‘แฮ็กเกอร์’ ถูกเปิดโปงประวัติการโจมตีทางไซเบอร์ ไทยไม่รอด!

Loading

  ปัจจุบันแฮ็กเกอร์คือปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยมีการเลือกใช้และพัฒนาวิธีและกลยุทธ์ที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งเป้าการโจมตีไปที่การโจรกรรม การทำให้หยุดชะงัก และ ผลประโยชน์ทางการเงิน เป็นหลัก ไม่นานมานี้มีการออกมาเผยแพร่ชุดเครื่องมือของแฮ็กเกอร์ โครงสร้างและกระบวนการการโจมตี และยังมีข้อมูลการก่อเหตุต่างๆ โดยแก๊งแฮ็กเกอร์นี้รู้จักกันในนามของ Dark Cloud Shield จุดเด่นคือ ใช้เครื่องมือที่มีความซับซ้อนออกลาดตระเวน   อย่างเช่น WebLogicScan – เครื่องสแกนช่องโหว่ WebLogic ที่ใช้ Python, Vulmap – ใช้ประเมินช่องโหว่ของเว็บ Xray – สแกนช่องโหว่ของเว็บไซต์โดยเฉพาะ, Dirsearch ใช้ค้นเส้นทาง URL โดยแก๊งนี้เลือกใช้วิธีการโจมตีหลักผ่านการใช้ประโยชน์จากการติดตั้งซอฟต์แวร์ “Zhiyuan OA” ผ่านการโจมตี “SQL insert” ที่กำหนดเป้าหมายไปที่องค์กรเภสัชกรรมของเกาหลีใต้ หลังจากการแสวงหาประโยชน์จากส่วนต่างๆ ในระบบแล้ว แฮ็กเกอร์ใช้เครื่องมือขั้นสูงในการยกระดับสิทธิ์ เช่น “Traitor” สำหรับระบบ Linux และ “CDK” สำหรับสภาพแวดล้อม “Docker” และ “Kubernetes”  …

เม็กซิโกเจออาชญากรรมทางไซเบอร์อ่วม เหตุสัมพันธ์ใกล้ชิดสหรัฐฯ

Loading

ฟอร์ทิเนท (Fortinet) บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดเผยผลวิจัยระบุว่า เม็กซิโกเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นจำนวนเกินครึ่งหนึ่งของที่มีการรายงานทั้งหมดในลาตินอเมริกาในช่วงครึ่งแรกของปี 2567

‘Threat Intelligence’ ช่วยคาดการณ์ การโจมตีของ ‘แรนซัมแวร์’

Loading

ปัจจุบันแรนซัมแวร์ (Ransomware) คือการโจมตีที่น่ากลัวที่สุด จากการสำรวจมีเพิ่มขึ้นถึง 29% ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 และมีมัลแวร์ใหม่ที่ใช้โจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น 40%

เตือนแบบใด รัฐบาลอินโดโดนล็อคไฟล์ สุดท้ายได้คีย์จากแฮ็กเกอร์

Loading

ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติของอินโดนีเซียถูก Ransomware เล่นงาน จนไฟล์ข้อมูลสำคัญมากมายโดนล็อครหัส ทว่าภายหลังกลุ่มแฮ็กเกอร์ได้ส่งคีย์ถอดรหัสมาให้

สรุปผลดำเนินงาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปี 66 คาดปีนี้ Hacked Website ภัยคุกคามที่พบมาก

Loading

สรุปผลดำเนินงาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 1 ต.ค.65-30 ก.ย.66 แนวโน้มนปี 2567 Hacked Website ยังเป็นภัยคุกคามที่มีโอกาสพบเป็นจำนวนมาก

สหรัฐฯ กล่าวหารัสเซียโจมตีทางไซเบอร์ต่อยูเครนก่อนใช้ปฏิบัติการทางทหาร

Loading

เว็บไซต์ Cybernews รายงานเมื่อ 27 มิ.ย. 67 ว่า คณะลูกขุนใหญ่ของรัฐแมริแลนด์ สหรัฐฯ สั่งฟ้องนาย Amin Timovich Stigal อายุ 22 ปี ชาวรัสเซียที่ทำงานในหน่วยข่าวกรองไซเบอร์ของกองทหารรัสเซีย (GRU) ด้วยข้อหาใช้มัลแวร์ WisperGate โจมตีหน่วยงานรัฐบาลของยูเครนและทำลายระบบคอมพิวเตอร์ ช่วงก่อนเริ่มปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครน ห้วง ก.พ.65 โดยตั้งรางวัลนำจับสูงสุดกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับผู้ที่สามารถระบุตำแหน่งหรือกิจกรรมทางไซเบอร์ของเขาได้