Work From Home กับมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น การประชุมผ่านระบบวิดิโอ การพูดคุยแลกเปลี่ยนผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์ ส่งผลให้ WFH เป็นเรื่องที่มีความยืดหยุ่นและสร้างความสะดวกสบายสำหรับองค์กรและพนักงาน การที่องค์กรมีนโยบายให้พนักงานสามารถ WFH ได้ นำมาซึ่งความท้าทายของการบริหารความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร

10 เทคนิค เอาตัวรอดจากแฮกเกอร์ ทำบ้านให้ปลอดภัย ถ้าต้องกลับไป WFH

Loading

  กระแสการทำงานที่บ้านหรือ Work from home ในประเทศไทยกลับมาอีกครั้ง หลังจากผู้ติดเชื้อพุ่งไปถึงสามหมื่น สาธารณสุขประกาศยกระดับเตือนภัยเป็นระดับ 4 และมีข้อเรียกร้องให้หลายคนกลับไป Work from home ร้อยละ 50-80 .แม้จะมีข้อดีในการป้องการแพร่ระบาด แต่การทำงานระยะไกลนั้นเปิดช่องให้คนทำงานและธุรกิจมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้นเช่นกัน โดยความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อันดับต้น ๆ ของการทำงานระยะไกลคือการเชื่อมต่อเครือข่ายในบ้านที่ไม่ปลอดภัย การใช้เครื่องมือออนไลน์มากขึ้น หรือแม้กระทั่งตัวเราเองที่ไม่ได้มีภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์ ทีนี้ มีวิธีเอาตัวรอดยังไงบ้าง หากต้องกลับไปทำงานที่บ้านอีกครั้งหนึ่ง 10 เทคนิค เอาตัวรอดจากแฮกเกอร์ ไม่ต้องห่วง หากต้องทำงานที่บ้าน 1. ใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตที่บ้าน เคล็ดลับด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดประการหนึ่งสำหรับการทำงานจากที่บ้าน คือ การลงทุนเรื่องซอฟต์แวร์ความปลอดภัย ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานจากระยะไกลอัตโนมัติ ป้องกันภัยคุกคามต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดกับคอมหรือเครือข่ายของเราได้ . 2. ไม่ให้สมาชิกในครอบครัวใช้อุปกรณ์ของบริษัท แม้ว่าเราอาจไว้ใจตัวเองและพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยในโลกออนไลน์ แต่ก็ควรจำไว้ว่าการทำงานจากที่บ้านหมายความว่าคอมพิวเตอร์ของบริษัทมีแนวโน้มที่จะถูกใช้งานโดยเด็ก ๆ ได้ ในช่วงที่เราไม่ได้อยู่หน้าจอ ซึ่งพวกเขามีโอกาสที่จะกดเข้าเว็บที่ทำให้เครื่องติดมัลแวร์ได้ . 3. ใช้ฝาปิดเว็บแคมแบบเลื่อนได้ การทำงานจากที่บ้านมักรวมถึงการประชุมทางไกลและวิดีโอที่ต้องใช้เว็บแคม แฮกเกอร์ที่เชี่ยวชาญจะสามารถเข้าถึงเว็บแคมของเราได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องได้รับอนุญาต ซึ่งส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวมาก ๆ…