เจออีก มัลแวร์ซ่อนใน Word แฮ็กเกอร์ช่างสรรหาวิธีการโจมตี

Loading

  นักวิจัยของ HP เปิดเผยข้อมูลของมัลแวร์ตัวใหม่ที่ฝังโค้ดเก็บไว้ในคุณสมบัติเอกสารของไฟล์เอกสาร Microsoft Word ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ   โค้ดอันตรายนี้มีชื่อว่า SVCReady มันจะถูกซ่อนอยู่ในไฟล์เอกสารที่ส่งผ่านอีเมลแบบกระจาย ในลักษณะของการโจมตีแบบฟิชชิ่ง ซึ่งหากผู้ใช้กดดาวน์โหลดไฟล์เอกสารไป มัลแวร์จะทำงานโดยการรันเพย์โหลด และโหลดมัลแวร์เพิ่มเติมครับ หากเครื่องใดไม่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ก็จะมีความเสี่ยงมากที่สุด   เทคนิคซ่อนมัลแวร์ในลักษณะนี้ทำให้ตรวจจับได้ยากขึ้นมาก เพราะมันมักจะไม่ถูกตรวจสอบผ่านซอฟต์แวร์ความปลอดภัย และไฟล์เอกสาร Word ก็เป็นไฟล์ที่นิยมใช้กันทั่วโลก ทำให้หลายคนไม่ได้ทันระวังกับไฟล์ที่ถูกส่งมา และทำให้มันแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว   สิ่งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ไห้มัลแวร์ตัวนี้เข้าสู่ระบบ คือมีกฎทองสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือ ห้ามเปิดไฟล์ที่แนบมา หากไม่มั่นใจที่มา หรือไม่ว่าเนื้อหาในอีเมลจะพยายามบอกให้เราต้องรีบโหลดแค่ไหนก็ตาม   เพราะอีเมลฟิชชิงมักจะพยายามใส่ความเร่งด่วนให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อ ด้วยการเรียกร้องให้ดำเนินการบางอย่าง เช่น การบอกว่าบัญชีจะถูกบล็อกหรือเงินในบัญชีจะถูกหัก หากไม่กดลิงก์หรือดาวน์โหลดไฟล์นี้ในทันที มีวิธีสังเกตที่น่าสนใจอีกอย่าง คือฟิชชิ่งพวกนี้มักจะแนบมาในอีเมลที่สะกดผิด   ที่มาข้อมูล   https://tech.co/news/malware-word-documents-email-inbox     ————————————————————————————————————————- ที่มา :         Techhub         …

ระวังตัว!! กลลวงเว็บปลอมใหม่เช็กแค่ลิงก์คงไม่พอ เนียนยันช่อง URL

Loading

  เชื่อว่าช่วงหลัง ๆ ที่ผ่านมานี้ ผู้ท่องโลกอินเทอร์เน็ตหลาย ๆ คนก็น่าจะได้รับคำเตือนจากที่ต่าง ๆ ว่าเมื่อใดที่มีการเข้าถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ และต้องใส่ข้อมูลการเข้าระบบหรือข้อมูลส่วนตัว ให้ทำการตรวจสอบลิงก์หรือ URL ของเว็บนั้นก่อนเสมอว่าใช่เว็บที่ต้องการทำธุรกรรมจริง ๆ หรือไม่ เพื่อป้องกันการโดนขโมยข้อมูลไปแบบไม่รู้ตัว   ใครจะไปรู้ว่าในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น การเช็กเพียง URL อาจจะไม่ปลอดภัยอีกต่อไป เพราะนักวิจัยด้านความปลอดภัยและนักทดสอบเจาะระบบ mr.d0x ได้ออกมาเปิดเผยว่าในปัจจุบัน เว็บปลอมสามารถเนียนได้มากกว่าการจดโดเมนด้วยชื่อที่คล้าย ๆ กััน สามารถทำให้หน้าเว็บไซต์ให้ดูน่าเชื่อถือด้วยวิธีง่ายนิดเดียว       การเข้าสู่ระบบในบริการต่าง ๆ หลาย ๆ ครั้งเราจะสามารถเลือกเข้าสู่ระบบด้วยบริการอื่น ๆ ได้ เช่น Apple, Google, หรือ Facebook เพื่อแสดงหน้าป็อปอัปเพื่อทำการเข้าสู่ระบบ ซึ่งนี่ก็คือช่องโหว่ที่ผู้ไม่หวังดีสามารถจู่โจมได้นั่นเอง ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการโคลนและทำหน้าป็อปอัปขึ้นมาใหม่ พร้อมกับแถบ URL ที่ดูน่าเชื่อถึง โดยใช้เพียง HTML และ…

