อิสราเอล ฮามาส ยุทธศาสตร์และราคาที่ต้องจ่าย

Loading

อิสราเอลและกลุ่มติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ วิเคราะห์ยุทธศาสตร์และราคาที่ทั้งสองฝ่ายต้องจ่ายให้กับความขัดแย้ง เกือบสองทศวรรษ… หลังรัฐบาลอิสราเอลภายใต้การนำของ “นายกรัฐมนตรียิตส์ฮัก ราบิน” และ “นายยัสเซอร์ อาราฟัต” ผู้นำกลุ่มปลดปล่อยปาเลสไตน์ หรือ PLO ได้จับมือกันลงนามใน “ข้อตกลงออสโล” (OSLO ACCORDS) เมื่อปี 1993

ฮามาสคือใคร เกี่ยวข้องกับอิสราเอล-ปาเลสไตน์อย่างไร และสารพัดคำถามที่เกี่ยวข้อง

Loading

8 ตุลาคม 2023 กลุ่มติดอาวุธ ฮามาส เปิดปฏิบัติการอัล-อักซา ฟลัด (Operation Al-Aqsa Flood) โดยอ้างว่า ยิงจรวดจำนวนมากข้ามชายแดนทางตอนใต้ของอิสราเอล เพื่อเปิดทางให้นักรบติดอาวุธแทรกซึมเข้าไปในอิสราเอลจากหลายทิศทาง บางส่วนเข้าไปในชุมชนใกล้ฉนวนกาซา สังหารประชาชนและจับพวกเขาเป็นตัวประกัน

UN วิจารณ์ลิเบียไม่แจ้งเตือนล่วงหน้า ก่อนพายุแดเนียลพัดถล่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

Loading

นายทาลาส กล่าวว่า สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของลิเบีย น่าจะแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบว่าพายุแดเนียลเมื่อวันที่ 10 กันยายน ขณะเดียวกัน หน่วยงานบริหารจัดการภัยพิบัติฉุกเฉินของลิเบีย น่าจะทำการอพยพชาวบ้านจากพื้นที่เสี่ยงตั้งแต่ก่อนพายุขึ้นฝั่ง ซึ่งจะช่วยลดการเสียชีวิตของประชาชนจำนวนมาก

UN เปิดสำนักงานใหญ่ประจำยุโรปอีกครั้ง หลังถูกคนบุกรุก

Loading

  สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า อาคารปาแลเดนาซียง (Palais des Nations) สำนักงานใหญ่ประจำทวีปยุโรปขององค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้กลับมาเปิดดำเนินงานอีกครั้งแล้ว หลังจากที่ปิดกะทันหันไปเมื่อเช้าวันที่ 25 ส.ค. ตามเวลาท้องถิ่น เนื่องจากมีผู้บุกรุกสถานที่   แถลงการณ์ระบุว่า “ขณะนี้ เราได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว และเราได้เปิดจุดเข้าออกปาแลเดนาซียงทั้งหมดอีกครั้งแล้ว”   โฆษก UN กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องปิดอาคารเนื่องจากมีผู้บุกุรุกบริเวณเขตหวงห้ามเมื่อเช้าวันที่ 25 ส.ค.   ทั้งนี้ ปาแลเดนาซียงเป็นสถานที่ทำการของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC), นักการทูต, เจ้าหน้าที่ด้านมนุษยธรรม และเจ้าหน้าที่ของรัฐ       ————————————————————————————————————————————- ที่มา :                     สำนักข่าวอินโฟเควสท์         …

ยูเอ็น เรียกร้องพักแผนการจำหน่าย-ใช้งานปัญญาประดิษฐ์

Loading

  ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการประกาศพักแผนจำหน่ายและใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI – Artificial Intelligence) ทั้งหลายไว้ชั่วคราว เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงรุนแรงด้านสิทธิมนุษยชน ในรายงานล่าสุดที่จะนำเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มิเชลล์ แบเชเลท์ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รวบรวมบทวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีล้ำสมัยต่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งชี้ว่า AI นั้น อาจเป็นวิวัฒนาการที่ดี แต่ก็อาจล่วงล้ำและมีผลกระทบเลวร้ายรุนแรงต่อสิทธิ์ของผู้คน รวมทั้งความเป็นส่วนตัวของประชาชนได้ ขณะเดียวกัน เพ็กกี ฮิคส์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวด้วยว่า ระบบ AI อาจมีข้อผิดพลาดและมาพร้อมกับความเอนเอียงที่ฝังตัวอยู่ในระบบ ซึ่งอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติและทำลายโอกาสการหางานหรือการได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์จากระบบประกันสังคมได้ รายงานฉบับนี้ยังชี้ด้วยว่า ปัจจุบัน รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ และบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายเริ่มนำเทคโนโลยีไบโอเมตริกมาใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วยในการระบุอัตลักษณ์ของบุคคล ซึ่งเปิดทางให้มีการใช้งานเพื่อติดตามตัวบุคคลได้อย่างไม่จำกัดได้ด้วย เพ็กกี ฮิคส์ กล่าวเสริมว่า ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแนะนำให้มีการประกาศพักการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้าไบโอเมตริกในพื้นที่สาธารณะด้วย เนื่องจากการใช้งานระบบนี้อาจเป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อเสรีภาพของประชาชนได้   ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : VOA Thai      / วันที่เผยแพร่  17 ก.ย.2564 Link :…