IBM ออกรายงาน เหตุการณ์ Data Breach นั้นมีค่าความเสียหายสูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก

Loading

  IBM ออกรายงาน พบว่าเหตุการณ์ Data Breach ในปัจจุบันส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายสำหรับความเสียหายสูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก   IBM Security ออกรายงาน 2022 Cost of a Data Breach Report โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านการรั่วไหลของข้อมูลหรือ Data Breach จากองค์กรกว่า 550 องค์กรทั่วโลก ในช่วงเดือนมีนาคม 2021 ถึงเดือนมีนาคม 2022 พบว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความเสียหายนั้นสูงแตะระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยมีค่าเสียหายเฉลี่ยอยู่ที่ 4.35 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 159 ล้านบาท   ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เพิ่มขึ้นประมาณ​ 13% เมื่อเทียบกับสองปีก่อน องค์กรกว่า 83% นั้นเกิดเหตุการณ์ Data Breach มากกว่า 2 ครั้ง และ 50% มีค่าใช้จ่ายในการจัดการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยาวนานกว่า 1 ปี ขณะที่บริษัทที่ลงทุนในระบบ Cybersecurity สมัยใหม่…

แคสเปอร์สกี้ โชว์สถิติ ‘ฟิชชิ่ง’ ภัยร้ายโจมตีองค์กรธุรกิจ

Loading

  อาชญากรไซเบอร์มักคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการส่งข้อความสแปมและฟิชชิ่งไปยังทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและองค์กรธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางดิจิทัลในช่วงการระบาดใหญ่ เพื่อโจมตีแบบโซเชียลเอนจิเนียริง   แคสเปอร์สกี้ พบว่า การใส่หัวข้อและวลียอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมออนไลน์ในข้อความ เช่น การชอปปิง การสตรีมความบันเทิง การระบาดของโควิด-19 ทำให้เพิ่มโอกาสที่ผู้ใช้จะไม่สงสัยและคลิกลิงก์ที่ติดมัลแวร์หรือไฟล์แนบที่เป็นอันตรายขึ้นอย่างมาก   ปีที่ผ่านมาระบบป้องกันฟิชชิ่ง (Anti-Phishing) ของแคสเปอร์สกี้บล็อกลิงก์ฟิชชิ่งลิงก์กว่า 11,260,643 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิชชิ่งลิงก์ส่วนใหญ่ถูกบล็อกบนอุปกรณ์ของผู้ใช้แคสเปอร์สกี้ในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ส่วนในไทยพบการโจมตีกว่า 1,287,283 รายการ     ระบาดหนัก-แค่จุดเริ่มต้น   เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า อีเมลยังเป็นการสื่อสารรูปแบบหลักสำหรับการทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   การพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งจำนวน 11 ล้านรายการในหนึ่งปี เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของการโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อข้อมูลสำคัญทั้งหมดถูกส่งผ่านอีเมล อาชญากรไซเบอร์มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพและสามารถทำกำไรได้   ดังนั้น องค์กรควรตรวจสอบเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบองค์รวมและเชิงลึกอย่างรอบคอบ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเซิร์ฟเวอร์อีเมลที่มีความสำคัญมาก   ข้อมูลระบุว่า ในปี 2564 ลิงก์ฟิชชิ่งทั่วโลกจำนวน 253,365,212…

