมูล และคิดว่าการเก็บข้อมูลเพื่อความปลอดภัยและตรวจสอบน่าจะทำได้   พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประกาศมาตั้งแต่เดือน พ.ค. พ.ศ. 2562 และเลื่อนการบังคับใช้มาหลายรอบ จนกระทั่งเริ่มบังคับใช้กันอย่างจริงจังเมื่อวันที่…

ขอเชิญแสดงความคิดเห็นร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้ PDPA ระหว่าง 2-20 พ.ย.65

Loading

  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 จำนวน 1 ฉบับ คือ   ร่างประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. ดาวน์โหลด     ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะต่อร่างกฎหมายลำดับรองดังกล่าว  คลิก ในระหว่างวันที่ 2 – 20 พฤศจิกายน 2565 (เวลา 16.30 น.)     กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562  ดาวน์โหลด     ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม   02 141 6993 หรือ 02 142 1033       ————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : เว็บไซต์กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม Link : https://www.mdes.go.th/mission/detail/4941-รับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล-พ-ศ–2562—ชุดที่-4

ควบคุมการใช้ ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) แบบไหนจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

Loading

  เมื่อการใช้ประโยชน์จาก ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ สามารถสร้างรายได้ สร้างชื่อเสียง ขณะเดียวกัน การนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องก็สามารถทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือสูญเสียทรัพย์สินได้ หลายประเทศจึงบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมดูแลการใช้ข้อมูลของภาคส่วนต่าง ๆ   ตั้งแต่มีการออก กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ General Data Protection Regulation: GDPR ของสหภาพยุโรป และบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 จนถึงการบังคับใช้กฎหมาย PDPA ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ข้อมูลจากเว็บไซต์ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development หรือ UNCTAD) ระบุว่า มี 137 จาก 194 ประเทศที่ออกกฎหมายเพื่อปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัว โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีสัดส่วนการบังคับใช้กฎหมายแล้ว 57%   กฎควบคุมการใช้ Data มีอิมแพ็กต่อการลงทุน   รู้หรือไม่ การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าว ส่งผลต่อการลงทุนของบริษัทข้ามชาติ…