Mailchimp ยอมรับถูกโจมตี แฮ็กเกอร์เข้าถึงข้อมูลลูกค้า

Loading

credit : logowik   Mailchimp ได้ยอมรับเหตุถูกโจมตีจากบัญชีของพนักงานภายใน ส่งผลให้แฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ให้บริการลูกค้าและนำไปก่อเหตุ Phishing ต่อได้   Siobhan Smyth, CISO ของ Mailchimp ยอมรับจากคำสอบถามของ BleepingComputer ว่า “เมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมาทีมงานได้รับทราบเหตุการเข้าถึงเครื่องมือภายในที่ใช้ดูแลลูกค้า ซึ่งเกิดจากการที่พนักงานภายในของเราตกเป็นเหยื่อ Social Engineering ทำให้คนร้ายได้ Credentials ไป”   อย่างไรก็ดีหลังจากทราบเรื่องบริษัทได้จัดการบัญชีที่มีปัญหาพร้อมแจ้งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบแล้ว ซึ่ง Credentials เหล่านี้ได้มีการถูกใช้เข้าถึงบัญชีกว่า 319 บัญชีและยังมีการนำออกข้อมูลที่คาดว่าน่าจะเป็นลิสต์อีเมลของลูกค้ากว่า 102 ราย นอกจากนี้คนร้ายยังเข้าถึง API Keys ที่ส่งผลกระทบกับลูกค้าหลายราย (ไม่เปิดเผยจำนวน) แต่ทีมงานได้จัดการแล้ว   Trezor Hardware เป็นลูกค้ารายหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีครั้งนี้ โดยคนร้ายได้ส่งเมลไปหาลูกค้าของ Trezor พร้อมหลอกให้รีเซ็ตรหัสผ่าน PIN ของ Wallet โดยการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์อันตรายเข้ามาเพื่อขโมยเงินดิจิทัลต่อไป ซึ่งเหตุการณ์ได้ถูกเปิดเผยจากเจ้าของของ Trezor…

โจรโซเชียล โผล่มุกใหม่ระบาด “ไลน์” ไม่อยากโดนหลอกต้องดู เตือนแล้วนะ

Loading

  เพจตำรวจ เตือนภัยมิจฉาชีพออนไลน์ มามุกใหม่ เพื่อหลอกให้กดลิงค์ผ่าน “ไลน์” แนะประชาชนตรวจสอบให้ดีก่อนตกเป็นเหยื่อ   หากพูดถึง ภัยไซเบอร์ในปัจจุบัน เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินข่าวการโจมตีสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจต่าง ๆ หรือหน่วยงานภาครัฐมาบ้างแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้น ภัยไซเบอร์ อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ทางศูนย์ฯ จะพาไปทำความรู้จักภัยไซเบอร์ ใกล้ตัวแต่ละประเภทที่ควรรู้ รวมถึงแนะนำวิธีรับมือและป้องกันตนเองจากภัยที่อาจเกิดขึ้นจาก “ไลน์”   ทางเพจ PCT Police ได้ออกมาเตือนถึง ภัยมิจฉาชีพออนไลน์ใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ มิจฉาชีพ มามุกใหม่ เพื่อหลอกให้กดลิงค์ผ่าน “ไลน์”   แอด “ไลน์” มาแสร้งเป็นคนดี แจ้งเตือนเหยื่อ ว่ามีคนเอาภาพเหยื่อไปทำในทางที่ไม่ดี โดยการส่งลิงค์มาให้กดดู ถ้าเผลอกดเข้าไปหละก้อ อาจจะโดนไวรัสเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เงินในบัญชีอาจจะหมดไม่รู้ตัว   จะคลิกลิงก์อะไร ตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนนะครับ ว่าเป็นลิงค์ที่ปลอดภัย ไม่งั้นตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพพวกนี้แน่นอน       นอกจากมิจฉาชีพจะมาทาง “ไลน์” แล้วยังมีอีกหลายวิธีที่โจรโซเชียลเหล่านี้จะนำมาใช้ โดยมีดังนี้…

