แฮ็กเกอร์ใช้ ‘Invisible Challenge’ บน TikTok หลอกผู้ใช้ให้ดาวน์โหลดมัลแวร์

Loading

  Checkmarx บริษัทด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เผยว่าอาชญากรหันมาใช้กิจกรรม Challenge หลอกผู้ใช้ TikTok ให้ดาวน์โหลดมัลแวร์   TikTok Challenge ที่ว่านี้คือ Invisible Challenge หรือ ‘การท้าล่องหน’ เป็นกิจกรรมที่ท้าผู้ใช้ TikTok ถ่ายตัวเองแบบเปลือยโดยใช้ฟิลเตอร์ที่ชื่อว่า Invisible Body ที่ทำให้ร่างกายดูล่องหน ขณะนี้ แฮชแท็ก #invisiblefilter มีผู้เข้าชมมากกว่า 25 ล้านครั้งแล้ว   ผู้ใช้ TikTok 2 ราย ชื่อว่า @learncyber และ @kodibtc ใช้กิจกรรมนี้ในการเผยแพร่วิดีโอที่แปะลิงก์เข้าร่วมเซิร์ฟเวอร์ Discord ซ่อนซอฟต์แวร์ปลอมที่อ้างสรรพคุณว่าจะสามารถลบฟิลเตอร์ออกไปได้ (เพื่อให้เห็นร่างกายที่เปลือยเปล่าของผู้ทำกิจกรรมนี้) ในลิงก์จะมีภาพลามกที่อ้างว่าเป็นผลลัพธ์ของการใช้ซอฟต์แวร์ที่ว่านี้ แต่ในลิงก์จะเป็นมัลแวร์ขโมยข้อมูลที่ชื่อ WASP ซ่อนอยู่ภายในไฟล์ที่เขียนด้วยโค้ดในภาษา Python   นอกจากนี้ บัญชีบอตของช่องยังส่งข้อความส่วนตัวไปหาผู้ใช้ มีเนื้อหาเพื่อขอคะแนนในหน้า GitHub ของซอฟต์แวร์นี้ ซึ่งใช้ชื่อว่า 420World69/Tiktok-Unfilter-Api จนได้รับความนิยม  …

เอฟบีไอเผย ‘ติ๊กต๊อก’ สร้างความกังวลด้านความมั่นคง

Loading

FILE – A TikTok logo is displayed on a smartphone in this illustration taken Jan. 6, 2020.   คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ (FBI) กล่าวว่า เอฟบีไอเป็นกังวลด้านความมั่นคงแห่งชาติ ต่อสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยม ติ๊กต๊อก (TikTok) ของจีน ซึ่งกำลังขออนุมัติจากทางการสหรัฐฯ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจในอเมริกาได้ต่อไป   เรย์ กล่าวต่อคณะกรรมาธิการด้านความมั่นคงมาตุภูมิของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อวันอังคาร ว่าด้วยเรื่องภัยคุกคามจากทั่วโลกต่อสหรัฐฯ โดยระบุว่า ความกังวลที่มีต่อ TikTok นั้นรวมถึงการที่รัฐบาลจีนสามารถใช้ TikTok เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลของผู้ใช้หลายล้านคน และรัฐบาลปักกิ่งยังอาจสามารถควบคุมชุดคำสั่งอัลกอริทึมและซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์สื่อสารหลายล้านเครื่องได้ด้วย   ผอ.เอฟบีไอ ระบุว่า “หน่วยข่าวกรองข้ามชาติและภัยคุกคามทางเศรษฐกิจจากจีนนั้น คือภัยคุกคามที่น่ากลัวที่สุดในระยะยาว ต่อความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ”   ความเชื่อมโยงระหว่างแอปป์ TikTok กับรัฐบาลจีน…

พนักงานติ๊กต็อกในจีน สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานในสหราชอาณาจักร และอียู

Loading

  ติ๊กต็อก (TikTok) ได้แจ้งต่อบรรดาผู้ใช้งานว่า พนักงานของติ๊กต็อกบางรายในจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานในสหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป (EU) พร้อมชี้แจงว่า นโยบายความเป็นส่วนตัวนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจำเป็นในการทำงานของพวกเขา   ติ๊กต็อกระบุว่า นโยบายดังกล่าวนั้นมีผลบังคับใช้กับพื้นที่เศรษฐกิจยุโรป สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์   นางอีเลน ฟ็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายความเป็นส่วนตัวประจำยุโรปของติ๊กต็อกระบุในแถลงการณ์เมื่อวันพุธ ( 2 พ.ย.) ว่า ทีมงานทั่วโลกได้ช่วยกันรักษาประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้มีความต่อเนื่อง เพลิดเพลิน และปลอดภัย   อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ติ๊กต็อกได้ดำเนินการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานในยุโรปไว้ที่สหรัฐและสิงคโปร์   “เราได้อนุญาตให้พนักงานบางรายที่ประจำอยู่ในบราซิล แคนาดา จีน อิสราเอล ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐ เข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานชาวยุโรป” นางฟ็อกซ์ กล่าว   “เราพยายามจำกัดจำนวนพนักงานที่สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานในยุโรป เพื่อให้ข้อมูลไหลเวียนออกจากภูมิภาคดังกล่าวน้อยที่สุด และเก็บข้อมูลผู้ใช้งานยุโรปไว้ในพื้นที่”   สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ทางการทั่วโลกรวมถึง อังกฤษ และสหรัฐได้ดำเนินการตรวจสอบติ๊กต็อกขนานใหญ่ เพราะวิตกกังวลว่า ติ๊กต็อกอาจจะส่งข้อมูลผู้ใช้งานที่เป็นพลเมืองของตนไปให้กับรัฐบาลจีน  …