เจออีก มัลแวร์ซ่อนใน Word แฮ็กเกอร์ช่างสรรหาวิธีการโจมตี

Loading

  นักวิจัยของ HP เปิดเผยข้อมูลของมัลแวร์ตัวใหม่ที่ฝังโค้ดเก็บไว้ในคุณสมบัติเอกสารของไฟล์เอกสาร Microsoft Word ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ   โค้ดอันตรายนี้มีชื่อว่า SVCReady มันจะถูกซ่อนอยู่ในไฟล์เอกสารที่ส่งผ่านอีเมลแบบกระจาย ในลักษณะของการโจมตีแบบฟิชชิ่ง ซึ่งหากผู้ใช้กดดาวน์โหลดไฟล์เอกสารไป มัลแวร์จะทำงานโดยการรันเพย์โหลด และโหลดมัลแวร์เพิ่มเติมครับ หากเครื่องใดไม่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ก็จะมีความเสี่ยงมากที่สุด   เทคนิคซ่อนมัลแวร์ในลักษณะนี้ทำให้ตรวจจับได้ยากขึ้นมาก เพราะมันมักจะไม่ถูกตรวจสอบผ่านซอฟต์แวร์ความปลอดภัย และไฟล์เอกสาร Word ก็เป็นไฟล์ที่นิยมใช้กันทั่วโลก ทำให้หลายคนไม่ได้ทันระวังกับไฟล์ที่ถูกส่งมา และทำให้มันแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว   สิ่งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ไห้มัลแวร์ตัวนี้เข้าสู่ระบบ คือมีกฎทองสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือ ห้ามเปิดไฟล์ที่แนบมา หากไม่มั่นใจที่มา หรือไม่ว่าเนื้อหาในอีเมลจะพยายามบอกให้เราต้องรีบโหลดแค่ไหนก็ตาม   เพราะอีเมลฟิชชิงมักจะพยายามใส่ความเร่งด่วนให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อ ด้วยการเรียกร้องให้ดำเนินการบางอย่าง เช่น การบอกว่าบัญชีจะถูกบล็อกหรือเงินในบัญชีจะถูกหัก หากไม่กดลิงก์หรือดาวน์โหลดไฟล์นี้ในทันที มีวิธีสังเกตที่น่าสนใจอีกอย่าง คือฟิชชิ่งพวกนี้มักจะแนบมาในอีเมลที่สะกดผิด   ที่มาข้อมูล   https://tech.co/news/malware-word-documents-email-inbox     ————————————————————————————————————————- ที่มา :         Techhub         …

ระวังตัว!! กลลวงเว็บปลอมใหม่เช็กแค่ลิงก์คงไม่พอ เนียนยันช่อง URL

Loading

  เชื่อว่าช่วงหลัง ๆ ที่ผ่านมานี้ ผู้ท่องโลกอินเทอร์เน็ตหลาย ๆ คนก็น่าจะได้รับคำเตือนจากที่ต่าง ๆ ว่าเมื่อใดที่มีการเข้าถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ และต้องใส่ข้อมูลการเข้าระบบหรือข้อมูลส่วนตัว ให้ทำการตรวจสอบลิงก์หรือ URL ของเว็บนั้นก่อนเสมอว่าใช่เว็บที่ต้องการทำธุรกรรมจริง ๆ หรือไม่ เพื่อป้องกันการโดนขโมยข้อมูลไปแบบไม่รู้ตัว   ใครจะไปรู้ว่าในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น การเช็กเพียง URL อาจจะไม่ปลอดภัยอีกต่อไป เพราะนักวิจัยด้านความปลอดภัยและนักทดสอบเจาะระบบ mr.d0x ได้ออกมาเปิดเผยว่าในปัจจุบัน เว็บปลอมสามารถเนียนได้มากกว่าการจดโดเมนด้วยชื่อที่คล้าย ๆ กััน สามารถทำให้หน้าเว็บไซต์ให้ดูน่าเชื่อถือด้วยวิธีง่ายนิดเดียว       การเข้าสู่ระบบในบริการต่าง ๆ หลาย ๆ ครั้งเราจะสามารถเลือกเข้าสู่ระบบด้วยบริการอื่น ๆ ได้ เช่น Apple, Google, หรือ Facebook เพื่อแสดงหน้าป็อปอัปเพื่อทำการเข้าสู่ระบบ ซึ่งนี่ก็คือช่องโหว่ที่ผู้ไม่หวังดีสามารถจู่โจมได้นั่นเอง ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการโคลนและทำหน้าป็อปอัปขึ้นมาใหม่ พร้อมกับแถบ URL ที่ดูน่าเชื่อถึง โดยใช้เพียง HTML และ…

