PDPA ทางเลือกทางรอด ไปต่อได้หรือไม่ | ศุภวัชร์ มาลานนท์

Loading

  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือที่เรียกกันติดปากว่า PDPA จะมีผลใช้บังคับทั้งฉบับ 1 มิถุนายนนี้ แต่ก็ดูเหมือนจะมีเสียงสะท้อนมาจากภาคอุตสาหกรรมถึงความไม่พร้อมหลายๆ ประการ รวมถึงข้อกังวลที่กฎหมายลำดับรองต่าง ๆ ยังไม่ออกมาใช้บังคับอีกด้วย ซึ่งก็เป็นเสียงสะท้อนที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความสำคัญและควรพิจารณาอย่างรอบด้าน ผู้เขียนในฐานะนักวิชาการจึงขอแสดงความคิดเห็นเพื่อหาทางออกร่วมกัน ดังนี้ (1) PDPA เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่เป็นระเบียบใหม่ของโลก การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรฐานสากล เป็นประเด็นที่จะถูกนำมาเป็นข้อกำหนดและเงื่อนไขเพื่อกีดกันทางการค้าได้ในอนาคต การใช้บังคับของกฎหมายที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ๆฟจะช่วยส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยในภาพรวม หนึ่งในมาตรฐานสูงสุด ณ ขณะนี้ได้แก่ GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป ที่เป็นต้นแบบสำคัญของ PDPA ของไทย ดังนั้น การมีสภาพบังคับของ PDPA จึงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในแง่ของการมีกฎหมายที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล (2) GDPR ใช้บังคับในเขตเศรษฐกิจยุโรปและสหภาพยุโรปรวม 30 ประเทศ หากรวมกับ UK GDPR ด้วย (แม้ว่าจะ Brexit แล้วแต่ยังใช้กฎหมายที่เป็นฉบับเดียวกับ GDPR ในเชิงเนื้อหา) จะรวมเป็น 31 ประเทศที่ใช้กฎหมายฉบับเดียวกัน GDPR จึงกลายเป็นกฎหมายที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ณ…

‘เธียรชัย’ ยัน ‘1 มิ.ย.’ ไทยบังคับใช้ ‘ก.ม. PDPA’

Loading

  ประธาน คกก.คุ้มครองส่วนบุคคล ยัน 1 มิ.ย.ไทยจะประกาศใช้กฎหมาย PDPA เป็นประเทศที่ 3 ของอาเซียน ดึงงานวิจัยจุฬาเป็นวิธีการปฎิบัติ ไม่มีบทลงโทษทางกฎหมาย สร้างการรับรู้ให้องค์กรเตรียมตัว ย้ำประกาศล่าช้าตัดโอกาสประเทศ ยกระดับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลองค์กรไทยสู่มาตรฐานสากล   นายเธียรชัย ณ นคร ประธานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เปิดเผยกับ “กรุงเทพธุรกิจ” และสื่อในเครือเนชั่น ว่า ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้ โดยไม่เลื่อนการบังคับใช้ ตามที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เสนอ เนื่องจากขณะนี้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขึ้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา   ขณะเดียวกัน ยังมองว่าการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิทธิพื้นฐาน และจะกลายระเบียบใหม่ของโลก ที่ขณะนี้มีประเทศในกลุ่มอียู และกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่อียู 50 ประเทศ การบังคับใช้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากไทยไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีมาตรฐานไม่น้อยกว่า…

PDPA กฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องรู้

Loading

คอลัมน์ Great Talk กลางปีนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมาย PDPA ที่ย่อมาจาก Personal Data Protection Act จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิ.ย. 2565 กฎหมาย PDPA นี้ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้ อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ หรือจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ กฎหมาย PDPA เรียกได้ว่าถอดแบบมาจากกฎหมายต้นแบบอย่างกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป วัตถุประสงค์ของการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีทำการแฮกข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวเพื่อข่มขู่หวังผลประโยชน์จากทั้งจากตัวเจ้าของข้อมูลเองหรือจากบุคคลที่ดูแลข้อมูล STEP 1 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล 1. จัดทำ…

