โรงไฟฟ้าถ่านหินระเบิดในอินเดียตายสยองอย่างน้อย 16 ศพ บาดเจ็บนับร้อย

Loading

เอเอฟพี/รอยเตอร์ – เกิดเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินแห่งหนึ่งของอินเดียในวันพุธ (1พ.ย.) เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 16 รายและบาดเจ็บราว 100 คน ขณะที่ตำรวจเตือนว่ายอดตายอาจพุ่งสูงกว่านี้ เนื่องจากหลายคนอาการสาหัส เหตุระเบิดเกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในรัฐอุตตรประเทศ ทางเหนือของอินเดีย ที่บริหารงานโดยเนชันแนล เทอร์มอล พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งมีรัฐเป็นเจ้าของ “มีผู้เสียชีวิต 10 รายและราว 40-50 คนบาดเจ็บสาหัส ยอดเสียชีวิตอาจสูงกว่านี้” จากการเปิดเผยของ อานันด์ คูมาร์ อธิบดีกรมตำรวจในลัคเนา เมืองเอกของรัฐอุตตรประเทศ อย่างไรก็ตามรอยเตอร์อ้างคำสัมภาษณ์ของนายอาวิน คูมาร์ ข้าราชการสูงสุดของรัฐที่ดูแลเรื่องการรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย เผยว่า “มีผู้เสียชีวิตราว 16 คนและบาดเจ็บราว 90-100 คน สืบเนื่องจากเหตุระเบิด” ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าอะไรคือต้นตอของการระเบิด แต่ผู้ปฏิบัติงานของรัฐเผยว่ากำลังเร่งมือภารกิจกู้ภัย หลังเคราะห์ร้ายเกิดอุบัติเหตุในหม้อน้ำที่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ส่วนรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์เผยให้เห็นภาพรถฉุกเฉินหลายคันกำลังรุดไปยังสถานที่เกิดเหตุ โยคี อาทิตยนาถ มุขมนตรีรัฐอุตตรประเทศ แสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและเสนอมอบเงินชดเชยรายละ 200,000 รูปี (ราว100,000บาท) อุบัติเหตุในสถานที่ทำงานเกิดขึ้นบ่อยครั้งในอินเดีย ขณะที่การไร้มาตรฐานด้านความปลอดภัยและไม่เคร่งครัดในการบังคับใช้กฎระเบียบต่างๆ มักนำมาซึ่งเหตุเสียชีวิตอันน่าสยดสยองของพวกคนงาน ขณะเดียวกันระบบจ่ายไฟฟ้าของอินเดีย ก็เกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก…

‘โดรน’ ให้คุณหรือโทษแก่มวลมนุษยชาติกันแน่?

Loading

อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ที่ล้ำสมัยขึ้นเรื่อยๆ ได้สร้างประโยชน์ให้กับนักวิทยาศาสตร์ ตำรวจ และภาคธุรกิจ แต่ในทางกลับกันราคาของโดรนที่ถูกลงและหาซื้อได้ง่ายนั้น อาจเป็นช่องทางในการผลิตอาวุธสังหารแบบเคลื่อนที่เร็วได้ด้วยเช่นกัน เรื่องนี้สร้างความกังวลให้กับวงการตำรวจ โดย Larry Satterwhite จาก Houston Police Department ในรัฐเท็กซัส บอกว่า เทคโนโลยีรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว และในฐานะตำรวจก็ต้องเล่นไล่จับกับเทคโนโลยีที่ใช้ในทางมิชอบในปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่ Richard Lusk นักวิทยาศาสตร์จาก Oak Ridge National Laboratory บอกว่า มีหลายเหตุการณ์ที่ใช้โดรนขนส่งยาเสพติดและอาวุธปืนไปให้กับนักโทษในเรือนจำสหรัฐฯ หรือในตะวันออกกลางได้ใช้โดรนทิ้งระเบิดเข้าทำร้ายพลเมืองเลยก็มี คุณ Richard ย้ำว่า แนวทางรับมือการโจมตีจากโดรน สามารถทำได้ด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำลายระบบควบคุมระบบระบุพิกัดบนโลก หรือ GPS ที่อยู่ภายในโดรน และใช้คลื่นวิทยุรบกวนระบบการสื่อสารระหว่างโดรนและผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม ในด้านมืดก็มีด้านสว่าง เพราะการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีโดรน อาจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยชีวิตผู้คนเอาไว้ได้เช่นกัน อย่างอุตสาหกรรมเคมี ได้เลือกใช้อากาศยานไร้คนขับนี้เพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายในและทำหน้าที่แทนมนุษย์ในงานที่เสี่ยงอันตราย ที่โรงกลั่นน้ำมัน Shell ใกล้กับเมือง Houston เริ่มใช้โดรนในงานเสี่ยงภัยแทนมนุษย์เมื่อปีก่อน Gary Scheibe ตัวแทนจากโรงกลั่นน้ำมัน…