บริษัทความปลอดภัยอีเมลเผย Phishing บน Microsoft 365 แบบ “ดึกดำบรรพ์”เริ่มกลับมาอีกครั้ง

Loading

  ดูเหมือนว่าทริกในการโจมตีผู้ใช้ Microsoft 365 แบบดั้งเดิมในการทำ Phishing อีเมลเริ่มกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง โดย Vade บริษัทความปลอดภัยอีเมลเผยว่าเทคนิค Right-to-Left Override (RLO) ได้กลับมาเป็นรูปแบบการโจมตีที่เกิดขึ้นมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้   โดยเทคนิคการโจมตี Right-to-Left Override นั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ หากแต่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ 2 ทศวรรษก่อนแล้ว ซึ่งมุ่งหวังที่จะหลอกล่อให้ผู้ใช้ Microsoft 365 กดคลิกไปที่ไฟล์แนบที่มีการปลอมแปลงสกุลของไฟล์ไว้ด้วยเทคนิค “ขวาไปซ้าย” ซึ่งในอดีตนั้นทริกดังกล่าวมักจะถูกใช้เพื่อปลอมแปลงสกุลไฟล์ “.exe” เอาไว้ โดยทำให้ผู้ใช้งานคิดว่ากำลังเปิดไฟล์ “.txt” อยู่นั่นเอง   วิธีการคือจะมีตัวอักขระ RLO (U+202e ใน Unicode) ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับภาษาที่ต้องเขียนจากขวาไปซ้ายได้ อย่างเช่น ภาษาอารบิคหรือฮิบรู ซึ่งถ้าหากใส่อักขระดังกล่าวไว้ในชื่อไฟล์ก็จะมีการเปลี่ยนลำดับตัวอักษรที่ตามหลังจากซ้ายไปขวาให้กลายเป็นขวาไปซ้ายได้   ตัวอย่างเช่น ไฟล์ที่ฝังมัลแวร์ไว้มีชื่อว่า “Fordoc.exe” เมื่อใส่อักขระ RLO ไว้อยู่หน้าตัวอักษร ‘d’ ก็จะทำให้ชื่อไฟล์แสดงผลเป็น “Forexe.doc” แทน ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนนึกว่ากำลังจะเปิดไฟล์…

รวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีจากราชบัณฑิตยสภา

Loading

  รวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีจากราชบัณฑิตยสภา โดยเพจสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้รวบรวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาไทย พร้อมกับความหมายของคำ ที่เชื่อว่าบางท่านอาจไม่รู้ว่า ศัพท์นี้เรียกเป็นคำไทยว่าอะไร ความหมายเป็นอะไร และเขียนอย่างไร เพจนี้ได้รวมไว้นานแล้วเป็นอัลบั้มเลยทีเดียว เลยจะมาดูคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีเป็นภาษาไทยกัน   รวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีจากราชบัณฑิตยสภา ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ * หมายเหตุ ศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภาที่เผยแพร่นี้มีจุดประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะนำข้อเสนอแนะของท่านไปปรับปรุงแก้ไของค์ความรู้ที่เผยแพร่นี้ก่อนจะบันทึกลงฐานข้อมูลงานวิชาการและจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มต่อไป   cyber bully การระรานทางไซเบอร์ ความหมายคือ การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์   cybersecurity ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ภาวะที่เครือข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และข้อมูล พ้นจากภัยคุกคาม มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ คงความลับ คงความถูกต้องครบถ้วน และคงความพร้อมใช้งาน ภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยบุคลากร กระบวนการทำงาน และเครื่องมือ ที่เหมาะสม   cybercrime;…