กต.ชี้สู้รบเมียนมาไม่แน่นอน ย้ำหลักการรักษาดินแดนไทย

Loading

    โฆษก​ กต.​เผย​ที่ประชุม คกก.เฉพาะกิจสถานการณ์ในเมียนมา​ย้ำ​หลัก​การ 3​ ข้อ ยึดมั่นอธิปไตย ไม่ใช้ไทยทำกิจกรรมต่อต้านรัฐบาล​และให้การช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม​   วันนี้ (23 เม.ย.2567) นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการ​เฉพาะกิจ​บริหารสถานการณ์​อันเนื่องมาจากความไม่สงบในเมียนมา​ ว่า ที่ประชุมฯ ได้ประเมินสถานการณ์และต้องประเมินเป็นรายชั่วโมง เนื่องจากสถานการณ์มีความไม่แน่นอนสูง   ขณะที่ช่วงบ่ายวันนี้ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ต่างประเทศ​ จะเดินทางลงพื้นที่ อ.แม่สอด​ จ.ตาก ซึ่งจะทำให้เห็นภาพสถานการณ์ชัดขึ้น ทั้งเรื่องการสู้รบในฝั่งเมียนมา​ การดูแลความสงบเรียบร้อยของคนไทย รวมถึงการให้ความช่วยเหลือบนพื้นฐาน​หลักมนุษยธรรม​ ซึ่งมีความชัดเจนขึ้นในเรื่องปริมาณคนและวิธีให้การช่วยเหลือ   สำหรับการประชุมวันนี้ (23 เม.ย.) ได้ข้อสรุป 3 หลักการ​ คือ 1.การยึดมั่นรักษาอธิปไตยของไทย ซึ่งเป็นเรื่องหลักในการดูแลคนไทยที่ได้รับผลกระทบ, 2.ไม่ให้ใช้ดินแดนเขตไทยในการดำเนินกิจกรรมต่อต้านรัฐบาล​ต่างประเทศ​ ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติโดยปกติ และ 3.การยึดมั่นในหลักมนุษยธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นหัวใจในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือกับทุกฝ่าย   โฆษก กต. ระบุอีกว่า…

GISTDA ศึกษาแนวทางการจัดเส้นทางจราจรของ “โดรน” รองรับโลกที่เปลี่ยนแปลง

Loading

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัด Focus Group ในเรื่อง “การพัฒนาระบบจัดการจราจรอากาศยานไร้คนขับ หรือ Development of Unmanned Aircraft Traffic Management System: UTM” ครั้งที่ 4

โดรนพิฆาต…ที่น่าสะพรึง

Loading

เพชฌฆาตจากฟากฟ้า ถูกผลิตขึ้นมาเป็นอาวุธสงคราม มีอำนาจสังหารที่น่าสยอง ยากที่จะป้องกัน (แต่ก็มีวิธีป้องกัน) แสดงอิทธิฤทธิ์แบบเปิดเผย และปิดลับ สังหารฝ่ายตรงข้ามแบบ “ไม่รู้ว่ามันมาจากไหน” เป็นของใครวะ..?

ไต้หวันเร่งพัฒนาโดรน ถอดบทเรียนจากศึกยูเครน-เสริมเขี้ยวเล็บกองทัพ

Loading

    ไต้หวันเร่งพัฒนาโดรน – วันที่ 7 ก.พ. รอยเตอร์รายงานว่า ไต้หวันเตรียมเร่งพัฒนาเทคโนโลยีโดรนและถอดบทเรียนจากสงครามรัสเซียรุกรานยูเครน ท่ามกลางภัยคุกคามจากทางการจีนที่มองว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน และยังคงเดินหน้ากดดันไต้หวันในเวทีโลก   ความเคลื่อนไหวของไต้หวันเกิดขึ้นหลัง “อากาศยานไร้คนขับ” (Unmanned Aerial Vehicle – UAV) หรือยูเอวี กลายเป็นหนึ่งในอาวุธที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในสงครามดังกล่าว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยูเครน ถึงขั้นระบุไว้ว่า เป็นอาวุธแห่งสงครามในอนาคต     ไต้หวันซึ่งกำลังเผชิญภัยคุกคามทางทหารจากทางการจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นเคยเปิดเผยว่า จับตาสงครามรัสเซียรุกรานยูเครนอย่างใกล้ชิดเพื่อนำมาถอดบทเรียนไว้รับมือหากจีนตัดสินใจส่งกองทัพเข้ารุกรานเพื่อยึดครองเกาะไต้หวัน   ซุน หลี่ฟาง โฆษกกระทรวงกลาโหมไต้หวัน กล่าวว่า ไต้หวันอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีโดรน รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตโดรน   “การเร่งวิจัย พัฒนา และกระบวนการผลิตนี้เพื่อไว้ตอบโต้ภัยคุกคามจากศัตรูและนำบทเรียนการสู้รบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนมาใช้ในยุทธการรบแบบอสมมาตร์ (การรบระหว่างคู่ต่อสู้ที่มีระดับแสนยานุภาพห่างชั้นกันอย่างมหาศาล) ผ่านโดรนของไต้หวัน” นายซุน ระบุ   โฆษกกระทรวงกลาโหมไต้หวัน ระบุด้วยว่า โครงการดังกล่าวมี จุงชาน สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งไต้หวันเป็นหัวหอก และจะมีบรรดาบริษัทเอกชนหลายแห่งเข้าร่วม   ด้านนายจื้อ หลี่ผิง ผู้อำนวยการแผนกวิจัยระบบอากาศยานของสถาบันข้างต้น ยืนยันว่า…