ผู้ใช้เว็บไซท์ Yahoo หนึ่งพันล้านคนอยู่ในข่ายถูกเจาะล้วงข้อมูล

Loading

ผู้ใช้เว็บไซท์ Yahoo หนึ่งพันล้านคนอยู่ในข่ายถูกเจาะล้วงข้อมูล จากเหตุการณ์แฮคเกอร์จารกรรมข้อมูลของระบบเมื่อสามปีก่อน เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ใช่การเจาะล้วงข้อมูลเดียวกันกับการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ Yahoo 500 ล้านราย ที่เป็นข่าวในเดือนกันยายน จากการเจาะระบบของ Yahoo เมื่อสองปีก่อน ในครั้งล่าสุดนี้ ข้อมูลผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบอาจรวมถึงชื่อ email address เบอร์โทรศัพท์ และวันเดือนปีเกิด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม Yahoo ไม่คิดว่าข้อมูลบัตรเครดิต และบัญชีธนาคารอยู่ในข่ายถูกจารกรรมในครั้งนี้ ————————————————————————— ที่มา : VOA Thai / 16 ธันวาคม 2559 Link : http://www.voathai.com/a/business-news-ro-15dec16/3638688.html

รัฐสภาอเมริกันเรียกร้องให้สืบสวนกรณี ‘แฮกเกอร์รัสเซีย’ แทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

Loading

สมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ ของทั้งสองพรรค ต่างเรียกร้องให้มีการสืบสวนข้อกล่าวหาที่ว่ารัสเซียได้แทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อเดือนที่แล้ว โดยสมาชิกรัฐสภาบางคนขอให้มีการลงโทษแฮกเกอร์ชาวรัสเซียด้วย หากพบว่ามีความผิดจริง วุฒิสมาชิก Dianne Feinstein จากพรรคเดโมแครต ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการด้านข่าวกรองของวุฒิสภาสหรัฐฯ กล่าวกับวีโอเอว่า เป็นที่แน่ชัดแล้วว่ารัสเซียได้แทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะการลักลอบเจาะล้วงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองพรรค แต่เลือกเปิดเผยเฉพาะส่วนที่เป็นผลเสียต่อพรรคเดโมแครตเท่านั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อบิดเบือนการเลือกตั้งครั้งนี้ ทางด้านวุฒิสมาชิก Lindsey Graham จากพรรครีพับลิกัน เห็นด้วยว่ารัสเซียมีส่วนแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จริง โดยมีหลักฐานหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าแฮกเกอร์ชาวรัสเซียได้ลอบเจาะล้วงข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของพรรคการเมืองใหญ่ในสหรัฐฯ และมีการกระทำในลักษณะช่วยเหลือฝ่ายหนึ่งมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และยิ่งไม่ควรปล่อยให้ผ่านเลยไป สว. Graham กล่าวว่าตนต้องการให้มีการสืบสวนว่าแฮกเกอร์ชาวรัสเซียได้ข้อมูลอะไรไปบ้าง และควรมีมาตรการลงโทษต่อผู้รับผิดชอบเรื่องนี้อย่างไร แต่ดูเหมือนความเห็นของวุฒิสมาชิกจากพรรครีพับลิกันผู้นี้ ค่อนข้างขัดแย้งกับคำพูดของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ยืนยันว่ารัสเซียไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อเดือนตุลาคม ก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ เปิดเผยว่าเกิดการลอบเจาะล้วงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของผู้จัดการประชุมใหญ่ของพรรคเดโมแครต และอีเมล์ของอดีตประธานคณะหาเสียงของนางฮิลลารี่ คลินตั้น โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียอยู่เบื้องหลัง และมีการเปิดเผยทางเว็บไซต์ WikiLeaks ต่อมาสมาชิกพรรคเดโมแครตหลายคนได้จัดทำหนังสือถึงทำเนียบขาวให้มีการเปิดเผยรายละเอียดของการลอบเจาะล้วงข้อมูลดังกล่าว ขณะเดียวกัน สส. Eric Swalwell และ สส. Elijah Cummings จากพรรคเดโมแครต ได้นำเสนอร่างกฎหมายที่จะนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมของทั้งสองพรรค…

