กทปส. หนุนนักวิจัยไทย พัฒนาเรดาร์ตรวจจับโดรนขนาดเล็กรัศมีไกล 2 กม. ต่อยอดสู่การบินมั่นคงปลอดภัย

Loading

  ปัจจุบันโดรนหรืออากาศยานไร้คนขับ  (UAV) ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญของการสำรวจและถ่ายภาพมากขึ้น ขณะที่การควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการก่อการร้าย ยังมีข้อจำกัดที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และมีราคาที่สูงอยู่ ด้วยเหตุนี้โครงการการวิจัยและพัฒนาระบบเรดาร์เพื่อการตรวจจับโดรนเพื่อป้องกันการบินโดรนที่ไม่ได้รับอนุญาต ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. จึงได้ทำการวิจัยและคิดค้นพัฒนาระบบตรวจจับโดรนขึ้นมา   รองศาสตราจารย์ ดร. เอกรัฐ บุญภูงา หัวหน้าโครงการการวิจัยและพัฒนาระบบเรดาร์เพื่อการตรวจจับโดรนเพื่อป้องกันการบินโดรนที่ไม่ได้รับอนุญาตของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการใช้โดรนกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งก็มีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการถ่ายภาพ การสำรวจ แต่ว่าบางทีโดรนก็อาจจะถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี เช่น การก่อการร้าย เนื่องจากสามารถติดระเบิดแล้วเอาไปจู่โจมบุคคลสำคัญได้ หรือบางครั้งการใช้โดรนอาจจะมีการใช้ในพื้นที่ที่หวงห้าม เช่นเขตพระราชวัง หรือบริเวณงานพระราชพิธี ตลอดจนขอบเขตการคุ้มกันบุคคลสำคัญ   ซึ่งแม้ว่าการพัฒนาเรดาร์เพื่อการตรวจจับโดรนจะมีให้เห็นแล้วในต่างประเทศ แต่ราคาของเครื่องหรือระบบก็มีราคาที่สูงมาก เราจึงคิดว่าควรจะพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถตรวจจับโดรนที่บินโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ได้ด้วยฝีมือคนไทย ซึ่งเทคโนโลยี เรดาร์ก็เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงและสมัยใหม่ ที่ใช้ในการตรวจจับพวกเครื่องบินอยู่แล้ว แต่โดรนซึ่งมีขนาดที่เล็กกว่า จำเป็นต้องมีการออกแบบเรดาร์ใหม่ เพื่อให้สามารถตรวจจับโดรนที่มีขนาดเล็กกว่าเครื่องบินให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น   โดยชุดอุปกรณ์ตัวเรดาร์ จะมีลักษณะเป็นแบบสามารถเคลื่อนที่ได้ ทำให้เคลื่อนย้ายได้สะดวก อีกทั้งยังสามารถติดตั้งกับรถยนต์ได้ เพื่อช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกและทันท่วงทีในการเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่ที่ต้องการ…

‘หงส์ปีศาจ’ Phoenix Ghost โดรนลึกลับที่สหรัฐสร้างให้ยูเครนโดยเฉพาะ

Loading

  นี่เป็นยุทโธปกรณ์ที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วงสัปดาห์นี้ และอาจช่วยตอกย้ำความสำเร็จของยูเครนในสงครามโดรนที่ดูเหมือนจะเหนือกว่ารัสเซีย   1. มันมีชื่อว่า Phoenix Ghost หรือ ‘หงส์ปีศาจ’ โดรนปริศนาที่ถูกพูดถึงในสื่อมากขึ้นเรื่อยๆ Phoenix Ghost เป็นอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ที่พัฒนาโดยบริษัทอาวุธสัญชาติอเมริกัน Aevex Aerospace โดยความร่วมมือกับกองทัพอากาศสหรัฐฯ มันสามารถบินอยู่บนพื้นที่เป้าหมายได้เป็นเวลานานก่อนที่จะได้รับคำสั่งให้กำหนดเป้าหมาย ดังนั้นจึงเป็นอาวุธประเภท Loitering Weapon (โดรนพุ่งชนเป้าหมายหรือโดรนฆ่าตัวตาย) นอกจากนี้ยังใช้สำหรับการสำรวจและทำภาพถ่ายได้ด้วย   2. เว็บไซต์ Politico รายงานว่า Phoenix Ghost เป็นเวอร์ชันดัดแปลงของ Switchblade 600 (โดรนรุ่นยอดนิยมชของสหรัฐซึ่งเป็นแบบโดรนพุ่งชนเป้า) ซึ่งเริ่มพัฒนาในต้นปี 2022 จากข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการของผู้ผลิต Phoenix Ghost สามารถบินได้ในแนวตั้ง มีการติดตั้งเซ็นเซอร์อินฟราเรด ดังนั้นจึงสามารถใช้ในความมืดได้กับ “เป้าหมายภาคพื้นดินที่หุ้มเกราะหนักปานกลาง”   3. แต่นี่คือข้อมูลพื้นฐานสุดๆ ของหงส์ปีศาจ แม้แต่เว็บไซต์ Task and Purpose ที่เชี่ยวชาญด้านอาวุธอเมริกันก็ยังบอกว่า “Phoenix…

