‘น้ำฝน’ ดื่มไม่ได้ อันตราย! มี ‘ไมโครพลาสติก – สารเคมีตลอดกาล’ ปนเปื้อน

Loading

    KEY POINTS ทั้งไมโครพลาสติก และสารเคมีตลอดกาล ทำให้น้ำฝนทั่วโลกสกปรกเกินกว่าจะดื่มได้ หลายประเทศพยายามจะควบคุมปริมาณพลาสติกมากขึ้น และยกเลิกใช้สาร PFAS บางชนิดไปแล้ว แต่ขึ้นชื่อว่าสารเคมีตลอดกาล พวกมันยังคงลอยปะปนอยู่ในอากาศ เมื่อน้ำฝนไม่สามารถดื่มได้แล้ว อาจทำให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ของโลกขาดแคลนน้ำสำหรับการบริโภค   ช่วงทศวรรษ 1970 “ฝนกรด” ถือเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงที่สุดอย่างหนึ่งของโลก  ในตอนนั้นอากาศเต็มไปด้วยมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และควันดำรถยนต์จนทำให้น้ำฝนเต็มไปด้วยพิษ ส่งผลให้ปลาตาย ทำลายป่า กัดเซาะรูปปั้น และอาคาร เพียงไม่กี่ทศวรรษต่อมา ฝนกรดก็หายไปเกือบหมด เนื่องจากออกกฎหมายจำกัดปริมาณมลพิษที่ก่อให้เกิดกรด เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ รวมถึงผู้ผลิตยานยนต์ต้องใส่ตัวเร่งปฏิกิริยาในรถยนต์รุ่นใหม่แม้ว่าปริมาณน้ำฝนจะมีความเป็นกรดน้อยลง แต่นักวิทยาศาสตร์พบว่า ในปัจจุบัน “น้ำฝน” เต็มไปด้วยมลพิษอื่นๆ มากมาย รวมถึง “ไมโครพลาสติก” และ “สารเคมีตลอดกาล” ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และแทบจะกำจัดไม่ได้ด้วย ไมโครพลาสติกในน้ำฝน งานวิจัยในปี 2020 พบว่า มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ในน้ำฝนที่ตกลงมาบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ทางภาคตะวันตกของสหรัฐ โดย เศษพลาสติกส่วนใหญ่เป็นไมโครไฟเบอร์ เช่น ซึ่งหลุดออกมาจากเสื้อสเวตเตอร์โพลีเอสเตอร์…

ทำไมข้อมูล ‘คุณภาพอากาศแบบเปิด’ จึงสำคัญต่อสุขภาพของคนทั่วโลก?

Loading

มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับสองและเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจากภายนอกร่างกายมนุษย์ที่อาจทําให้เสียชีวิตได้ ทําให้อายุขัยสั้นลงโดยเฉลี่ย 1.9 ปีทั่วโลกการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศเริ่มต้นในครรภ์และสามารถเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ไม่ดีมากมายตลอดชีวิต ตลอดจนผลกระทบต่อผลผลิตและคุณภาพชีวิต