เยอรมันเรียกร้องให้เฟสบุ๊กมีมาตรการลบข่าวปลอม

Loading

รายงานข่าวจากสื่อมวลชนในเยอรมัน เมื่อ 13 ธ.ค.59 ว่ากลุ่มพรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายค้าน ต่างมีความเห็นและเรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมันดำเนินการต่อการปล่อยข่าวลวง ซึ่งรวมทั้งทำการลบข้อความเหล่านั้นที่ถูกเผยแพร่ใน facebook โดยเร็ว ด้วยคาดว่า การเลือกตั้งทั่วไปในเยอรมัน ซึ่งกำหนดมีขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2560 อาจตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของโซเวียตเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นกับการโจมตีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ผ่านมา ————————————————————————— ที่มา : POLITICO / 13 ธันวาคม 2559 Link : http://www.politico.eu/article/germany-considers-forcing-facebook-to-delete-fake-news/

“ข่าวปลอม” !! ปัญหาที่มาพร้อมสื่อสังคมออนไลน์ ส่งผลกระทบอย่างไร? ป้องกันได้หรือไม่?

Loading

ควันหลงจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปีนี้มีหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง “ข่าวปลอม” หรือ “Fake News”. Kim Lacapria ผู้จัดการฝ่ายข้อมูลของเว็บไซต์ Snopes.com ซึ่งติดตามดูการให้ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดได้ทางเว็บ ให้คำจำกัดความของคำว่า “ข่าวปลอม” ว่าเป็นข่าวในเว็บไซต์ที่ไม่มีความจริงเลย ในขณะเดียวกัน ลักษณะของ “ข่าวปลอม” ที่แพร่สะพัดอยู่ตามเว็บไซต์ในขณะนี้ นอกจากจะเป็นข่าวที่ไม่มีมูลความจริงแล้ว ยังอาจรวมข่าวที่มีมูลความจริงเล็กน้อย ส่วนที่เหลือถูกบิดเบือน หรือแสดงอคติของผู้เขียนข่าวก็ได้ “ข่าวปลอม” ซึ่งกำลังเป็นที่พูดถึงมากในสหรัฐขณะนี้ ทำให้เกิดการแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากในหมู่นักข่าว นักวิชาการ และผู้ที่ใช้สื่อสังคมโดยทั่วไป ในขณะเดียวกัน ก็สร้างความกดดันให้แก่นาย Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง Facebook ด้วย เพราะปรากฏว่า “ข่าวปลอม” เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อต้นเดือนนี้ มีผู้คนเข้าไปอ่านและแสดงความคิดเห็นในช่วงสามเดือนสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้ง มากกว่าข่าวพาดหัวของสำนักข่าวใหญ่ 29 แห่งด้วยกัน Mark Zuckerberg ถึงกับต้องออกมากล่าวว่า กำลังปรับปรุงวิธีกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกจาก Facebook อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับก็คือ “ข่าวปลอม” หรือข่าวที่ทำให้เข้าใจผิดได้ หรือที่มีความจริงบางส่วน เมื่อมีสื่อกลางยอดนิยมช่วยกระพือให้อย่างรวดเร็วทันใจ เช่น Facebook และ…