เทียบมาตรการรัฐ VS เอกชน บล็อกมิจฉาชีพยุค AI กับคำถาม ทำไมมิจฉาชีพไม่หมดไป

Loading

การส่ง SMS คือช่องทางที่มิจฉาชีพใช้ AI ในการหลอกลวงประชาชนให้กดลิงก์ เป็นอันดับ 1 ควบคู่กับการใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือหลอกลวง โดยส่วนใหญ่มิจฉาชีพต้องการขโมยข้อมูลมากที่สุด โดย 53% เหยื่อมักสูญเงินให้มิจฉาชีพภายในไม่เกิน 24 ชั่วโมง

บล็อก SMS หลอกลวง แบนคอลเซ็นเตอร์ อีกบทบาทภารกิจร่วมสำนักงาน กสทช.

Loading

  SMS หลอกให้กู้เงิน หลอกให้โอนเงินในบัญชี หลอกว่าได้รับรางวัลและกรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือแม้แต่ปัญหาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการโทรมาหลอกลวงว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เช่น ตำรวจ ศาล และข่มขู่ว่ากระทำความผิด หลอกให้ลงทุนหรือโอนเงิน หรือปลอมเป็นหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทส่งของ เพื่อหลอกว่ามีพัสดุมาส่งต้องชำระเงิน หลอกว่าเป็นธนาคาร เพื่อหลอกว่ามียอดค้างชำระบัตรเครดิตต้องโอนมาชำระด่วน   นี่คือส่วนหนึ่งของมิจฉาชีพที่อาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสะดวกสบายในการสื่อสารหรือเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามจับกุมอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ที่ดำเนินการด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมของผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ให้บริการก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน     คุณจิตสถา ศรีประเสริฐสุข ผู้ช่วยเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ปัญหาเรื่อง SMS หลอกลวง หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นรูปแบบปัญหาที่หลายหน่วยงานจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภายใต้บทบาทและกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน ไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะแก้ไขปัญหาได้เองเพียงลำพัง ซึ่งบทบาทหลักของสำนักงาน กสทช. คือการสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และผู้ให้บริการ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของมิจฉาชีพเพื่อการจับกุม การปิดกั้นการใช้บริการโทรคมนาคมของมิจฉาชีพ เช่น…

กสทช. เตรียมทำระบบ SCAM Alert สกัดแก็งคอลเซ็นเตอร์

Loading

ภาพ : สำนักงาน กสทช.   กสทช. เตรียมทำระบบ SCAM Alert เพื่อสกัดแก็งคอลเซ็นเตอร์ โดยนายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองเลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเห็นว่าปัจจุบันปัญหาแก๊ง Call Center หลอกลวง สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ก่อให้เกิดความรำคาญและความเสียหายอื่นๆ รวมทั้งเสียทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมิจฉาชีพเองก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหลอกลวงอย่างรวดเร็ว การไล่ตามรูปแบบการหลอกลวงต่างๆ ให้ทันเป็นเรื่องยาก   กสทช. จึงเร่งออกมาตรการใหม่คือ SCAM Alert ที่เป็นการรวบรวมตัวอย่างการฉัอโกงผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิธีการแก้ไขเฉพาะหน้า และหน่วยงานที่ต้องติดต่อเพื่อตรวจสอบ หรือขอความช่วยเหลือ หรือร้องเรียน เพื่อสื่อสารกับประชาชนอย่างเร่งด่วน   กสทช. เห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ประกอบกับกฎหมายให้อำนาจ กสทช. ในการกำหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิดังกล่าว ตามมาตรา 32 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา…