เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)

Loading

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO) ถือเป็นบุคคลที่สำคัญในการช่วยให้การดำเนินการด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นกลไกสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หมดกันความเป็นส่วนตัว! เมื่ออากู๋ “Google” ขอขุดดาต้ามาสอน AI

Loading

  กำแพงความเป็นส่วนตัวถูกทำลายลงอีกครั้ง เมื่อ Search Engine ยักษ์ใหญ่อย่าง “Google” ขออนุญาต “ขุด” ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทุกอย่างที่เราเคยโพสต์ทางออนไลน์ ด้วยเหตุผลว่าจะนำไปสอน AI   การก้าวล้ำเส้นแบ่งของความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์เริ่มต้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อ Google ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัว โดยระบุอย่างชัดเจนว่าบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการขุดข้อมูลทุกอย่างที่พวกเราโพสต์ทางออนไลน์เพื่อสร้างเครื่องมือ AI   โดยนโยบายใหม่ของ Google ระบุว่า “Google จะใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงบริการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฟีเจอร์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ และสาธารณะ”     “Google” ยกตัวอย่างว่า ข้อมูลจะถูกใช้ฝึกโมเดล AI ของ Google และสร้างผลิตภัณฑ์รวมถึงฟีเจอร์ต่างๆ เช่น Google Translate, Bard และเพิ่มความสามารถของ Cloud AI ซึ่งเพิ่มเติมจากเดิมที่ Google เคยบอกว่าข้อมูลจะใช้สำหรับโมเดลภาษาเท่านั้น แต่ตอนนี้ได้กระโดดเข้ามาสู่ตลาด “AI” เป็นที่เรียบร้อย   ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ดูจะไม่ปกตินักคือ โดยทั่วไปแล้ว…

FBI เตือนให้ระวังโฆษณาปลอมบนเสิร์ชเอนจิน

Loading

  สำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐอเมริกา (FBI) ออกคำเตือนให้ระวังอาชญากรไซเบอร์ที่ซื้อโฆษณาปลอมบนเสิร์ชเอนจินที่จะลวงผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์อันตราย   อาชญากรเหล่านี้ซื้อโฆษณาที่จะปรากฎอยู่บนผลการค้นหาโดยใช้ชื่อโดเมนที่คล้ายกับธุรกิจที่มีอยู่จริง ซึ่งเมื่อคลิกแล้วจะนำผู้ใช้ไปยังหน้าเว็บที่ดูเหมือนของจริงมาก   ในคำแถลงเผยว่าเว็บไซต์เหล่านี้ซ่อนมัลแวร์เรียกค่าไถ่เอาไว้ รวมถึงจะขโมยข้อมูลการล็อกอิน และข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะแพลตฟอร์มคริปโทเคอเรนซี   โดยในบางเว็บไซต์จะมีบริการดาวน์โหลดโปรแกรมที่แท้จริงแล้วเป็นมัลแวร์ ขณะที่เว็บไซต์อีกส่วนหนึ่งที่หน้าตาเหมือนเว็บไซต์สถาบันทางการเงิน ก็จะหลอกให้ผู้ใช้งานเข้าล็อกอินโดยใส่รหัสผ่านจริง   FBI แนะนำวิธีการป้องกันโดยให้ตรวจสอบดูว่า URL นั้นเป็นของจริงและมีการสะกดคำผิดหรือไม่ พยายามใส่ URL เว็บไซต์ของธุรกิจที่ต้องการเข้าชมแทนการค้นหา และควรใช้ส่วนเสริมที่ปิดกั้นโฆษณา (ad blocking extension) บนเว็บเบราว์เซอร์       ——————————————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :                      beartai.com                  …

เมื่อ TikTok ถูกใช้หาข้อมูลแทน Google! มีรายงานชี้ว่า 1 ใน 5 ของวิดีโอนำเสนอข้อมูลที่ผิด

Loading

  TikTok สำหรับหลายคนเป็นแหล่งรวมวิดีโอสนุก ๆ ไว้ดูคั่นเวลาว่าง เป็นเหมือนพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจเอาไว้สำหรับความบันเทิง ซึ่งตัวแพลตฟอร์มมีอัลกอริทึมที่เรียนรู้ความชอบของผู้ใช้งานแต่ละคนและนำเอาวิดีโอที่คิดว่าเราน่าจะสนใจมาป้อนให้ดูอย่างไม่มีวันหมด (ซึ่งบางทีก็ติดพันดูไปเป็นชั่วโมงได้เหมือนกัน)   แต่อย่างที่เราทราบกันดีครับว่า TikTok ไม่ใช่แหล่งรวมวิดีโอเพื่อความบันเทิงเพียงเท่านั้น มันยังเป็นพื้นที่ของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากที่ต่าง ๆ ทั้งเชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้รวมกันไว้ในนี้ด้วย รายงานล่าสุดของนักวิจัยจาก NewsGuard (เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว) บอกว่า 1 ใน 5 (หรือ 20%) ของวิดีโอบน TikTok นั้นแสดงข้อมูลที่เป็นข่าวปลอมหรือมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง   ยกตัวอย่างถ้าค้นหาเรื่อง ‘mRNA Vaccine’ จะมีวิดีโอที่มีข้อมูลผิด ๆ ขึ้นมาถึง 5 คลิปใน 10 คลิปแรก อย่างเช่นวิดีโอหนึ่งบอกว่าวัคซีน Covid-19 นั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายกับอวัยวะสำคัญของเด็กแบบที่รักษาไม่หาย ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างโดยไม่มีข้อพิสูจน์หรือหลักฐานใด ๆ มาอ้างอิงเลย   แถม TikTok ยังแสดงคำค้นหาที่ส่อถึงอคติอันเอนเอียงด้วยอย่างเช่น ถ้าเราคนหา “Covid Vaccine” อัลกอริทึมของ TikTok ก็จะแนะนำขึ้นมาเพิ่มว่า “Covid…

นักวิจัยพบ แฮ็กเกอร์ใช้เทคนิค SEO จัดลำดับ PDF ที่ Malicious บน Search Engine

Loading

  ล่าสุดนี้เอง นักวิจัยจาก Netskope ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยได้เปิดเผยรายงาน Netskope Cloud and Threat Report : Global Cloud and Malware Trends ออกมา ซึ่งพบว่าการดาวน์โหลด Phishing เพิ่มสูงขึ้นถึง 450% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และยังไฮไลท์ด้วยว่าแฮ็กเกอร์กำลังเริ่มใช้การทำ Search Engine Optimization (SEO) ในการจัดลำดับไฟล์ PDF ที่ Malicious ให้ลำดับเจอต้น ๆ แล้ว นอกจากนี้ รายงานยังพบด้วยว่า ความพยายามในการทำ Phishing กำลังวิวัฒนาการไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง และแฮ็กเกอร์ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่เฉพาะพนักงานทำงานผ่าน Inbox ในอีเมลเท่านั้นแล้ว แต่ยังเริ่มแสวงหาคนกลุ่มใหม่ใน Search Engine ยอดนิยมอย่าง Google และ Bing ด้วย โดยอีกรายงานได้แสดงให้เห็นว่าในปี…

เป้าหมายใหม่ คำค้นหาสุดฮิต ถูกฝัง Malware ขโมยข้อมูล

Loading

  ใครจะไปรู้ว่าขณะที่กำลังค้นหาชื่อศิลปินคนโปรด หรือข่าวที่กำลังเป็นที่นิยมบนหน้าเว็บ คีย์เวิร์ดจะพาคุณไปติดกับดักมัลแวร์ที่รออยู่ปลายทาง   เพราะคำค้นหายอดฮิตอย่าง ชื่อคนดัง นักร้อง ภาพยนตร์ หรือเพลงโปรด กำลังกายเป็นเป้าหมายใหม่ของบรรดาอาชญากรไซเบอร์ที่หันมาใช้ประโยชน์จากเสิร์ชเอ็นจิ้น เพิ่มช่องทางฝั่งซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย ที่แพร่กระจายเข้าไปยังอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้โดยง่าย ทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ และแท็บเล็ต   นักวิจัยจาก Surfshark เผยข้อมูลสถิติตรวจจับสถิติมัลแวร์ที่พบจากคำค้นหายอดนิยมในหลายหมวดหมู่ คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออย่าง Harry Potter รวมถึงนักร้องอย่าง Billie Eilish เป็นนักร้องอันดับ 1 ที่ค้นหาโดยมีโอกาสมัลแวร์ 47.1% The Weekend, Eminem, Justin Bieber และ Ariana Grande   นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ยอดนิยมขวัญใจเด็กๆ จากค่ายดิสนีย์อย่าง Finding Dory , Beauty and the Beast , Toy Story 3 และ Zootopia  …