‘ดีอี’ ตัดวงจรแก็งคอลเซ็นเตอร์ จับอุปกรณ์เน็ตผ่านดาวเทียมเถื่อน – กสทช.”เร่งหารือ “กรมศุลฯ” สกัดลอบนำเข้าอุปกรณ์“เน็ตดาวเทียม” โจรออนไลน์

Loading

เมื่อ 18 มิ.ย. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า กระทรวงดีอี ได้ร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นที ในการตรวจยึดของกลาง กลาง อุปกรณ์ รับ-ส่ง สัญญาณอินเตอร์เน็ต ผ่านดาวเทียม Starlink ซึ่งยังเป็นอุปกรณ์ที่ผิดกฎหมาย ไม่ได้รับอนุญาตจาก กสทช.ให้นำเข้ามาในประเทศไทย จำนวน 58 ชุด

เผยด้านมืด ‘Starlink’ อินเทอร์เน็ตของ ‘มัสก์’ ช่องโหว่ให้อาชญากรเอาไปใช้

Loading

  เผย “ด้านมืด” ของอินเทอร์เน็ตดาวเทียมอย่าง “Starlink” ซึ่งเมื่ออุปกรณ์ไปตกอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดีผ่านตลาดมืดแล้ว จึงสร้างความวิตกด้านความมั่นคงขึ้น   จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าอินเทอร์เน็ตที่เราใช้ทุกวันนี้ตกอยู่ในมือของคนร้าย นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในแถบ ทวีปแอฟริกา สถานที่ซึ่งอินเทอร์เน็ตแบบสายเคเบิลเข้าถึงยาก อินเทอร์เน็ตจากดาวเทียม “Starlink” (สตาร์ลิงก์) ของบริษัท SpaceX (สเปซเอ็กซ์) จึงกลายเป็น “ความหวังใหม่” ขึ้นมา   ก่อนอื่นขอปูพื้นก่อนว่า การจะใช้ อินเทอร์เน็ต Starlink นี้ ไม่ว่าจะอยู่กับหมีขั้วโลกเหนือ ป่าดงดิบ หรือเกาะร้างก็ตาม ขอเพียงมีชุดอุปกรณ์รับสัญญาณ (Starlink Kit) ไม่ว่าจะเป็นตัวจานขนาดเท่าพิซซ่า เราเตอร์ฯลฯ พร้อมชำระค่าบริการราว 100 – 500 ดอลลาร์ตามแพ็กเกจ ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตจากดาวเทียมนี้ได้แล้ว ไม่ต้องเสียเวลาลากสาย หรือติดตั้งอะไรต่าง ๆ ให้ยุ่งยาก   ชุดอุปกรณ์ Starlink (เครดิต: SpaceX) Starlink กำลังบูมในตลาดมืด กลับมาใน “เยเมน”…

กสทช. อนุมัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทดสอบใช้ Starlink เพื่อภารกิจค้นหาช่วยเหลือทางเรือที่ประสบภัย

Loading

อย่างที่ทราบกันดีว่า Starlink อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมของทาง SpaceX ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานในไทย แต่ล่าสุด กสทช. ได้ประกาศอนุมัติเป็นการชั่วคราว ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใช้คลื่นความถี่ย่าน Ku-Band ของดาวเทียมต่างชาติ Starlink ในการทดลองทดสอบอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม

อนาคตแห่งอินเทอร์เน็ตดาวเทียม การส่งข้อมูลผ่านเลเซอร์

Loading

  อินเทอร์เน็ตดาวเทียม หนึ่งในระบบที่ได้รับความสนใจมากขึ้นจากการมาถึงของ Starlink แต่ด้วยขีดจำกัดทางเทคโนโลยีทำให้ความเร็วยังต่ำกว่าและสร้างปัญหาในเชิงดาราศาสตร์ ล่าสุดจึงเริ่มมีแนวคิดพัฒนา การส่งข้อมูลผ่านเลเซอร์ ที่อาจเป็นกุญแจสู่ระบบอินเทอร์เน็ตในอนาคต   อินเทอร์เน็ตดาวเทียม อีกหนึ่งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับการพูดถึงมากขึ้น ด้วยจุดเด่นที่รองรับการใช้งานแทบทุกพื้นที่ทั่วโลก ไม่ต้องพึ่งพาสัญญาณจากท้องถิ่นหรือโครงสร้างพื้นฐานแบบเคเบิลใยแก้ว อาศัยเพียงอุปกรณ์เชื่อมต่อรองรับสัญญาณก็เพียงพอ นี่จึงเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง   เราทราบดีว่าระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมปัจจุบันยังมีข้อจำกัดหลายด้าน ทั้งปัญหาในแง่ความเสถียรหรือความเร็วในการให้บริการ นำไปสู่ความพยายามในการปรับปรุงแก้ไข อย่าง Starlink ของบริษัท SpaceX ที่เลือกจะเพิ่มจำนวนดาวเทียมในวงโคจร ขยายขีดความสามารถในการกระจายสัญญาณเพื่อประสิทธิภาพในการส่งข้อมูล   ฟังดูเป็นเรื่องดีแต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเพิ่มจำนวนดาวเทียมอินเทอร์เน็ตก็กำลังสร้างผลกระทบใหญ่หลวงเช่นกัน   พิษภัยที่คาดไม่ถึงของระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียม   เมื่อพูดถึงประเด็นในการเพิ่มจำนวนดาวเทียมในวงโคจร สิ่งแรกที่ทุกคนคิดถึงย่อมเป็นจำนวนขยะอวกาศเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณที่ปัจจุบันเรายังไม่มีวิธีจัดการเป็นรูปธรรม แต่อีกหนึ่งปัญหาที่ถูกค้นพบและเริ่มได้รับการพูดถึงคือ สัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นจากระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียม   โดยพื้นฐานระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมจะทำการส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุ แม้แต่ Starlink เองก็ใช้การส่งข้อมูลรูปแบบนี้ แต่อาศัยประโยชน์จากการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำและมีจำนวนมาก ช่วยให้การส่งข้อมูลทำได้รวดเร็ว ลดปัญหาความหน่วงและล่าช้า ยกระดับขีดความสามารถอินเทอร์เน็ตดาวเทียมขึ้นอีกขั้น   แต่จากการศึกษาล่าสุดพบว่า คลื่นวิทยุจากดาวเทียมเครือข่าย Starlink มีจำนวนและอัตราการปล่อยคลื่นวิทยุมากเกินไป กลายเป็นสิ่งกีดขวางการทำงานของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ซึ่งอาศัยการตรวจจับเทหวัตถุบนท้องฟ้าด้วยคลื่นวิทยุเช่นกัน ส่งผลให้การทำงานของดาวเทียมในเครือข่าย Starlink กลายเป็นการรบกวนการศึกษาดาราศาสตร์   จากการทดลองของนักดาราศาสตร์ที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ความถี่ต่ำพบว่า…

