‘ไทย’ ได้ประโยชน์แค่ไหน จากต่างชาติลงทุน ‘ดาต้าเซ็นเตอร์’

Loading

  สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเขียนถึงโอกาสประเทศไทย ที่จะเป็น ศูนย์กลางดาต้าเซ็นเตอร์ในภูมิภาคอาเซียน แม้จากข้อมูลต่าง ๆ จะชี้ว่า เรายังตามหลังประเทศเพื่อนบ้านพอควร แต่เราก็มีโอกาสในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และการเข้ามาตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศ ก็เป็นไปตามแนวโน้มปริมาณการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเอไอที่เพิ่มขึ้น   การลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ มีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องพิจารณาหลายด้าน เริ่มจากโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง ซึ่งต้องเลือกทำเลที่ปลอดภัยและมีระบบสาธารณูปโภคพร้อม ตามด้วยการลงทุนในเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุด และน่าจะเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุด รวมถึงค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องต่ออายุเป็นประจำ ส่วนด้านการดำเนินงาน มีค่าใช้จ่ายหลัก คือ ค่าพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์และระบบทำความเย็น และสุดท้ายคือค่าเชื่อมต่อเครือข่ายที่ต้องมีความเร็วและเสถียรสูง   ในปัจจุบันดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ จะมีเซิร์ฟเวอร์เป็นหลักพันหรือหมื่นเครื่อง และมีค่าใช้ในการลงทุนจัดหาอุปกรณ์เหล่านี้มาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เทคโนโลยีเอไอกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 ดาต้าเซ็นเตอร์จะใช้ไฟฟ้าถึง 8% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา และต้องการการลงทุนด้านสาธารณูปโภคกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อรองรับการประมวลผลเอไอในดาต้าเซ็นเตอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล   ความท้าทายหลักมาจากการที่ระบบเอไอที่ต้องการกำลังการประมวลผลสูงมาก ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ต้องลงทุนมากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในการเช่า ดาต้าเซ็นเตอร์ระยะยาวและทำให้อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ของบางเมืองในสหรัฐอเมริกาต้องใช้ไฟฟ้าถึง 60% ของการใช้พลังงานทั้งเมือง   เราจึงเห็นการแข่งขันด้านดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับเอไอกันใน 3 ระดับ คือ ระดับบริษัทเทคโนโลยีที่แข่งกันพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง…

ดีอี จับมือ Meta หนุนใช้ AI เพิ่มขีดความการแข่งขัน ปั้นดันไทยสู่ฮับดิจิทัล

Loading

กระทรวงดีอีเล็งปรับปรุงองค์ประกอบบอร์ดเอไอแห่งชาติ หวังหนุนผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ดันซอฟต์พาวเวอร์ด้านต่างๆของประเทศ ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Digital Economy Hub ที่มีความมั่นคงและยั่งยืน

ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิคิวริตี้ เผย SMEs ถูกโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุด พร้อมแนะเคล็ดลับแก้จบใน 1 ชม.

Loading

ในโลกธุรกิจปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล การทำธุรกรรมต่างๆ อยู่บนออนไลน์มากยิ่งขึ้น รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ธุรกิจ SMEs ต้องปรับตัว มีการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน ทั้งเป็นช่องทางในการขายและให้บริการลูกค้า หลายองค์กรนำระบบงานภายในมาใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งถ้าการรักษาความปลอดภัยไม่ดีพอจะกลายเป็นช่องโหว่ให้ถูกโจมตีเข้ามาในระบบงานได้ง่าย

อะไรกันอยู่ดี ๆ ก็โดนแฮ็ก ! รับมืออย่างไรในวันที่มิจฉาชีพก็ปรับตัวตามโลกดิจิทัล

Loading

ในโลกที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 เข้ามาเป็นปัจจัยเร่งชั้นดีให้พวกเราปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ หลายองค์กรก็ได้เร่งทำ Digital Transformation ต้องบอกเลยว่ามิจฉาชีพก็ปรับตัวเองก็เช่นกัน ในโลกออนไลน์ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าและสำคัญที่สุดคือ “ข้อมูล” เรียกได้ว่าบนโลกออนไลน์เป็นขุมทรัพย์แห่งใหม่ของเหล่ามิจฉาชีพเลยก็ว่าได้

‘เอสเอ็มอี’ ไทยสุดเสี่ยง!! ภัยคุกคามไซเบอร์โจมตีหนัก!!

Loading

  แคสเปอร์สกี้ ชี้ เครื่องมือโจมตีที่ได้รับความนิยมอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในธุรกิจขนาดเล็ก คือ การโจมตีทางเน็ต โดยเฉพาะหน้าเว็บเพจที่มีการเปลี่ยนเส้นทางเพื่อใช้ประโยชน์ เว็บไซต์ และโปรแกรมที่เป็นอันตรายอื่นๆ ศูนย์บ็อตเน็ต C&C ฯลฯ จำนวนการโจมตีประเภทนี้เพิ่มขึ้น!!   หากเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กต้องเผชิญปัญหาความรับผิดชอบด้านเศรษฐศาสตร์การผลิต รายงานการเงิน และการตลาดทั้งหมดในเวลาเดียวกัน การพิจารณาเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์มักจะดูซับซ้อน และบางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น อย่างไรก็ตาม การเพิกเฉยต่อความปลอดภัยด้านไอทีนี้กำลังถูกใช้ประโยชน์โดยอาชญากรไซเบอร์   นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ประเมินการโจมตีธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมระหว่างเดือนมกราคม ถึงเมษายน 2022 และเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564 เพื่อระบุภัยคุกคามที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ประกอบการ   ปี 2565 จำนวนการตรวจจับโทรจัน Trojan-PSW (Password Stealing Ware) เพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งในสี่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2021 คือ 4,003,323 ครั้ง เมื่อเทียบกับ 3,029,903 ครั้ง สำหรับประเทศไทย จำนวนการตรวจจับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับแนวโน้มของโลก โดยบันทึกการตรวจจับได้ 19,885 รายการ คิดเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น 2.35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ตรวจจับได้ 19,428 รายการ…