Mailchimp ยอมรับถูกโจมตี แฮ็กเกอร์เข้าถึงข้อมูลลูกค้า

Loading

credit : logowik   Mailchimp ได้ยอมรับเหตุถูกโจมตีจากบัญชีของพนักงานภายใน ส่งผลให้แฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ให้บริการลูกค้าและนำไปก่อเหตุ Phishing ต่อได้   Siobhan Smyth, CISO ของ Mailchimp ยอมรับจากคำสอบถามของ BleepingComputer ว่า “เมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมาทีมงานได้รับทราบเหตุการเข้าถึงเครื่องมือภายในที่ใช้ดูแลลูกค้า ซึ่งเกิดจากการที่พนักงานภายในของเราตกเป็นเหยื่อ Social Engineering ทำให้คนร้ายได้ Credentials ไป”   อย่างไรก็ดีหลังจากทราบเรื่องบริษัทได้จัดการบัญชีที่มีปัญหาพร้อมแจ้งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบแล้ว ซึ่ง Credentials เหล่านี้ได้มีการถูกใช้เข้าถึงบัญชีกว่า 319 บัญชีและยังมีการนำออกข้อมูลที่คาดว่าน่าจะเป็นลิสต์อีเมลของลูกค้ากว่า 102 ราย นอกจากนี้คนร้ายยังเข้าถึง API Keys ที่ส่งผลกระทบกับลูกค้าหลายราย (ไม่เปิดเผยจำนวน) แต่ทีมงานได้จัดการแล้ว   Trezor Hardware เป็นลูกค้ารายหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีครั้งนี้ โดยคนร้ายได้ส่งเมลไปหาลูกค้าของ Trezor พร้อมหลอกให้รีเซ็ตรหัสผ่าน PIN ของ Wallet โดยการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์อันตรายเข้ามาเพื่อขโมยเงินดิจิทัลต่อไป ซึ่งเหตุการณ์ได้ถูกเปิดเผยจากเจ้าของของ Trezor…

โจรโซเชียล โผล่มุกใหม่ระบาด “ไลน์” ไม่อยากโดนหลอกต้องดู เตือนแล้วนะ

Loading

  เพจตำรวจ เตือนภัยมิจฉาชีพออนไลน์ มามุกใหม่ เพื่อหลอกให้กดลิงค์ผ่าน “ไลน์” แนะประชาชนตรวจสอบให้ดีก่อนตกเป็นเหยื่อ   หากพูดถึง ภัยไซเบอร์ในปัจจุบัน เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินข่าวการโจมตีสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจต่าง ๆ หรือหน่วยงานภาครัฐมาบ้างแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้น ภัยไซเบอร์ อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ทางศูนย์ฯ จะพาไปทำความรู้จักภัยไซเบอร์ ใกล้ตัวแต่ละประเภทที่ควรรู้ รวมถึงแนะนำวิธีรับมือและป้องกันตนเองจากภัยที่อาจเกิดขึ้นจาก “ไลน์”   ทางเพจ PCT Police ได้ออกมาเตือนถึง ภัยมิจฉาชีพออนไลน์ใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ มิจฉาชีพ มามุกใหม่ เพื่อหลอกให้กดลิงค์ผ่าน “ไลน์”   แอด “ไลน์” มาแสร้งเป็นคนดี แจ้งเตือนเหยื่อ ว่ามีคนเอาภาพเหยื่อไปทำในทางที่ไม่ดี โดยการส่งลิงค์มาให้กดดู ถ้าเผลอกดเข้าไปหละก้อ อาจจะโดนไวรัสเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เงินในบัญชีอาจจะหมดไม่รู้ตัว   จะคลิกลิงก์อะไร ตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนนะครับ ว่าเป็นลิงค์ที่ปลอดภัย ไม่งั้นตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพพวกนี้แน่นอน       นอกจากมิจฉาชีพจะมาทาง “ไลน์” แล้วยังมีอีกหลายวิธีที่โจรโซเชียลเหล่านี้จะนำมาใช้ โดยมีดังนี้…