จากยูเครนถึงพม่า! Free Burma Rangers ขอบคุณอีลอน มัสก์ ปล่อยสัญญาณเน็ต “สตาร์ลิงก์” ให้กองกำลังติดอาวุธรัฐกะยา

Loading

การใช้อินเทอร์เน็ตในป่ารัฐกะยาของกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (ภาพจาก Kantarawaddy Times)   ชัดแล้วแสงบนท้องฟ้าที่มองเห็นในภาคเหนือของไทยเมื่อต้นเดือนมิถุนายน เป็นกลุ่มดาวเทียมสตาร์ลิงก์ของสเปซเอ็กซ์ที่เคลื่อนตัวเข้าไปปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้กองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้านที่กำลังรบหนักอยู่กับกองทัพพม่า ผบ. Free Burma Rangers ทวีตขอบคุณอีลอน มัสก์ ที่ช่วยให้การทำงานในรัฐกะยาสะดวกขึ้น   สำนักข่าว Kantarawaddy Times รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 เดวิด ยูแบงก์ ผู้อำนวยการ Free Burma Rangers กลุ่ม NGO จากสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้าไปเคลื่อนไหวอยู่ในรัฐกะยา (กะเหรี่ยงแดง) ของพม่า ได้ทวีตข้อความขอบคุณอีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ และโครงการสตาร์ลิงก์ ที่ช่วยให้ในรัฐกะยามีสัญญาณอินเทอร์เน็ตใช้ ทำให้การทำงานในพื้นที่ของพวกเขาสะดวกขึ้น   สตาร์ลิงก์เป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมขนาดเล็กจำนวนมากที่โคจรอยู่รอบโลก ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ เพื่อให้ทุกพื้นที่ทั่วโลกสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ โดยปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมให้พื้นที่ห่างไกลที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตประเภทอื่นไม่สามารถเข้าถึง   รัฐกะยาอยู่ติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชายแดนด้านตะวันตกของประเทศไทย เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งขณะนี้กำลังมีการสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (PDF) กับกองทัพพม่า และกลยุทธ์หนึ่งที่กองทัพพม่านำมาใช้ คือการตัดการสื่อสาร โดยไม่ปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่รัฐกะยา รวมถึงอีกหลายรัฐที่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านกองทัพพม่า…

‘อีลอน มัสก์’ จำกัดการใช้เน็ต Starlink โดยกองทัพยูเครน หวั่นกลายเป็นเครื่องมือก่อ ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’

Loading

    อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีคนดังเจ้าของเทสลา (Tesla) สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ยืนยันผ่านทวิตเตอร์ว่าเขาได้จำกัดการใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตดาวเทียม “สตาร์ลิงค์” โดยกองทัพยูเครน เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบสื่อสารนี้ถูกใช้กระพือความขัดแย้งจนอาจนำไปสู่ “สงครามโลกครั้งที่ 3”   คำพูดซึ่งสื่อถึงความกังวลของ มัสก์ มีขึ้น หลังจาก สก็อตต์ เคลลี (Scott Kelly) อดีตนักบินอวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) ได้เข้าไปทวีตโต้เถียงกับเขาในประเด็นที่สเปซเอ็กซ์เกรงว่าสตาร์ลิงค์จะถูกกองทัพยูเครนใช้เป็น “อาวุธ”   “การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากคุณคือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับยูเครน” เคลลี ทวีตถึง มัสก์   “โปรดทำให้โครงข่ายดาวเทียมสตาร์ลิงค์ใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ การป้องกันตนเองจากการรุกรานเพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocidal invasion) ไม่ถือเป็นศักยภาพในการโจมตี แต่เป็นการทำเพื่อความอยู่รอด ชีวิตคนบริสุทธิ์มากมายกำลังสูญเสียไป คุณสามารถช่วยได้” เคลลี กล่าว พร้อมลงท้ายด้วยคำว่า “ขอบคุณ”   อย่างไรก็ดี ซีอีโอสเปซเอ็กซ์ได้ตอบกลับไปว่า เคลลี “คงฉลาดพอที่จะไม่หลงเชื่อทุกอย่างที่ปรากฏในข่าวและสื่อโฆษณาชวนเชื่อทั้งหลาย”   มัสก์ ย้ำว่า ทุกวันนี้บริการของสตาร์ลิงค์ยังคงเป็น “ช่องทางหลัก”…