ทหารยูเครน ชำแหละโดรนสอดแนมรัสเซีย พบข้างในใช้กล้อง CANON EOS 750D

Loading

  กระทรวงกลาโหมของยูเครนได้เผยแพร่วิดีโอที่ทหารยูเครนทำการชำแหละชิ้นส่วนของโดรนสอดแนมของกองทัพรัสเซีย โดยการชำแหละในครั้งนี้ต้องทึ่งเมื่อพบว่ามีการใช้งานกล้อง DSLR ระดับ low-end ยี่ห้อ Canon ใส่มากับโดรนสอดแนม   วิดีโอความยาว 2 นาทีที่เผยแพร่โดย ArmyInform ซึ่งเป็นหน่วยงานสารสนเทศของกระทรวงกลาโหมยูเครนเผยให้เห็น Orlan-10 อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle หรือ UAV) ของรัสเซียที่ตกในยูเครน   นายทหารยูเครนชี้ให้เห็นว่าโดรนดังกล่าวนั้นใช้เทคโนโลยีขั้นต่ำอย่างน่าตกใจ หากมองผ่านๆ จะชวนให้นึกถึงโปรเจคเครื่องบิน RC ที่คนมักนิยมเล่นเป็นงานอดิเรกมากกว่าจะนำมาใช้งานสอดแนมหรืองานสายลับทางการทหาร   สิ่งที่พบเจอในโดรนคือ กล้องถ่ายรูป Canon EOS Rabel T6i หรือที่รู้จักกันในรุ่น Canon 750D ซึ่งเป็นกล้อง DSLR ที่เปิดตัวในปี 2015 มีราคาขายปลีกที่ 750 ดอลลาร์ หรือประมาณ 25,160 บาท (ราคาปัจจุบันในตลาดมือสองอยู่ที่ประมาณ 300-400 ดอลลาร์)      …

รวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีจากราชบัณฑิตยสภา

Loading

  รวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีจากราชบัณฑิตยสภา โดยเพจสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้รวบรวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาไทย พร้อมกับความหมายของคำ ที่เชื่อว่าบางท่านอาจไม่รู้ว่า ศัพท์นี้เรียกเป็นคำไทยว่าอะไร ความหมายเป็นอะไร และเขียนอย่างไร เพจนี้ได้รวมไว้นานแล้วเป็นอัลบั้มเลยทีเดียว เลยจะมาดูคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีเป็นภาษาไทยกัน   รวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีจากราชบัณฑิตยสภา ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ * หมายเหตุ ศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภาที่เผยแพร่นี้มีจุดประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะนำข้อเสนอแนะของท่านไปปรับปรุงแก้ไของค์ความรู้ที่เผยแพร่นี้ก่อนจะบันทึกลงฐานข้อมูลงานวิชาการและจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มต่อไป   cyber bully การระรานทางไซเบอร์ ความหมายคือ การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์   cybersecurity ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ภาวะที่เครือข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และข้อมูล พ้นจากภัยคุกคาม มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ คงความลับ คงความถูกต้องครบถ้วน และคงความพร้อมใช้งาน ภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยบุคลากร กระบวนการทำงาน และเครื่องมือ ที่เหมาะสม   cybercrime;…

สทป.ประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วม จำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน

Loading

  สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาโครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสนับสนุนภารกิจทางทหารด้านความมั่นคงของกระทรวงกลาโหม (กห.) ที่ต้องปฏิบัติหลายประการ รวมไปถึงภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจด้านการรบ เช่น การส่งกำลังเข้าสนับสนุนการพัฒนาประเทศ การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ และภารกิจการตอบสนองขณะประเทศประสบสภาวะวิกฤติและขาดสัญญาณการสื่อสาร โดยการจัดทำแผนที่สถานการณ์ร่วมจากข้อมูลภาพถ่ายที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV โครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงดำเนินการสถาปนาระบบสื่อสารขึ้นเอง เพื่อสนับสนุนการเข้าช่วยเหลือของทหารในพื้นที่ฉุกเฉิน และการขยายขีดความสามารถของแผนที่สถานการณ์ช่วยสร้างผลกระทบในเชิงบวกกับหน่วยงานด้านความมั่นคง อีกทั้งในด้านเศรษฐกิจเพื่อเตรียมการรับมือ ตอบสนอง และบรรเทาภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้หน่วยงานภายใต้สังกัด กห. ได้นำแผนที่สถานการณ์ร่วมไปประยุกต์ใช้เพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้สถานการณ์ร่วมให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการที่ศูนย์ควบคุม และสั่งการในพื้นที่ห่างไกลได้ออกคำสั่งตามหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงการตัดสินใจต่อการปฏิบัติภารกิจฉุกเฉินให้ทหารที่ปฏิบัติการในพื้นที่รับคำสั่งไปปฏิบัติได้ทันที ในการนี้ สทป. และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย หรือ บก.ทท. (นทพ.) ได้ตกลงร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงในการวิจัยและพัฒนาร่วม เพื่อให้ได้เครื่องมือซึ่งเป็นต้นแบบให้ทหารนำไปใช้ฝึกก่อนการปฏิบัติภารกิจฉุกเฉินขณะเกิดเหตุฉุกเฉินจากภัยพิบัติและสาธารณภัย และเมื่อสิ้นสุดโครงการจะส่งมอบให้หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 หรือ นพค.31 ที่มีขอบเขตความรับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดน่าน นำเข้าประจำการทดสอบทดลองเพื่อปฏิบัติภารกิจในพื้นที่รับผิดชอบ โครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดแผนที่สถานการณ์ร่วมในรูปแบบสามมิติด้วยภาพถ่ายจาก UAV มาถ่ายทอดสัญญาณและแสดงผลการปฏิบัติหน้าที่ของทหารขณะปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์ฉุกเฉิน จากนั้นจึงใช้เทคโนโลยีการสร้างตัวแบบและการจำลองภาพสถานการณ์ฉุกเฉินในระบบศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน…