‘Threat Intelligence’ ช่วยคาดการณ์ การโจมตีของ ‘แรนซัมแวร์’
ปัจจุบันแรนซัมแวร์ (Ransomware) คือการโจมตีที่น่ากลัวที่สุด จากการสำรวจมีเพิ่มขึ้นถึง 29% ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 และมีมัลแวร์ใหม่ที่ใช้โจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น 40%
ปัจจุบันแรนซัมแวร์ (Ransomware) คือการโจมตีที่น่ากลัวที่สุด จากการสำรวจมีเพิ่มขึ้นถึง 29% ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 และมีมัลแวร์ใหม่ที่ใช้โจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น 40%
สรุปผลดำเนินงาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 1 ต.ค.65-30 ก.ย.66 แนวโน้มนปี 2567 Hacked Website ยังเป็นภัยคุกคามที่มีโอกาสพบเป็นจำนวนมาก
FBI ประกาศความสำเร็จในการแฮ็กเซิร์ฟเวอร์ของกลุ่ม Blackcat หรือ ALPHV กลุ่มให้บริการมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware-as-a-service) อันดับสองของโลกเมื่อนับตามมูลค่าไถ่ที่เรียกได้ พร้อมกับแจกโค้ดโปรแกรมถอดรหัสแจกจ่ายเหยื่อที่ถูกโจมตีกว่า 500 ราย
อาชญากรไซเบอร์มุ่งเป้าไปที่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงิน โดยการเรียกค่าไถ่ หรือหลอกขโมยข้อมูลรหัสผ่านที่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ และข้อมูลที่สำคัญดังกล่าวไปเปิดเผยต่อสาธารณะหรือขายในตลาดมืดได้ ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการโจมตีแรนซัมแวร์ที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมการเงิน และขั้นตอนที่สามารถดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยลงได้
ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ยังคงเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลของทุกหน่วยงานและองค์กร ไม่ว่าจะทั้งในประเทศและต่างประเทศก็ตาม ด้วยรูปแบบการโจมตีที่หลากหลายซึ่งได้รับการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ทำให้มีความซับซ้อนเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ ในวันนี้ผมขอหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับแรนซัมแวร์ที่กำลังเป็นที่สนใจในต่างประเทศอย่างแก๊งแรนซัมแวร์ Cyclops ที่ได้ออกประกาศนำเสนอมัลแวร์ที่สามารถขโมยและดักจับข้อมูลละเอียดอ่อนจากโฮสต์ที่ติดไวรัสแล้ว และแน่นอนว่าตัวการที่อยู่เบื้องหลังการคุกคามคือ Ransomware-as-a-Service (RaaS) คือแพลตฟอร์มที่ให้บริการเช่ามัลแวร์เพื่อเรียกค่าไถ่กับเหยื่อ โดยจะมีการแบ่งผลกำไรเมื่อมีการดำเนินการแรนซัมเรียบร้อย Cyclops ransomware มีความโดดเด่นในเรื่องการกำหนดเป้าหมายที่ระบบปฏิบัติการเดสก์ท๊อปหลักทั้งหมด รวมถึง Windows, macOS และ Linux นอกจากนี้ยังได้รับการออกแบบมาเพื่อหยุดกระบวนการที่อาจขัดขวางการเข้ารหัส โดย Cyclops ransomware เวอร์ชัน macOS และ Linux เขียนด้วย Golang ซึ่งแรนซัมแวร์ใช้โครงร่างการเข้ารหัสที่มีความซับซ้อนและผสมผสานระหว่างการเข้ารหัสแบบอสมมาตรและสมมาตร (Asymmetric and Symmetric encryption) สำหรับการโจรกรรมแบบ Go-based ออกแบบมาเพื่อ Windows และ Linux จะดักจับข้อมูลในระบบปฏิบัติการ อาทิ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน process และไฟล์สำคัญต่าง ๆ…
เซบาสเตียน วาชอน-เดฆาแดงส์ (Sebastien Vachon-Desjardins) อดีตที่ปรึกษาด้านไอทีของหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งในแคนาดา วัย 34 ปี ถูกศาลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ตัดสินจำคุก 20 ปี จากกรณีที่เขามีส่วนในปฏิบัติการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ NetWalker จนได้เงินไปถึง 21 ล้านเหรียญ (ราว 785 ล้านบาท) วาชอน-เดฆาแดงส์ยอมรับว่ามีส่วนร่วมในปฏิบัติการโจมตีด้วย NetWalker ซึ่งเป็นบริการมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware-as-a-service – RaaS) ที่เขาใช้ในการโจมตีองค์กรต่าง ๆ ในสหรัฐฯ และแคนาดา มากกว่า 17 แห่ง กระบวนการสืบสวนนี้เป็นความร่วมมือ 3 ประเทศ ระหว่างสหรัฐฯ แคนาดา และเบลเยียม ก่อนจะถูกส่งตัวมายังสหรัฐฯ วาชอน-เดฆาแดงส์ เคยถูกตำรวจแคนาดาเข้าจับกุมในปี 2021 และถูกตัดสินจำคุกถึง 5 ปี ในระหว่างการตรวจค้นบ้าน เจ้าหน้าที่พบเงินคริปโทเคอเรนซีจำนวน 719 Bitcoin…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว