FBI เตือน! ระวังแฮ็กเกอร์ส่งคำขอข้อมูลปลอม เพื่อขโมยข้อมูลลับของผู้ใช้งาน

Loading

  FBI ได้เตือนว่าแฮ็กเกอร์ได้คิดค้นวิธีใหม่ในการขโมยข้อมูล นั่นคือการโจมตีอีเมลทางการของหน่วยงานรัฐบาลและกรมตำรวจ จากนั้นจะนำมาใช้ส่งคำขอข้อมูล “ฉุกเฉิน”   คำขอข้อมูล “ฉุกเฉิน” เป็นกระบวนการที่ทางการสามารถขอให้บริษัทแบ่งปันข้อมูลที่ปกติถือเป็นความลับได้ มักใช้ในสถานการณ์ที่มีเดิมพันสูง เช่น ในกรณีที่ความปลอดภัยหรือชีวิตของบุคคลอยู่ในความเสี่ยง   นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักฉ้อโกงพยายามใช้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้ อย่างไรก็ตาม ตามประกาศสาธารณะที่ FBI ยื่นเมื่อสัปดาห์นี้ พบว่าการโจมตีในลักษณะดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม   เจ้าหน้าที่ตรวจพบ scam เหล่านี้ได้อย่างไร?   FBI สังเกตเห็นโพสต์จำนวนหนึ่งจากแฮ็กเกอร์เหล่านี้บนฟอรั่มออนไลน์ ในช่วงปี 2023 และ 2024 ซึ่งพวกเขาอ้างว่ามีการเข้าถึงอีเมลที่ใช้โดยทางการสหรัฐฯ   เหตุการณ์ล่าสุดเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2024 เมื่ออาชญากรไซเบอร์ที่มีชื่อเสียงโพสต์ขายอีเมลของรัฐบาลที่มีคุณภาพสูงและข้อมูลการวิศวกรรมสังคมที่สามารถใช้ในการจารกรรม ลงบนฟอรั่มออนไลน์   ผู้ที่โพสต์ขายระบุว่าผู้ซื้อจะได้รับเอกสารหมายเรียกจริงที่ถูกขโมยมา และจะได้รับคำแนะนำในระหว่างกระบวนการ   โดยปกติแล้ว เมื่อคุณยื่นคำขอเข้าถึงข้อมูล คุณต้องมีการชี้แจงทางกฎหมายก่อน ซึ่งรวมถึงคำสั่งศาลและหมายเรียก (เฉพาะกรณีฉุกเฉินบางกรณีเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่ต้องมีเอกสารทางกฎหมาย)   อย่างไรก็ตาม นี่ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับแฮ็กเกอร์อีกต่อไป เพราะแค่เข้าถึงอีเมลรัฐบาลได้ ก็สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการสร้างหมายเรียกที่ดูเหมือนจริง   โดยปกติ บริษัทจะตรวจสอบคำขอเหล่านี้อย่างละเอียด แต่ไม่ใช่ในกรณีฉุกเฉิน…

สิงคโปร์เผยระบบตรวจเว็บปลอมป้องกัน scam ส่งข้อมูลบล็อคเว็บไปแล้ว 16,000 แห่ง

Loading

สิงคโปร์เป็นอีกประเทศที่เจอปัญหา scam หลอกลวงเงิน แบบเดียวกับประเทศไทย ที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์มีมาตรการหลายอย่างเพื่อป้องกันปัญหา เช่น ระบบล็อคเงินห้ามถอนออนไลน์, ความร่วมมือกับกูเกิลบล็อคแอปใน Play Store, ทำฐานข้อมูลชื่อผู้ส่ง SMS ทั้งประเทศ

สิงคโปร์คดีหลอกลวงออนไลน์พุ่งเกือบ 50% เสียหาย 1.74 หมื่นล้านบาท

Loading

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า จำนวนคดีหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต หรือ สแกม (scam) ในประเทศสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 8 ติดต่อกันในปี 2566 โดยในปีดังกล่าวมีการแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ถึง 46,563 คดี เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 46.8% สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติในปี 2559

ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps สำหรับกลุ่มธุรกิจและร้านค้า พร้อมวิธีป้องกัน

Loading

    ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps เชื่อว่าหลายท่านใช้ Google Maps ในช่วงระหว่างเดินทาง หาร้านค้าเด็ด สถานที่โดนๆ เนื่องด้วยความนิยมของข้อมูล Google Maps ที่ใช้งานฟรี ให้ข้อมูลฟรีแบบนี้ กลายเป็นเป้าหมายหลักของมิจฉาชีพ กับการโกงด้านข้อมูลบน Google Maps ที่เรียกว่า Google Maps Scam มาดูกันว่าสิ่งที่ต้องระวังและลักษณะการโกงบน Google Maps มีอะไรบ้าง ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps สำหรับกลุ่มธุรกิจและร้านค้า   นี่คือตัวอย่างกลโกง 5 ข้อ ที่พบบน Google Maps ดังนี้   จ่ายเงินเพื่อเสนอรายชื่อใน Google Maps ให้โดดเด่นขึ้น   รายชื่อบน Google Maps ค่อนข้างมีประโยชน์สำหรับทุกธุรกิจ ช่วยให้ลูกค้าค้นพบธุรกิจและรู้ว่าจะเข้าถึงพวกเขาเมื่อใดและอย่างไร มิจฉาชีพจึงหาทางเข้าหาเหยื่อโดยอุบายให้เสนอรายชื่อบน Google Maps และบางครั้งก็เสนอตำแหน่งที่โดดเด่น…

LinkedIn เริ่มบังคับยืนยันตัวตนด้วยอีเมลทำงาน-เบอร์โทร แก้ปัญหาบัญชีสแปม-หลอกลวง

Loading

  ไม่ได้มีแต่ Twitter ที่มีปัญหาบัญชีปลอมระบาด เพราะโซเชียลมีเดียอย่าง LinkedIn ก็มีปัญหาบัญชีปลอมเพื่อหลอก scam ด้วยเช่นกัน   ล่าสุด LinkedIn เพิ่มมาตรการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้เพิ่ม โดยต้องยืนยันอีเมลทำงาน (work email) หรือหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งจะถูกนำไปแสดงในหน้า About this Profile ว่ายืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้วจริง ๆ และยังเพิ่มการระบุวันที่สร้างบัญชี เพื่อให้ตรวจเช็คได้ง่ายขึ้นว่าเป็นบัญชีสร้างใหม่หรือไม่   ฟีเจอร์ตรวจสอบตัวตนยังทยอยปล่อยให้ผู้ใช้ในวงจำกัด และจะค่อย ๆ ขยายในวงกว้างขึ้นต่อไป   ที่มา – CNN     —————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                          Blognone by mk   …