สปายแวร์ ‘QuaDream’ วายร้ายโจมตีแบบ ‘Zero-Click’

Loading

  Zero-click จะทำงานอย่างอัตโนมัติ มักจะไม่ถูกตรวจจับ และไร้ร่องรอยทันทีที่รหัสเข้าสู่อุปกรณ์ของผู้ใช้งาน  ข่าวการติดตามการโจมตีแบบ “Zero-click” ของแอ๊ปเปิ้ล iOS 14 ถูกนำมาปรับใช้กับสปายแวร์มือถือ “QuaDream” โดยมีการสอดแนมกับกลุ่มนักข่าว นักการเมืองฝ่ายค้าน และพนักงาน NGO โดยจากการวิจัยของ Citizen Lab และ Microsoft Threat Intelligence ที่แคนนาดาพบว่า มีเหยื่ออย่างน้อย 5 คน ที่ถูกแฮกผ่านช่องโหว่ Zero-Click ทางปฎิทินของไอโฟน เพื่อเข้าสู่อุปกรณ์และทำให้เครื่องติดสปายแวร์ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่มาจากทวีปอเมริกาเหนือ เอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป และตะวันออกกลาง ผมขออธิบายอย่างนี้ว่า สปายแวร์บนมือถือมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ ผลิตภัณฑ์จากองค์กรต่างๆ อย่าง QuaDream ที่มักจะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่แบบ Zero-Click และผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเดลิเวอรี่ที่ไม่ซับซ้อนอย่าง Social Engineering เพื่อทำให้อุปกรณ์ติดไวรัส แม้เทคนิคการเดลิเวอรี่จะแตกต่างกันแต่ความสามารถในการสอดแนมทั้ง 2 ประเภทแทบไม่แตกต่างกันเลยและแน่นอนว่าภัยคุกคามเหล่านี้ได้ก่อตัวเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อหน่วยงานของรัฐและกลุ่มเป้าหมายที่มีชื่อเสียงในหมู่ของนักข่าวและนักเคลื่อนไหวเท่านั้น แต่ยังเป็นภัยคุกคามต่อพนักงานในองค์กรทุกคนด้วย การใช้ประโยชน์จาก…

เพราะอะไรการโจมตีแบบ ‘Zero-click’ ถึงอันตราย(1)

Loading

  แอปรับส่งข้อความต่างๆ มักตกเป็นเป้าหมายในการโจมตี   การโจมตีแบบ Zero-click มีความแตกต่างจากการโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบอื่นๆ เพราะไม่ต้องการการโต้ตอบใดๆ จากผู้ใช้งานที่ถูกกำหนดเป้าหมาย เช่น การคลิกลิงก์ การเปิดใช้มาโคร หรือการเปิดตัวโปรแกรมสั่งการ มักใช้ในการโจรกรรมทางอินเทอร์เน็ต และร่องรอยที่ทิ้งไว้มีน้อยมาก   จุดนี้เองที่ทำให้เป็นอันตราย เป้าหมายของการโจมตีแบบ Zero-click สามารถเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่สมาร์ตโฟนไปจนถึงคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและแม้แต่อุปกรณ์ไอโอที   เมื่ออุปกรณ์ของเหยื่อถูกโจมตี เหล่าบรรดาแฮกเกอร์สามารถเลือกที่จะติดตั้งซอฟต์แวร์ หรือการเข้ารหัสไฟล์และเก็บไว้เพื่อเรียกค่าไถ่ โดยทั่วไปแล้ว เหยื่อจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า อุปกรณ์นั้นถูกแฮกเมื่อไหร่และอย่างไร ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้งานแทบไม่สามารถป้องกันตัวเองได้เลย   การโจมตีแบบ Zero-click มีเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และสปายแวร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งคือ Pegasus ของ NSO Group ซึ่งใช้ในการเฝ้าติดตามนักข่าว นักเคลื่อนไหว ผู้นำระดับโลก และผู้บริหารของบริษัท   แม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่าเหยื่อแต่ละรายตกเป็นเป้าหมายได้อย่างไร และแอพรับส่งข้อความต่างๆ มักตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีแบบนี้ เนื่องจากแอพเหล่านี้ได้รับข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งที่ไม่รู้จักโดยไม่ต้องดำเนินการใดๆ จากเจ้าของอุปกรณ์   ส่วนใหญ่แล้ว ผู้โจมตีจะใช้ประโยชน์จากข้อบกพร่องในวิธีการตรวจสอบหรือประมวลผลข้อมูลโดยการโจมตีมักอาศัยช่องโหว่ Zero-days ที่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไม่รู้จัก โดยไม่ทราบว่ามีอยู่จริง ผู้ผลิตจึงไม่สามารถออกแพตช์ (patches)…