อนาคตแห่งอินเทอร์เน็ตดาวเทียม การส่งข้อมูลผ่านเลเซอร์

Loading

  อินเทอร์เน็ตดาวเทียม หนึ่งในระบบที่ได้รับความสนใจมากขึ้นจากการมาถึงของ Starlink แต่ด้วยขีดจำกัดทางเทคโนโลยีทำให้ความเร็วยังต่ำกว่าและสร้างปัญหาในเชิงดาราศาสตร์ ล่าสุดจึงเริ่มมีแนวคิดพัฒนา การส่งข้อมูลผ่านเลเซอร์ ที่อาจเป็นกุญแจสู่ระบบอินเทอร์เน็ตในอนาคต   อินเทอร์เน็ตดาวเทียม อีกหนึ่งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับการพูดถึงมากขึ้น ด้วยจุดเด่นที่รองรับการใช้งานแทบทุกพื้นที่ทั่วโลก ไม่ต้องพึ่งพาสัญญาณจากท้องถิ่นหรือโครงสร้างพื้นฐานแบบเคเบิลใยแก้ว อาศัยเพียงอุปกรณ์เชื่อมต่อรองรับสัญญาณก็เพียงพอ นี่จึงเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง   เราทราบดีว่าระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมปัจจุบันยังมีข้อจำกัดหลายด้าน ทั้งปัญหาในแง่ความเสถียรหรือความเร็วในการให้บริการ นำไปสู่ความพยายามในการปรับปรุงแก้ไข อย่าง Starlink ของบริษัท SpaceX ที่เลือกจะเพิ่มจำนวนดาวเทียมในวงโคจร ขยายขีดความสามารถในการกระจายสัญญาณเพื่อประสิทธิภาพในการส่งข้อมูล   ฟังดูเป็นเรื่องดีแต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเพิ่มจำนวนดาวเทียมอินเทอร์เน็ตก็กำลังสร้างผลกระทบใหญ่หลวงเช่นกัน   พิษภัยที่คาดไม่ถึงของระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียม   เมื่อพูดถึงประเด็นในการเพิ่มจำนวนดาวเทียมในวงโคจร สิ่งแรกที่ทุกคนคิดถึงย่อมเป็นจำนวนขยะอวกาศเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณที่ปัจจุบันเรายังไม่มีวิธีจัดการเป็นรูปธรรม แต่อีกหนึ่งปัญหาที่ถูกค้นพบและเริ่มได้รับการพูดถึงคือ สัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นจากระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียม   โดยพื้นฐานระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมจะทำการส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุ แม้แต่ Starlink เองก็ใช้การส่งข้อมูลรูปแบบนี้ แต่อาศัยประโยชน์จากการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำและมีจำนวนมาก ช่วยให้การส่งข้อมูลทำได้รวดเร็ว ลดปัญหาความหน่วงและล่าช้า ยกระดับขีดความสามารถอินเทอร์เน็ตดาวเทียมขึ้นอีกขั้น   แต่จากการศึกษาล่าสุดพบว่า คลื่นวิทยุจากดาวเทียมเครือข่าย Starlink มีจำนวนและอัตราการปล่อยคลื่นวิทยุมากเกินไป กลายเป็นสิ่งกีดขวางการทำงานของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ซึ่งอาศัยการตรวจจับเทหวัตถุบนท้องฟ้าด้วยคลื่นวิทยุเช่นกัน ส่งผลให้การทำงานของดาวเทียมในเครือข่าย Starlink กลายเป็นการรบกวนการศึกษาดาราศาสตร์   จากการทดลองของนักดาราศาสตร์ที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ความถี่ต่ำพบว่า…

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้อง SpaceX ข้อหาเลือกปฏิบัติการจ้างงานผู้ลี้ภัย

