ช่วงเกษียณระวังมิจฉาชีพ! ตร.ไซเบอร์เตือน 3 ภัยออนไลน์คนร้ายนิยมใช้หลอกเหยื่อ

Loading

ตำรวจไซเบอร์เตือน 3 ภัยออนไลน์ ที่มิจฉาชีพใช้ ‘การเกษียณอายุราชการ’ มาใช้ในการหลอกลวงเหยื่อ ตามที่ในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี จะมีข้าราชการต่าง ๆ ครบกำหนดอายุการรับราชการ หรือที่เรียกว่าเกษียณอายุราชการ นั้น ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่มีมิจฉาชีพมักนำมาใช้หลอกลวงประชาชน หรือนำมาแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย

เปิดใจหญิงผู้ถูกสแกมเมอร์ขโมยภาพไปหลอกรักออนไลน์ จนผู้ชายสูญเงินเป็นล้าน

Loading

  เป็นเวลากว่า 1 ทศวรรษ ที่ภาพของอดีตนักแสดงในรายการสำหรับผู้ใหญ่ถูกใช้หลอกเงินเหยื่อรวมมูลค่ามหาศาล แล้วบุคคลที่ถูกนำภาพไปใช้ล่ะ รู้สึกอย่างไร   ทุกวัน แวเนสซา จะได้ข้อความจากผู้ชายที่เชื่อว่า พวกเขามีความสัมพันธ์เชิงรักใคร่กับเธอ บางคนถึงกับคิดว่าเธอเป็นภรรยาของพวกเขา   พวกเขาโกรธ สับสน และอยากได้เงินคืน พวกเขาบอกว่า โอนเงินให้เธอนำไปใช้จ่ายรายวัน จ่ายค่ารักษาพยาบาล และช่วยเหลือญาติมิตร   แต่นั่นเป็นคำโกหกทั้งหมด แวเนสซา ไม่รู้จักผู้ชายเหล่านี้เลย แต่ภาพและวิดีโอของเธอ ในชีวิตที่พ้นจากวงการหนังผู้ใหญ่ ถูกลักลอบนำไปใช้เพื่อหลอกลวงหาคู่ หรือ “พิศวาสอาชญากรรม” (romance scam) ย้อนไปตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 2000s   เหยื่อเหล่านี้ ถูกหลอกเงินจากบัญชีออนไลน์ที่ใช้ชื่อ หรือรูปโปรไฟล์ของแวเนสซา หรือเป็นการหลอกลวงประเภท catfishing แปลว่า การใช้ภาพคนอื่นมาแอบอ้างเป็นตัวเอง แล้วไปล่อลวงคนอื่น   “ฉันเริ่มซึมเศร้า โทษตัวเอง เพราะถ้ารูปของฉันไม่ได้ถูกนำไปใช้ ผู้ชายเหล่านี้ก็ไม่ต้องถูกหลอกเงิน” แวเนสซา กล่าว โดยบีบีซีไม่ใช้นามสกุลของเธอ เพื่อพิทักษ์ตัวตนของเธอ ไม่ให้ถูกนำไปใช้ประโยชน์   เป็นเวลา…

สหรัฐฯ เตือนการหลอกลวงผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คพุ่งสูง ปี 2021 เสียหายเกิน 25,000 ล้านบาท

Loading

  กรรมการการค้ารัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Federal Trade Comission – FTC) ออกมาเตือนว่าการหลอกลวงออนไลน์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คทั้งหลายยังคงระบาดหนัก ปริมาณผู้เสียหายและมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนปีล่าสุดมีผู้เสียหายถึง 95,000 คน รวมยอดความเสียหายกว่า 770 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 25,000 ล้านบาท   การหลอกลวงที่สร้างความเสียหายอันดับหนึ่งคือการหลอกลวงไปลงทุน คนร้ายอาจจะสร้างตัวตนปลอม หรือแฮกเข้าบัญชีคนอื่นเพื่อเข้าไปพูดคุยกับเหยื่อ หลอกให้ลงทุนที่ได้กำไรดีจนเหยื่อยอมโอนเงินให้ โดยมักให้โอนเป็นเงินคริปโตแล้วก็หายตัวไป   รองลงมาคือการหลอกเป็นแฟน (romance scam) จากการพูดคุยด้วยคำหวานต่างๆ แล้วขอเงินจากเหยื่อ   อันดับสามคือการหลอกขายสินค้าด้วยการยิงโฆษณาบนโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ แต่เหยื่อไม่ได้สินค้า   FTC แนะนำให้ จำกัดการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บโซเชียลเหล่านี้, ถ้ามีเพื่อนส่งข้อความว่าต้องการเงินฉุกเฉินควรโทรติดต่อเจ้าตัวเพื่อตรวจสอบอีกทีเสมอ โดบคนร้ายมักขอให้ส่งเงินเป็นเงินคริปโต, บัตรของขวัญ, หรือโอนเงิน สุดท้ายคือหากมีคนมาขอเป็นเพื่อนแล้วเริ่มกลายเป็นความสัมพันธ์โรแมนติกอย่างรวดเร็ว ให้คิดให้รอบคอบขึ้นสักหน่อย และอย่าโอนเงินให้คนที่ไม่เคยพบหน้า   ที่มา – FTC   ——————————————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา : Blognone by lew …