Check list การเตรียมความพร้อม PDPA ของหน่วยงาน

Loading

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีรายละเอียดหลายประการที่องค์กรจะต้องจัดเตรียม ทั้งในด้านของเอกสารและกระบวนการ บทความนี้ได้รวบรวมข้อสรุปเบื้องต้นในการตรวจสอบความพร้อม องค์กรสามารถนำข้อสรุปเบื้องต้นนี้ไปพิจารณาประกอบ เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย ผู้เขียนจำแนกเป็น 2 ส่วนคือ ข้อกำหนดตามกฎหมายที่ให้องค์ต้องจัดทำและตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีภายในองค์กร ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ มีข้อกำหนดตามกฎหมายให้องค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลปฏิบัติหลายหลายประการ อาทิ (1) การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer) กฎหมายกำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอาจจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 41 ซึ่งอาจแต่งตั้งจากพนักงานภายในองค์กรหรือแต่งตั้งผู้รับจ้างให้บริการตามสัญญา (2) การจัดทำประกาศความเป็นความส่วนตัว หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อของ Privacy Notice ซึ่งเป็นการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับรายละเอียด วิธีการ การดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงรายละเอียดก่อนหรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ตามมาตรา 23 (3) การจัดทำบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผล (Records of Processing Activities) พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่ในการจัดให้มีบันทึกรายการกิจกรรมอย่างน้อยตามที่ระบุไว้ในมาตรา 39 เพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสำนักงานฯ สามารถตรวจสอบได้ (4) การจัดทำแบบคำขอความยินยอม (Consent Form) ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ความยินยอมเป็นฐานทางกฎหมายในการประมวลผล หลักเกณฑ์ในการขอความยินยอมต้องเป็นไปตามมาตรา 19…

พร้อมรับมือ PDPA สรุป 10 สิ่งที่องค์กรต้องเตรียมพร้อม

Loading

    หลายคนคงคุ้นหูกับคำว่า PDPA มาบ้าง ว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองส่วนบุคคล สำหรับผู้ประกอบการหรือองค์กรที่มีการจัดเก็บ รวบรวม หรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อใช้ดำเนินงานในองค์กรหรือเพื่อการประกอบธุรกิจ ก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ทั้งสิ้น เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิด หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือพนักงานในองค์กรไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะมีโทษทางกฎหมายตามมา รวมถึงความน่าเชื่อถือขององค์กรที่เสียไปอีกด้วย   สิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมความพร้อมก่อนที่กฎหมาย PDPA จะบังคับใช้เต็มรูปแบบในเดือนมิถุนายน 2565 ไม่ได้มีเพียงเรื่องการขอความยินยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น (Consent) แต่การจัดทำ Consent Management เพียงอย่างเดียว ยังไม่ถือว่าครอบคลุม ยังมีการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ซึ่งรวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านระบบที่รองรับและเอกสารทางกฎหมาย การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งการสร้าง Awareness ด้าน PDPA ให้กับพนักงานในองค์กร มาดูกันว่านอกจากการทำระบบขอ Consent ตาม PDPA แล้ว องค์กรยังมีอะไรต้องเตรียมอะไรอีกบ้าง     1. Data Inventory Mapping สิ่งแรกที่องค์กรควรดำเนินการ คือ การจัดทำ Data…

แจกเอกสารต้นแบบสำหรับการทำ PDPA

Loading

  เชื่อว่าหลายๆองค์กรน่าจะขยับตัวเตรียมการรับมือกับ PDPA หรือกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาระยะหนึ่งแล้ว แต่หากท่านใดที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมและเอกสารอ้างอิงแบบลายลักษณ์อักษรมาติดตามได้ที่นี่เลยครับ วันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับเว็บไซต์ https://openpdpa.org/ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำ PDPA อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ว่าขั้นตอนควรมีอะไรบ้าง อย่างไรก็ดีสิ่งที่หลายคนอาจจะยังติดขัดและจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายก็คือเอกสารอย่างเป็นทางการ เช่น การขอใช้ข้อมูลส่วนบุคคล การขอใช้สิทธิในการเป็นเจ้าของข้อมูล โดยในหน้า https://openpdpa.org/pdpa-template/ ได้แจกเอกสารต้นแบบที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้ถึง 7 แบบฟอร์ม นอกจากนี้ในเว็บไซต์ยังได้มีบทความให้ความรู้เพิ่มเติมด้วย     ที่มา : techtalkthai    /   วันที่เผยแพร่ 2 ก.พ.65 Link : https://www.techtalkthai.com/pdpa-document-template/