Loading

  กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยื่นฟ้อง สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) บริษัทด้านอวกาศและดาวเทียมของ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) โดยกล่าวหาว่าสเปซเอ็กซ์เลือกปฏิบัติในการจ้างงานต่อผู้ลี้ภัยและผู้ที่ยื่นขอลี้ภัย   แถลงการณ์ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2018 ถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2022 สเปซเอ็กซ์มักกีดกันผู้ลี้ภัยในการยื่นสมัครงานและปฏิเสธที่จะจ้างงานพวกเขา เนื่องจากสถานะความเป็นพลเมือง ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายคนเข้าเมืองและสัญชาติของสหรัฐฯ   แถลงการณ์ดังกล่าวยังระบุอีกว่า ประกาศรับสมัครงานของสเปซเอ็กซ์และแถลงการณ์ต่อสาธารณะตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา สเปซเอ็กซ์มีการกล่าวอ้างอย่างไม่ถูกต้องว่าภายใต้กฎระเบียบของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ หรือกฎหมายควบคุมการส่งออก ทำให้บริษัทฯ สามารถจ้างงานเฉพาะพลเมืองสหรัฐฯ และผู้อยู่อาศัยถาวรตามกฎหมาย หรือที่เรียกว่า “ผู้ถือกรีนการ์ด” เท่านั้น   นอกจากนี้ ยังมีการอ้างอิงถึงข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ หรือ X (ชื่อเดิมทวิตเตอร์) เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2020 ของ อีลอน มัสก์ ซึ่งระบุว่าสเปซเอ็กซ์จำเป็นต้องจ้างงานเฉพาะผู้ถือกรีนการ์ดเท่านั้น เนื่องจากกฎข้อบังคับการจราจรอาวุธระหว่างประเทศ ซึ่งถูกใช้กับบริษัทที่ผลิตยานอวกาศและจรวด ต้องจำกัดไม่ให้ชาวต่างชาติเข้าถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับยานพาหนะดังกล่าว เนื่องจากจรวดเป็นเทคโนโลยีอาวุธขั้นสูงและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ   ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ชี้แจงว่ากฎระเบียบของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ไม่ได้ขัดขวางสเปซเอ็กซ์จากการว่าจ้างผู้ลี้ภัย…

ฮือฮา! วอชิงตันอ้าง “จีน” ใช้ดาวเทียมป้อนข้อมูลช่วยทหารรับจ้างรัสเซีย “วากเนอร์” ในยูเครน ส่วนปักกิ่งเตรียมส่งดาวเทียม 13k ดวงเพื่อล้ม “อีลอน มัสก์”

Loading

  เอเจนซีส์ – กระทรวงต่างประเทศให้การต่อรัฐสภาสหรัฐฯ วันอังคาร (28 ก.พ.) ยืนยันบริษัทเทคโนโลยีจีน Spacety ส่งภาพถ่ายดาวเทียมช่วยกลุ่มทหารรับจ้างรัสเซีย “วากเนอร์” (Wagner) ในยูเครน ขณะเดียวกัน ปักกิ่งวางแผนต้องการล้มเครือข่ายดาวเทียมสตาร์ลิงค์ของ อีลอน มัสก์ เตรียมการส่งดาวเทียม 13,000 ดวงขึ้นฟ้า   เดลีเอ็กซเพรส สื่ออังกฤษ รายงานวันอังคาร (28 ก.พ.) ว่า แดเนียล คริเตนบริงค์ (Daniel Kritenbrink) ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ (US Assistant Secretary of State) ด้านเอเชียตะวันออกและกิจการแปซิฟิกให้การต่อสภาคองเกรสสหรัฐฯ ในวันอังคาร (28 ก.พ.) ชี้ว่า เชื่อว่าในเวลานี้กลุ่มทหารรับจ้างรัสเซีย วากเนอร์ (Wagner) ที่กำลังรบอยู่ในยูเครนได้รับความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีดาวเทียมจากปักกิ่ง   สื่ออังกฤษรายงานว่า บริษัท Spacety เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตรจากการที่บริษัทดาวเทียมจีนแห่งนี้ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในเบลเยียมช่วยเหลือกองกำลังวากเนอร์ ด้วยการป้อนภาพดาวเทียมของยูเครน ให้กลุ่มทหารรับจ้างรัสเซียชื่อดัง  …

