เทียบมาตรการรัฐ VS เอกชน บล็อกมิจฉาชีพยุค AI กับคำถาม ทำไมมิจฉาชีพไม่หมดไป

Loading

การส่ง SMS คือช่องทางที่มิจฉาชีพใช้ AI ในการหลอกลวงประชาชนให้กดลิงก์ เป็นอันดับ 1 ควบคู่กับการใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือหลอกลวง โดยส่วนใหญ่มิจฉาชีพต้องการขโมยข้อมูลมากที่สุด โดย 53% เหยื่อมักสูญเงินให้มิจฉาชีพภายในไม่เกิน 24 ชั่วโมง

รวมวิธีเช็กเบอร์มิจฉาชีพ 2567 เบอร์ไหนห้ามรับ เช็กง่าย ๆ ได้ที่นี่

Loading

เช็กมิจฉาชีพยังไง? ปัญหามิจฉาชีพติดต่อมายังเบอร์โทรศัพท์ของเรา เพื่อต้องการล้วงข้อมูลส่วนตัว หรือหลอกโอนเงินด้วยวิธีต่างๆ ยังคงเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนกังวลใจในการรับสายเบอร์แปลก ทว่าในปัจจุบันก็ยังพอมีช่องทางง่ายๆ ในการเช็กเบอร์มิจฉาชีพ 2567 ผ่านออนไลน์ที่ทุกคนสามารถทำตามได้ง่ายๆ ในเบื้องต้น เพื่อเป็นการช่วยคัดกรอง “เบอร์โทรที่ไม่ควรรับ” ซึ่งอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นเบอร์ของเครือข่าย Call Center ของแก๊งมิจฉาชีพ บทความนี้ ไทยรัฐออนไลน์นำ 5 วิธีเช็กเบอร์มิจฉาชีพแบบง่ายๆ มาฝากกัน

ไทยเป็นเหยื่อคอลเซ็นเตอร์เกือบ 79 ล้านครั้งมากสุดในเอเชีย

Loading

  สภาพัฒน์ห่วงปี 66 คนไทยเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์เกือบ 79 ล้านครั้ง มากที่สุดในเอเชีย   สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยสถานการณ์ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยมีประเด็นที่ต้องจับตาและให้ความสำคัญอย่างมาก หนึ่งในนั้นคือปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งพบว่าปี 66 คนไทยถูกหลอกลวงจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์มากที่สุดในเอเชียเกือบ 79 ล้านครั้ง ตามมาด้วยการตกเป็นเหยื่อล่วงละเมิดทางเพศ และความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ   สศช. ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช.   นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. เผยสถานการณ์ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หนึ่งในประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญคือการหลอกลวงทางโทรศัพท์ที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 66 พบว่าคนไทยได้รับสายโทรเข้าและข้อความ (SMS) หลอกลวงมากที่สุดในเอเชีย จำนวน 78.8 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 18% จากปี 65   พีพีทีวี สถิติการหลอกลวงทางโทรศัพท์ปี 66   สอดคล้องกับรายงานประจำปีของ whoscall แพลตฟอร์มระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักตัวตน ซึ่งระบุว่าคนไทยได้รับข้อความและการโทรฉ้อโกงมากที่สุดในทวีปเอเชีย รองลงมาคือฮ่องกง…

ฟีเจอร์ใหม่ “Whoscall” เช็กได้ ว่ามีข้อมูลเราหลุดรั่วหรือไม่!

Loading

    Whoscall เปิดอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ พร้อมวิธีใช้งาน “ID Security” ตรวจสอบได้ ว่ามีข้อมูลเราหลุดรั่วถึงมิจฉาชีพหรือไม่!   Whoscall แอปพลิเคชันสัญชาติไต้หวัน ที่สามารถแจ้งเตือนพร้อมระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่เราไม่รู้จัก ซึ่งอาจเป็นเบอร์ของมิจฉาชีพ และยังช่วยกรองสายที่น่าสงสัยด้วยระบบ AI ได้ด้วย โดยแอปฯ นี้ เริ่มเป็นที่นิยมกว้างขวางในไทย นับตั้งแต่การระบาดของแก๊งคอลเซ็นเตอร์   ล่าสุด แอปฯ Whoscall อัปเดตการทำงานให้เหนือชั้นขึ้น ด้วยการเปิดฟีเจอร์ใหม่ ที่ช่วยเราตรวจสอบได้ว่า มีเบอร์โทรศัพท์ของเราหลุดรั่วไปอยู่ในมืออาชญากรออนไลน์หรือไม่!     การใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าว ในหน้าแรก ให้เข้าไปที่แถบ ID Security จากนั้นให้พิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ของเรา เมื่อพิมพ์เข้าไปแล้ว ระบบจะตรวจสอบให้ หากไม่มีข้อมูลเราหลุดรั่ว ระบบจะขึ้นไซเรนสีเขียวพร้อมเครื่องหมายติ๊กถูก พร้อมระบุว่า ไม่มีข้อมูลของเราไม่หลุดรั่ว   แต่หากพบ ระบบจะระบุว่า ข้อมูลของเรารั่วไหลไปกี่แห่ง กี่ประเภท และรั่วไหลไปยังแพลตฟอร์มใดบ้าง   ซึ่งเราสามารถเปิดให้แอปฯ แจ้งเตือนได้โดยอัตโนมัติ หากตรวจสอบพบข้อมูลของเรารั่วไหล   นอกจากนี้…

สกมช. ผนึก โกโกลุค หนุนใช้ ฮูส์คอลล์ สกัดโจรไซเบอร์ งดรับสายมิจฉาชีพ

Loading

เมื่อวันที่ 18 มกราคม พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการ สกมช. ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่าง สกมช. กับ บริษัท โกโกลุค จำกัด โดยนายเจฟฟ์ กัว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโกโกลุค

สคส. เตรียมระบบ “ห้ามโทรหาฉัน” ป้องกันมิจฉาชีพโทรลวง ปชช.

Loading

กสทช. จับมือ สคส. กำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคม กำหนดแนวปฏิบัติ คำสั่งคุ้มครอง ให้สอดคล้องกันเพื่อระงับการรั่วไหลของข้อมูล ขณะที่ สคส. เน้นเข้มมาตรการตรวจสอบบริษัทฯ และองค์กรที่มีฐานข้อมูลส่วนบุคคล ป้องกันการลักลอบขายข้อมูลให้มิจฉาชีพกรณีการบุกจับโบรกเกอร์ของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ที่ลักลอบขายข้อมูลลูกค้ามากกว่า 1,000,000 รายชื่อ ให้กับกลุ่มมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเว็บพนันออนไลน์ สร้างความเสียหายให้กับประชาชนจำนวนมาก