การทดลองเผย แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ล้มเหลวในการกรองข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  Global Witness องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิทธิมนุษยชน และทีมงาน Cybersecurity for Democracy (C4D) แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์กเผยว่า Facebook และ TikTok ล้มเหลวในการขัดขวางโฆษณาที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐอเมริกาที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน   โดย Global Witness ได้ทำการทดสอบมาตรการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนโซเชียลมีเดีย ด้วยการสร้างบัญชีปลอมบน Facebook, TikTok และ YouTube จากนั้นใช้บัญชีเหล่านี้สร้างโฆษณาทั้งในภาษาอังกฤษและสเปน   ทางองค์กรระบุว่าโฆษณาแต่ละตัวมีเนื้อหาที่เป็นข้อมูลเท็จอย่างชัดเจน อย่างการอ้างว่าคนที่จะไปเลือกตั้งได้ต้องฉีดวัคซีนก่อน หรืออ้างว่าต้องโหวต 2 ครั้งถึงจะมีความหมาย โฆษณาบางตัวก็ใส่วันที่ของการเลือกตั้งแบบผิด ๆ   พื้นที่เป้าหมายของโฆษณาเหล่านี้คือรัฐที่มีการแข่งขันกันอย่างสูสีระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ แอริโซนา โคโลราโด จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนา และเพนซิลเวเนีย   ผลก็คือมีเพียง YouTube เท่านั้นที่สามารถปิดกั้นโฆษณาทั้งหมด รวมถึงยังสามารถบล็อกบัญชีที่สร้างโฆษณาเท็จได้ด้วย   ในทางกลับกัน ในการทดลองครั้งแรก Facebook อนุมัติถึงร้อยละ 20 ของโฆษณาปลอมที่เป็นภาษาอังกฤษ และอนุมัติครึ่งหนึ่งของโฆษณาภาษาสเปน ในขณะที่การทดลองใหม่อีกครั้ง…

TikTok เผยตรวจพบบัญชีปลอมประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2022 ทั้งสิ้น 33.6 ล้านบัญชี

Loading

  ติ๊กต่อก (TikTok) เผยในรายงานการบังคับใช้หลักเกณฑ์สำหรับชุมชนประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2022 พบมีการใช้บัญชีปลอมในแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น 61 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 33.6 ล้านบัญชี และประเทศไทยอยู่อันดับ 14 ประเทศที่ถูกลบวิดีโอมากที่สุด   ติ๊กต่อก แพลตฟอร์มวิดีโอโซเชียลมีเดีย เผยแพร่รายงานการบังคับใช้หลักเกณฑ์สำหรับชุมชน ประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2022 โดยรายงานฉบับนี้ ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 30 มิถุนายน 2022   สิ่งที่น่าสนใจของรายงานฉบับนี้อยู่ตรงที่ ติ๊กต่อก ได้เปิดเผยว่า มีการตรวจพบบัญชีปลอมและได้ลบบัญชีปลอมเหล่านี้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 33.6 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 61 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ถ้ามองย้อนกลับไปช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จะเห็นได้ว่า อัตราการลบบัญชีปลอมของติ๊กต่อก เพิ่มขึ้นมากกว่า 2,000 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว   ตัวเลขการลบบัญชี     พร้อมกันนี้ ติ๊กต่อก กล่าวว่า…

เมื่อ TikTok ถูกใช้หาข้อมูลแทน Google! มีรายงานชี้ว่า 1 ใน 5 ของวิดีโอนำเสนอข้อมูลที่ผิด

Loading

  TikTok สำหรับหลายคนเป็นแหล่งรวมวิดีโอสนุก ๆ ไว้ดูคั่นเวลาว่าง เป็นเหมือนพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจเอาไว้สำหรับความบันเทิง ซึ่งตัวแพลตฟอร์มมีอัลกอริทึมที่เรียนรู้ความชอบของผู้ใช้งานแต่ละคนและนำเอาวิดีโอที่คิดว่าเราน่าจะสนใจมาป้อนให้ดูอย่างไม่มีวันหมด (ซึ่งบางทีก็ติดพันดูไปเป็นชั่วโมงได้เหมือนกัน)   แต่อย่างที่เราทราบกันดีครับว่า TikTok ไม่ใช่แหล่งรวมวิดีโอเพื่อความบันเทิงเพียงเท่านั้น มันยังเป็นพื้นที่ของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากที่ต่าง ๆ ทั้งเชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้รวมกันไว้ในนี้ด้วย รายงานล่าสุดของนักวิจัยจาก NewsGuard (เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว) บอกว่า 1 ใน 5 (หรือ 20%) ของวิดีโอบน TikTok นั้นแสดงข้อมูลที่เป็นข่าวปลอมหรือมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง   ยกตัวอย่างถ้าค้นหาเรื่อง ‘mRNA Vaccine’ จะมีวิดีโอที่มีข้อมูลผิด ๆ ขึ้นมาถึง 5 คลิปใน 10 คลิปแรก อย่างเช่นวิดีโอหนึ่งบอกว่าวัคซีน Covid-19 นั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายกับอวัยวะสำคัญของเด็กแบบที่รักษาไม่หาย ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างโดยไม่มีข้อพิสูจน์หรือหลักฐานใด ๆ มาอ้างอิงเลย   แถม TikTok ยังแสดงคำค้นหาที่ส่อถึงอคติอันเอนเอียงด้วยอย่างเช่น ถ้าเราคนหา “Covid Vaccine” อัลกอริทึมของ TikTok ก็จะแนะนำขึ้นมาเพิ่มว่า “Covid…