สเปซเอ็กซ์ห้ามยูเครนใช้สัญญาณเน็ตดาวเทียม ‘สตาร์ลิงก์’ ควบคุมโดรน

Loading

    บริษัท สเปซเอ็กซ์ จำกัดขีดความสามารถของยูเครนในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของพวกเขาเพื่อการทหาร หลังจากมีรายงานว่า เคียฟใช้บริการดังกล่าวในการควบคุมโดรน   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ในช่วงเริ่มต้นของสงคราม ยูเครนได้รับจานดาวเทียม ‘สตาร์ลิงก์’ (Starlink) หลายพันเครื่อง เพื่อเชื่อมต่อกับดาวเทียมช่วยให้ชาวยูเครนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ต่อไป แต่ในเวลาต่อมามีรายงานว่า ยูเครนใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการระบุตำแหน่งของกองทัพรัสเซีย ซึ่งละเมิดนโยบายของสเปซเอ็กซ์   นาง เกว็น ช็อตเวลล์ ประธานบริษัท สเปซเอ็กซ์ พูดถึงรายงานที่ว่ายูเครนกำลังใช้สตาร์ลิงก์เพื่อควบคุมโดรนว่า เป็นเรื่องยอมรับได้หากกองทัพยูเครนใช้เทคโนโลยีดาวเทียมนี้เพื่อการสื่อสาร ไม่ได้ใช้มันเพื่อการโจมตี ทางบริษัทจึงใช้มาตรการเพื่อจำกัดความสามารถของกองทัพยูเครนในการใช้สตาร์ลิงก์เพื่อการโจมตี โดยไม่ระบุรายละเอียดเพิ่มเติม   ทั้งนี้ โดรนมีส่วนสำคัญมากในสงครามรัสเซียยูเครน โดยเคียฟใช้มันในการค้นหาตำแหน่งของกองทัพรัสเซีย ทิ้งระเบิด และตอบโต้การโจมตีด้วยโดรนของรัสเซีย   นายมิคไฮโล โพโดลียัค ที่ปรึกษาประธานาธิบดียูเครนออกมาพูดตอบโต้การตัดสินใจของสเปซเอ็กซ์ว่า บริษัททั้งหลายมีสิทธิ์เลือกข้างที่พวกเขาต้องการจะอยู่ พวกเขาสามารถร่วมกับยูเครนและสิทธิ์เพื่อเสรีภาพ หรือเลือกรัสเซียกับสิทธิ์ในการเข่นฆ่าและยึดดินแดน         อ้างอิง  BBC         ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : …

SpaceX เปิดตัว Starshield อินเทอร์เน็ตดาวเทียมแบบ Starlink เกรดงานทางทหาร

Loading

  SpaceX ประกาศเพิ่มบริการตัวใหม่ โดยขยายความสามารถของอินเทอร์เน็ตดาวเทียม Starlink มารองรับการใช้งานในระดับงานความมั่นคงทางการทหาร เรียกว่า Starshield   บริการ Starshield นี้ SpaceX ไม่ได้ลงรายละเอียดการใช้งานมากนัก แต่เปรียบเทียบว่า Starlink ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปและงานด้านพาณิชย์ ขณะที่ Starshield ออกแบบมาสำหรับหน่วยงานรัฐใช้งาน   ในหน้าเว็บไซต์ระบุว่า Starshield ออกแบบมาเพื่อรองรับการส่งข้อมูลที่มีการเข้ารหัสขั้นสูง เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าระดับหน่วยงานรัฐ และยังรองรับรูปแบบการใช้งานที่มีความหลากหลาย รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมอื่นผ่านเลเซอร์ในอวกาศ เพื่อเชื่อมต่อกับดาวเทียมอื่นที่ไม่ใช่ของ Starlink ได้ด้วย     ที่มา: CNBC ภาพ: SpaceX         ——————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                           …

กองทัพสหรัฐฯ ชม SpaceX รับมือรัสเซียแฮก Starlink ได้อย่างรวดเร็ว

Loading

    C4ISRNet สื่อสำหรับการทหารและงานข่าวกรองยุคใหม่ได้นำเสนอการสนทนาในเรื่อง “Instruments of electronic warfare” หรือเครื่องมือในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยกล่าวถึงการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ของรัสเซียในการโจมตียูเครน ซึ่ง เดฟ เทรมเปอร์ (Dave Tremper) ผู้อำนวยการฝ่ายสงครามอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้กล่าวชมสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ที่สามารถปกป้องบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมสตาร์ลิงก์ (Starlink) จากการแฮกและโจมตีของรัสเซียได้อย่างรวดเร็ว   นาทาน สเตราต์ (Nathan Strout) พิธีกรของ C4ISRNet ได้สนทนาผ่านวิดีโอทางไกลกับ พลจัตวา แทด คลาร์ก (Brig. Gen. Tad Clark) ผู้อำนวยการฝ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำนักงานใหญ่กองทัพอากาศสหรัฐฯ และ เดฟ เทรมเปอร์ โดยพูดคุยกันถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ในการบุกยูเครนของรัสเซีย   ในการสนทนา เทรมเปอร์ ได้กล่าวชมทีมวิศวกรของสเปซเอ็กซ์ที่สามารถเขียนโค้ดคำสั่งปล่อยขึ้นไปแค่หนึ่งบรรทัดก็สามารถแก้ไขปัญหาการแฮกและบุกโจมตีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมสตาร์ลิงก์ได้อย่างรวดเร็ว วิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจและกองทัพสามารถเรียนรู้   24 กุมภาพันธ์ รัสเซียได้ส่งกำลังทหารบุกถล่มยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งการโจมตีได้ทำลายสายไฟเบอร์ออปติก สายเคเบิ้ลและเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ส่งผลกระทบต่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ดังนั้นกองทัพยูเครนจึงต้องสื่อสารทางการทหารผ่านดาวเทียม…