พ.ร.บ.เดินอากาศ พ.ศ.2497 กับ อากาศยานไร้คนขับ

Loading

  คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนี้ผู้คนส่วนใหญ่จะได้ยินหรือรู้จักกับคำว่า “โดรน DRONE” หรือถ้าจะเรียกอย่างเป็นทางการคือ “อากาศยานไร้คนขับ หรือ UNMANNED AERIAL VEHICLE – UAV”   ยานพาหนะตัวนี้ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะนำมาใช้ในงานของทางราชการ งานของเอกชน หรือบุคคลทั่วไป งานราชการ เช่น การสำรวจพื้นที่ การสำรวจเหตุอุทกภัย การสำรวจรังวัดพื้นที่เขตป่าสงวน หรือใช้ในราชการทหาร เช่น ทางยุทธวิธี ฯลฯ   ส่วนของเอกชนก็นำมาใช้ในงานถ่ายภาพเทศกาลต่าง ๆ หรือถ่ายภาพโฆษณา ถ่ายเพื่อความสนุกสนาน ถ่ายสำรวจรังวัดพื้นที่ สำรวจเส้นทาง หรือพ่นยาฆ่าแมลง เป็นต้น     การใช้ โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ โดยเฉพาะของเอกชนหรือบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่หน่วยงานของราชการ การจะใช้งานหรือทำการบินได้ จะต้องมีการจดทะเบียนโดรน มีการขออนุญาตใช้โดรน และขออนุญาตใช้คลื่นความถี่     เนื่องจากพระราชบัญญัติเดินอากาศ พ.ศ.2497 ได้ถือว่า “โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ” เป็นอากาศยานประเภทหนึ่ง…

อิหร่านเปิดตัว “ชาฮับ” โดรนฝึกลาดตระเวนรุ่นใหม่ บินไต่ระดับได้ถึง 200 กิโลเมตร

Loading

(Photo by IRNA)   อิหร่านเปิดตัว “ชาฮับ” โดรนฝึกลาดตระเวนรุ่นใหม่ บินไต่ระดับได้ถึง 200 กิโลเมตร   อิหร่านเปิดตัว “ชาฮับ” – ซินหัว รายงานจากสถานีโทรทัศน์ทางการอิหร่านว่า กองทัพอากาศอิหร่านเผยโฉม อากาศยานไร้คนขับ (ยูเอวี-UAV) หรือ โดรน ที่พัฒนาเองในประเทศ ซึ่งถูกออกแบบและผลิตสำหรับการฝึกซ้อมโดยเฉพาะ   รายงานระบุว่าโดรนรุ่น “ชาฮับ” (Shahab) ซึ่งมีความมายว่าสะเก็ดดาว ถูกนำมาแสดงในกรุงเตหะราน โดยมีคณะเจ้าหน้าที่กองทัพและเจ้าหน้าที่พลเรือนระดับสูงของอิหร่านเป็นสักขีพยาน   ทั้งนี้ โดรนชาฮับเป็นโดรนขั้นสูงรุ่นปรับปรุงของ โดรนซาฟีร์ (Safir) มีรัศมีการบินสำหรับฝึกซ้อมอยู่ที่ 10 กิโลเมตร และสามารถบินไต่ระดับได้ถึง 200 กิโลเมตรระหว่างภารกิจลาดตระเวน สามารถปฏิบัติภารกิจสังเกตการณ์และลาดตระเวนภายใต้สภาพแวดล้อมหลากหลายที่ ระดับสูงสุดราว 3.35 กิโลเมตร และมีระยะเวลาการบิน 8 ชั่วโมง   (Picture source: Tasnim)   (Picture source:…